15-176 ทิฏฐิอีกอย่างหนึ่ง
พระไตรปิฎก
๕. อปราทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิอีกอย่างหนึ่ง
[๕๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พรหมองค์หนึ่งได้เกิดทิฏฐิชั่วเช่นนี้ว่า
“สมณะหรือพราหมณ์ที่จะพึงมาในพรหมโลกนี้ได้ไม่มีเลย” {๕๗๔} ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค
ทรงทราบความคิดคำนึงของพรหมนั้นด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายพระองค์จาก
พระเชตวันแล้วไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศเบื้องบน
พรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
[๕๗๕] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เห็นพระผู้มี
พระภาคประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศเบื้องบนพรหมนั้น ทรงเข้าเตโชธาตุกสิณอยู่
ด้วยทิพยจักขุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏใน
พรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ลำดับนั้น
ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาศัยทิศตะวันออก นั่งขัดสมาธิในอากาศเบื้องบนของ
พรหมนั้น(แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
[๕๗๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ท่านพระมหากัสสปะได้เห็นพระผู้มีพระภาคด้วยทิพพ-
จักขุ ฯลฯ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏในพรหมโลกนั้นเปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะอาศัยทิศใต้นั่งขัดสมาธิใน
อากาศเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่)ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
[๕๗๗] ต่อมา ท่านพระมหากัปปินะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ลำดับนั้น ท่านพระมหากัปปินะได้เห็นพระผู้มีพระภาค
ด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ลำดับนั้น ท่านพระมหากัปปินะอาศัยทิศตะวันตก นั่งขัด
สมาธิในอากาศเบื้องบนพรหมนั้น (แต่)ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
[๕๗๘] ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ท่านพระอนุรุทธะได้เห็นพระผู้มีพระภาคด้วยทิพพจักขุ
ฯลฯ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มี
กำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะอาศัยทิศเหนือนั่งขัดสมาธิใน
อากาศเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่)ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
[๕๗๙] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับพรหมนั้นด้วยคาถาว่า
ผู้มีอายุ แม้ในวันนี้ท่านก็ยังมีทิฏฐิเหมือนครั้งก่อนหรือ
ท่านยังเห็นพระรัศมีอันปภัสสร(ของพระผู้มีพระภาค)
ก้าวล่วงรัศมีอื่นในพรหมโลกหรือ
[๕๘๐] พรหมนั้นตอบว่า
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์
ข้าพเจ้ามิได้มีทิฏฐิเหมือนครั้งก่อน
ข้าพเจ้าเห็นพระรัศมีอันปภัสสร(ของพระผู้มีพระภาค)
ก้าวล่วงรัศมีอื่นในพรหมโลกอยู่
ในวันนี้ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวว่า
‘เราเป็นผู้เที่ยง เป็นผู้คงที่’ ได้อย่างไร
[๕๘๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคให้พรหมนั้นสลดใจแล้ว ทรงหายพระองค์จาก
พรหมโลกนั้นไปปรากฏในพระเชตวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ลำดับนั้น พรหมได้เรียกพรหมปาริสัชชะองค์หนึ่งมากล่าวว่า
“มาเถิดท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะจนถึงที่อยู่ จงกล่าว
กับท่านพระมหาโมคคัลลานะอย่างนี้ว่า ‘ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ มีอยู่
หรือหนอที่สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น แม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มาก
อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เหมือนอย่างท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระ
กัสสปะ ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะ”
พรหมปาริสัชชะนั้นรับคำของพรหมนั้นว่า “อย่างนั้น ท่านผู้นิรทุกข์” ได้หาย
ตัวจากพรหมโลกนั้นไปปรากฏข้างหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น
[๕๘๒] ครั้งนั้น พรหมปาริสัชชะนั้นอภิวาทท่านพระมหา-
โมคคัลลานะแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ มีอยู่หรือหนอ ฯลฯ และท่านพระอนุรุทธะ”
[๕๘๓] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับพรหมปาริสัชชะด้วยคาถาว่า
สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
ผู้ได้วิชชา ๓ A บรรลุอิทธิวิธิญาณ
ฉลาดในเจโตปริยญาณ
สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์ มีอยู่มาก
[๕๘๔] ลำดับนั้น พรหมปาริสัชชะนั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว
เข้าไปหาพรหมนั้นถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับพรหมนั้นว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้ว่า
สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
ผู้ได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธิญาณ
ฉลาดในเจโตปริยญาณ
สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์ มีอยู่มาก”
[๕๘๕] พรหมปาริสัชชะได้กล่าวคำนี้แล้ว พรหมมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพรหม-
ปาริสัชชะนั้น
อปราทิฏฐิสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A วิชชา ๓ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (๒) ทิพพจักขุญาณ (๓) อาสวักขยญาณ (สํ.ส.อ. ๑/๑๗๖/๒๐๒)
บาลี
อปราทิฏฺิสุตฺต
[๕๗๓] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ
เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ เตน โข ปน สมเยน
อฺตรสฺส พฺรหฺมุโน เอวรูป ปาปก ทิฏฺิคต อุปฺปนฺน โหติ
นตฺถิ โส สมโณ วา พฺราหฺมโณ วา โย อิธ อาคจฺเฉยฺยาติ ฯ
[๕๗๔] อถ โข ภควา ตสฺส พฺรหฺมุโน เจตสา เจโตปริวิตกฺกมฺาย
เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส ฯเปฯ ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก
ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข ภควา ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส ปลฺลงฺเกน
นิสีทิ เตโชธาตุ สมาปชฺชิตฺวา ฯ
[๕๗๕] อถ โข อายสฺมโต มหาโมคฺคลฺลานสฺส เอตทโหสิ
กห นุ โข ภควา เอตรหิ วิหรตีติ ฯ อทฺทสา โข อายสฺมา
มหาโมคฺคลฺลาโน ภควนฺต ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน อติกฺกนฺตมานุสเกน
ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส ปลฺลงฺเกน นิสินฺน เตโชธาตุ
สมาปนฺน ทิสฺวาน เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส สมฺมิฺชิต วา
พาห ปสาเรยฺย ปสาริต วา พาห สมฺมิฺเชยฺย เอวเมว เชตวเน
อนฺตรหิโต ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข อายสฺมา
มหาโมคฺคลฺลาโน ปุรตฺถิม ทิส นิสฺสาย ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส
ปลฺลงฺเกน นิสีทิ เตโชธาตุ สมาปชฺชิตฺวา นีจตรก ๑ ภควโต ฯ
[๕๗๖] อถ โข อายสฺมโต มหากสฺสปสฺส เอตทโหสิ กห นุ
โข ภควา เอตรหิ วิหรตีติ ฯ อทฺทสา โข อายสฺมา มหากสฺสโป
ภควนฺต ทิพฺเพน จกฺขุนา ฯเปฯ ทิสฺวาน เสยฺยถาปิ นาม พลวา
ปุริโส ฯเปฯ เอวเมว เชตวเน อนฺตรหิโต ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก
ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข อายสฺมา มหากสฺสโป ทกฺขิณ ทิส
นิสฺสาย ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส ปลฺลงฺเกน นิสีทิ เตโชธาตุ
สมาปชฺชิตฺวา นีจตรก ๒ ภควโต ฯ
[๕๗๗] อถ โข อายสฺมโต มหากปฺปินสฺส เอตทโหสิ กห
นุ โข ภควา เอตรหิ วิหรตีติ ฯ อถ ๓ โข อายสฺมา มหากปฺปิโน
ภควนฺต ทิพฺเพน จกฺขุนา ฯเปฯ เตโชธาตุ สมาปนฺน ทิสฺวาน
เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส ฯเปฯ เอวเมว เชตวเน อนฺตรหิโต
ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข อายสฺมา มหากปฺปิโน
ปจฺฉิม ทิส นิสฺสาย ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส ปลฺลงฺเกน นิสีทิ
เตโชธาตุ สมาปชฺชิตฺวา นีจตรก ภควโต ฯ
[๕๗๘] อถ โข อายสฺมโต อนุรุทฺธสฺส เอตทโหสิ กห นุ
โข ภควา เอตรหิ วิหรตีติ ฯ อทฺทสา โข อายสฺมา อนุรุทฺโธ
ฯเปฯ เตโชธาตุ สมาปนฺน ทิสฺวาน เสยฺยถาปิ นาม พลวา
ปุริโส ฯเปฯ ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข อายสฺมา
อนุรุทฺโธ อุตฺตร ทิส นิสฺสาย ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส ปลฺลงฺเกน
นิสีทิ เตโชธาตุ สมาปชฺชิตฺวา นีจตรก ภควโต ฯ
[๕๗๙] อถ โข อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน ๔ พฺรหฺมาน
คาถาย อชฺฌภาสิ
อชฺชาปิ เต อาวุโส สา ทิฏฺิ ยา เต ทิฏฺิ ปุเร อหุ
ปสฺสสิ วีติวตฺตนฺต พฺรหฺมโลเก ปรายนนฺติ ฯ ๕
[๕๘๐] น เม มาริส สา ทิฏฺิ ยา เม ทิฏฺิ ปุเร อหุ
ปสฺสามิ วีติวตฺตนฺต พฺรหฺมโลเก ปรายน ๖
สฺวาห อชฺช กถ วชฺช อห นิจฺโจมฺหิ สสฺสโตติ ฯ
[๕๘๑] อถ โข ภควา ต พฺรหฺมาน สเวเชตฺวา เสยฺยถาปิ
นาม พลวา ปุริโส สมฺมิฺชิต วา พาห ปสาเรยฺย ปสาริต
วา พาห สมฺมิฺเชยฺย เอวเมว ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก อนฺตรหิโต
เชตวเน ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข โส พฺรหฺมา อฺตร พฺรหฺมปาริสชฺช
อามนฺเตสิ เอหิ ตฺว มาริส เยนายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน
เตนุปสงฺกม อุปสงฺกมิตฺวา อายสฺมนฺต มหาโมคฺคลฺลาน เอว วเทหิ
อตฺถิ นุ โข มาริส โมคฺคลฺลาน อฺเปิ ตสฺส ภควโต สาวกา
เอวมหิทฺธิกา เอวมหานุภาวา เสยฺยถาปิ นาม ๗ ภว โมคฺคลฺลาโน
กสฺสโป กปฺปิโน อนุรุทฺโธติ ฯ เอว มาริสาติ โข โส พฺรหฺมปาริสชฺโช
ตสฺส พฺรหฺมุโน ปฏิสฺสุณิตฺวา ๘ เสยฺยถาปิ นาม พลวา
ปุริโส ฯเปฯ เอวเมว ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก อนฺตรหิโต อายสฺมโต
มหาโมคฺคลฺลานสฺส ปุรโต ปาตุรโหสิ ฯ”
[๕๘๒] อถ โข โส พฺรหฺมปาริสชฺโช อายสฺมนฺต มหาโมคฺคลฺลาน
อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ เอกมนฺต ิโต โส
พฺรหฺมปาริสชฺโช อายสฺมนฺต มหาโมคฺคลฺลาน เอตทโวจ อตฺถิ นุ
มาริส ฯเปฯ อนุรุทฺโธติ ฯ
[๕๘๓] อถ โข อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน ๙ พฺรหฺมปาริสชฺช
คาถาย อชฺฌภาสิ
เตวิชฺชา อิทฺธิปตฺตา จ เจโตปริยายโกวิทา
ขีณาสวา อรหนฺโต พหู พุทฺธสฺส สาวกาติ ฯ
[๕๘๔] อถ โข โส พฺรหฺมปาริสชฺโช อายสฺมโต
มหาโมคฺคลฺลานสฺส ภาสิต อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา เยน โส พฺรหฺมา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ต พฺรหฺมาน เอตทโวจ อายสฺมา
มาริส มหาโมคฺคลฺลาโน เอวมาห
เตวิชฺชา อิทฺธิปตฺตา จ เจโตปริยายโกวิทา
ขีณาสวา อรหนฺโต พหู พุทฺธสฺส สาวกาติ ฯ
[๕๘๕] อิทมโวจ โส พฺรหฺมปาริสชฺโช อตฺตมโน จ โส
พฺรหฺมา ตสฺส พฺรหฺมปาริสชฺชสฺส ภาสิต อภินนฺทีติ ฯ
******************
๑-๒ ม. ยุ. นีจตร ฯ
๓-๔ ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร ต อิติ ทิสฺสติ ฯ ๕-๖ ม. ยุ. ปภสฺสรนฺติ ฯ
๗ โป. ม. ยุ. นามสทฺโท นตฺถิ ฯ ๘ ม. ยุ. ปฏิสฺสุตฺวา ฯ ๙ ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร
#ต อิติ ทิสฺสติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาอปราทิฏฐิสูตร
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เตโชธาตุํ สมาปชฺชิตา ความว่า พระเถระทำบริกรรมใน
เตโชกสิณแล้วออกจากฌานที่เป็นบาท อธิษฐานว่า ขอเปลวไฟจงพุ่งออกจาก
สรีระ ด้วยอานุภาพจิตอธิษฐาน เปลวไฟพุ่งออกทั่วสรีระ. พระเถระชื่อว่าเข้า
เตโชธาตุสมาบัติอย่างนี้. ครั้นเข้าสมาบัติอย่างนั้นแล้ว ก็ไปในพรหมโลกนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้ไปในที่นั้น. ตอบว่า ได้ยินว่า พระเถระเข้า
สมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์เห็นพระตถาคตประทับนั่งเหนือพรหมนั้น จึงได้มี
ความคิดดังนี้ว่าบุคคลนี้เป็นผู้แทงทะลุปรุโปร่งถึงอัฐิ ก็เราพึงไปในที่นั้น ฉะนั้น
จงได้ไปในที่นั้น. แม้ในการไปของพระเถระที่เหลือก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
แม้พรหมนั้นไม่ได้เห็นอานุภาพของพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต จึงไม่
ควรเข้าถึงการแนะนำ. ด้วยเหตุนั้น จึงได้มีประชุมกันอย่างนั้นในที่ประชุมนั้น
เปลวไฟที่พุ่งออกจากสรีระของพระตถาคตล่วงเลยพรหมโลกทั้งสิ้นแล่นไปใน
อวกาศ ก็แลวรรณะเหล่านั้น ได้มี ๖ สี รัศมีของสาวกพระตถาคตก็มีวรรณะ
ธรรมดานั่นเอง.
ด้วยคำว่า ปสฺสสิ วีติวตฺตนฺตํ นี้ พระเถระถามว่า ท่านเห็นรัศมี
ที่เปล่งออกจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอันล่วงเสียซึ่งรัศมีแห่ง
สรีระของพรหมวิมานและเครื่องประดับเป็นต้นอย่างอื่นในพรหมโลกนี้หรือ.
บทว่า น เม มาริส สา ทิฏฺฐิ ความว่า ทิฏฐินั้นใดของเราว่า คนอื่นไม่ว่า
สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามไม่สามารถจะมาในที่นี้ได้ ทิฏฐิของเรานั้นแต่ก่อนไม่
มี. บทว่า กถํ วชฺชํ ความว่า เพราะเหตุไร เราจงกล่าว. บทว่า นิจฺโจมฺหิ
สสฺสโต ความว่า ได้ยินว่า พรหมนี้มีทิฏฐิ ๒ อย่าง คือ ลัทธิทิฏฐิและ
สัสสตทิฏฐิ. ในทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น พรหมนั้นเมื่อเห็นพระตถาคตและสาวกของ
พระตถาคต ย่อมเป็นอันละลัทธิทิฏฐิได้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระ-
ธรรมเทศนาเป็นอันมากในเรื่องทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น. ในที่สุดเทศนา พรหมตั้ง
อยู่ในโสดาปัตติผล. อันพรหมนั้นละสัสสตทิฏฐิด้วยมรรค เพราะฉะนั้น พระ-
เถระจึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า พฺรหฺมปาริสชฺชํ ได้แก่ พรหมปริจาริกาผู้ปรนนิบัติพรหม
จริงอยู่ ชื่อว่า พรหมปาริสัชชะแม้ของพรหมทั้งหลายก็เหมือนภิกษุหนุ่มและ
สามเณรผู้ถือห่อของพระเถระ. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า เพราะเหตุไร
พรหมจึงส่งพรหมปาริสัชชะ ไปสู่สำนักของพระเถระนั่นแล ได้ยินว่า พรหมนั้น
ได้เกิดความคุ้นเคยด้วยการเจรจาปราศรัยในพระเถระ เพราะฉะนั้น พรหมนั้น
จึงส่งไปยังสำนักของพระเถระนั้นแล. บทว่า อญฺเปิ ความว่า ชนทั้ง ๔ ก็
เหมือนพวกท่าน เหล่าสาวกแม้อื่น ๆ เห็นปานนั้นยังมีอยู่หรือ หรือมีแต่พวก
ท่านทั้ง ๔ เท่านั้นที่มีฤทธิ์มาก. บทว่า เตวิชฺชา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยวิชชา
๓ คือ บุพเพนิวาสญาณ ทิพยจักขุญาณและอาสวักขยญาณ. บทว่า อิทฺธิปฺ-
ปตฺตา ได้แก่ บรรลุอิทธิวิธิญาณ. บทว่า เจโตปริยายโกวิทา ได้แก่ เป็น
ฉลาดในวารจิตของชนเหล่าอื่น. ในที่นี้ท่านกล่าวอภิญญา ๕ ไว้โดยสรุปด้วย
ประการฉะนี้. แต่ทิพยโสตญาณได้มาด้วยอำนาจอภิญญา ๕ เหล่านั้นเหมือน
กัน. บทว่า พหู ความว่า เหล่าพุทธสาวกผู้ได้อภิญญา ๖ อย่างนี้มีมากเหลือ
คณนานับ เที่ยวทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้รุ่งเรื่องด้วยผ้ากาสาวพัสตร์.
อรรถกถาอปราทิฏฐิสูตรที่ ๕