15-176 ทิฏฐิอีกอย่างหนึ่ง



พระไตรปิฎก


๕. อปราทิฏฐิสูตร
ว่าด้วยทิฏฐิอีกอย่างหนึ่ง
[๕๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พรหมองค์หนึ่งได้เกิดทิฏฐิชั่วเช่นนี้ว่า
“สมณะหรือพราหมณ์ที่จะพึงมาในพรหมโลกนี้ได้ไม่มีเลย” {๕๗๔} ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค
ทรงทราบความคิดคำนึงของพรหมนั้นด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายพระองค์จาก
พระเชตวันแล้วไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศเบื้องบน
พรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
[๕๗๕] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้เห็นพระผู้มี
พระภาคประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศเบื้องบนพรหมนั้น ทรงเข้าเตโชธาตุกสิณอยู่
ด้วยทิพยจักขุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏใน
พรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ลำดับนั้น
ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาศัยทิศตะวันออก นั่งขัดสมาธิในอากาศเบื้องบนของ
พรหมนั้น(แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
[๕๗๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ท่านพระมหากัสสปะได้เห็นพระผู้มีพระภาคด้วยทิพพ-
จักขุ ฯลฯ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏในพรหมโลกนั้นเปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะอาศัยทิศใต้นั่งขัดสมาธิใน
อากาศเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่)ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
[๕๗๗] ต่อมา ท่านพระมหากัปปินะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ลำดับนั้น ท่านพระมหากัปปินะได้เห็นพระผู้มีพระภาค
ด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ลำดับนั้น ท่านพระมหากัปปินะอาศัยทิศตะวันตก นั่งขัด
สมาธิในอากาศเบื้องบนพรหมนั้น (แต่)ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
[๕๗๘] ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้มีความคิดดังนี้ว่า “บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” ท่านพระอนุรุทธะได้เห็นพระผู้มีพระภาคด้วยทิพพจักขุ
ฯลฯ ได้หายตัวจากพระเชตวันไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มี
กำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะอาศัยทิศเหนือนั่งขัดสมาธิใน
อากาศเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่)ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว
[๕๗๙] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับพรหมนั้นด้วยคาถาว่า
ผู้มีอายุ แม้ในวันนี้ท่านก็ยังมีทิฏฐิเหมือนครั้งก่อนหรือ
ท่านยังเห็นพระรัศมีอันปภัสสร(ของพระผู้มีพระภาค)
ก้าวล่วงรัศมีอื่นในพรหมโลกหรือ
[๕๘๐] พรหมนั้นตอบว่า
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์
ข้าพเจ้ามิได้มีทิฏฐิเหมือนครั้งก่อน
ข้าพเจ้าเห็นพระรัศมีอันปภัสสร(ของพระผู้มีพระภาค)
ก้าวล่วงรัศมีอื่นในพรหมโลกอยู่
ในวันนี้ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวว่า
‘เราเป็นผู้เที่ยง เป็นผู้คงที่’ ได้อย่างไร
[๕๘๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคให้พรหมนั้นสลดใจแล้ว ทรงหายพระองค์จาก
พรหมโลกนั้นไปปรากฏในพระเชตวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออก
หรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ลำดับนั้น พรหมได้เรียกพรหมปาริสัชชะองค์หนึ่งมากล่าวว่า
“มาเถิดท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะจนถึงที่อยู่ จงกล่าว
กับท่านพระมหาโมคคัลลานะอย่างนี้ว่า ‘ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ มีอยู่
หรือหนอที่สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น แม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มาก
อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เหมือนอย่างท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระ
กัสสปะ ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะ”
พรหมปาริสัชชะนั้นรับคำของพรหมนั้นว่า “อย่างนั้น ท่านผู้นิรทุกข์” ได้หาย
ตัวจากพรหมโลกนั้นไปปรากฏข้างหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ เปรียบเหมือน
บุรุษผู้มีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น
[๕๘๒] ครั้งนั้น พรหมปาริสัชชะนั้นอภิวาทท่านพระมหา-
โมคคัลลานะแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ มีอยู่หรือหนอ ฯลฯ และท่านพระอนุรุทธะ”
[๕๘๓] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับพรหมปาริสัชชะด้วยคาถาว่า
สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
ผู้ได้วิชชา ๓ A บรรลุอิทธิวิธิญาณ
ฉลาดในเจโตปริยญาณ
สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์ มีอยู่มาก
[๕๘๔] ลำดับนั้น พรหมปาริสัชชะนั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว
เข้าไปหาพรหมนั้นถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับพรหมนั้นว่า “ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้ว่า
สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า
ผู้ได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิวิธิญาณ
ฉลาดในเจโตปริยญาณ
สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์ มีอยู่มาก”
[๕๘๕] พรหมปาริสัชชะได้กล่าวคำนี้แล้ว พรหมมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพรหม-
ปาริสัชชะนั้น
อปราทิฏฐิสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A วิชชา ๓ ได้แก่ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (๒) ทิพพจักขุญาณ (๓) อาสวักขยญาณ (สํ.ส.อ. ๑/๑๗๖/๒๐๒)

บาลี



อปราทิฏฺิสุตฺต
[๕๗๓] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ
เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ เตน โข ปน สมเยน
อฺตรสฺส พฺรหฺมุโน เอวรูป ปาปก ทิฏฺิคต อุปฺปนฺน โหติ
นตฺถิ โส สมโณ วา พฺราหฺมโณ วา โย อิธ อาคจฺเฉยฺยาติ ฯ
[๕๗๔] อถ โข ภควา ตสฺส พฺรหฺมุโน เจตสา เจโตปริวิตกฺกมฺาย
เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส ฯเปฯ ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก
ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข ภควา ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส ปลฺลงฺเกน
นิสีทิ เตโชธาตุ สมาปชฺชิตฺวา ฯ
[๕๗๕] อถ โข อายสฺมโต มหาโมคฺคลฺลานสฺส เอตทโหสิ
กห นุ โข ภควา เอตรหิ วิหรตีติ ฯ อทฺทสา โข อายสฺมา
มหาโมคฺคลฺลาโน ภควนฺต ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน อติกฺกนฺตมานุสเกน
ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส ปลฺลงฺเกน นิสินฺน เตโชธาตุ
สมาปนฺน ทิสฺวาน เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส สมฺมิฺชิต วา
พาห ปสาเรยฺย ปสาริต วา พาห สมฺมิฺเชยฺย เอวเมว เชตวเน
อนฺตรหิโต ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข อายสฺมา
มหาโมคฺคลฺลาโน ปุรตฺถิม ทิส นิสฺสาย ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส
ปลฺลงฺเกน นิสีทิ เตโชธาตุ สมาปชฺชิตฺวา นีจตรก ๑ ภควโต ฯ
[๕๗๖] อถ โข อายสฺมโต มหากสฺสปสฺส เอตทโหสิ กห นุ
โข ภควา เอตรหิ วิหรตีติ ฯ อทฺทสา โข อายสฺมา มหากสฺสโป
ภควนฺต ทิพฺเพน จกฺขุนา ฯเปฯ ทิสฺวาน เสยฺยถาปิ นาม พลวา
ปุริโส ฯเปฯ เอวเมว เชตวเน อนฺตรหิโต ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก
ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข อายสฺมา มหากสฺสโป ทกฺขิณ ทิส
นิสฺสาย ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส ปลฺลงฺเกน นิสีทิ เตโชธาตุ
สมาปชฺชิตฺวา นีจตรก ๒ ภควโต ฯ
[๕๗๗] อถ โข อายสฺมโต มหากปฺปินสฺส เอตทโหสิ กห
นุ โข ภควา เอตรหิ วิหรตีติ ฯ อถ ๓ โข อายสฺมา มหากปฺปิโน
ภควนฺต ทิพฺเพน จกฺขุนา ฯเปฯ เตโชธาตุ สมาปนฺน ทิสฺวาน
เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส ฯเปฯ เอวเมว เชตวเน อนฺตรหิโต
ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข อายสฺมา มหากปฺปิโน
ปจฺฉิม ทิส นิสฺสาย ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส ปลฺลงฺเกน นิสีทิ
เตโชธาตุ สมาปชฺชิตฺวา นีจตรก ภควโต ฯ
[๕๗๘] อถ โข อายสฺมโต อนุรุทฺธสฺส เอตทโหสิ กห นุ
โข ภควา เอตรหิ วิหรตีติ ฯ อทฺทสา โข อายสฺมา อนุรุทฺโธ
ฯเปฯ เตโชธาตุ สมาปนฺน ทิสฺวาน เสยฺยถาปิ นาม พลวา
ปุริโส ฯเปฯ ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข อายสฺมา
อนุรุทฺโธ อุตฺตร ทิส นิสฺสาย ตสฺส พฺรหฺมุโน อุปริเวหาส ปลฺลงฺเกน
นิสีทิ เตโชธาตุ สมาปชฺชิตฺวา นีจตรก ภควโต ฯ
[๕๗๙] อถ โข อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน ๔ พฺรหฺมาน
คาถาย อชฺฌภาสิ
อชฺชาปิ เต อาวุโส สา ทิฏฺิ ยา เต ทิฏฺิ ปุเร อหุ
ปสฺสสิ วีติวตฺตนฺต พฺรหฺมโลเก ปรายนนฺติ ฯ ๕
[๕๘๐] น เม มาริส สา ทิฏฺิ ยา เม ทิฏฺิ ปุเร อหุ
ปสฺสามิ วีติวตฺตนฺต พฺรหฺมโลเก ปรายน ๖
สฺวาห อชฺช กถ วชฺช อห นิจฺโจมฺหิ สสฺสโตติ ฯ
[๕๘๑] อถ โข ภควา ต พฺรหฺมาน สเวเชตฺวา เสยฺยถาปิ
นาม พลวา ปุริโส สมฺมิฺชิต วา พาห ปสาเรยฺย ปสาริต
วา พาห สมฺมิฺเชยฺย เอวเมว ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก อนฺตรหิโต
เชตวเน ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข โส พฺรหฺมา อฺตร พฺรหฺมปาริสชฺช
อามนฺเตสิ เอหิ ตฺว มาริส เยนายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน
เตนุปสงฺกม อุปสงฺกมิตฺวา อายสฺมนฺต มหาโมคฺคลฺลาน เอว วเทหิ
อตฺถิ นุ โข มาริส โมคฺคลฺลาน อฺเปิ ตสฺส ภควโต สาวกา
เอวมหิทฺธิกา เอวมหานุภาวา เสยฺยถาปิ นาม ๗ ภว โมคฺคลฺลาโน
กสฺสโป กปฺปิโน อนุรุทฺโธติ ฯ เอว มาริสาติ โข โส พฺรหฺมปาริสชฺโช
ตสฺส พฺรหฺมุโน ปฏิสฺสุณิตฺวา ๘ เสยฺยถาปิ นาม พลวา
ปุริโส ฯเปฯ เอวเมว ตสฺมึ พฺรหฺมโลเก อนฺตรหิโต อายสฺมโต
มหาโมคฺคลฺลานสฺส ปุรโต ปาตุรโหสิ ฯ”
[๕๘๒] อถ โข โส พฺรหฺมปาริสชฺโช อายสฺมนฺต มหาโมคฺคลฺลาน
อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ เอกมนฺต ิโต โส
พฺรหฺมปาริสชฺโช อายสฺมนฺต มหาโมคฺคลฺลาน เอตทโวจ อตฺถิ นุ
มาริส ฯเปฯ อนุรุทฺโธติ ฯ
[๕๘๓] อถ โข อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน ๙ พฺรหฺมปาริสชฺช
คาถาย อชฺฌภาสิ
เตวิชฺชา อิทฺธิปตฺตา จ เจโตปริยายโกวิทา
ขีณาสวา อรหนฺโต พหู พุทฺธสฺส สาวกาติ ฯ
[๕๘๔] อถ โข โส พฺรหฺมปาริสชฺโช อายสฺมโต
มหาโมคฺคลฺลานสฺส ภาสิต อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา เยน โส พฺรหฺมา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ต พฺรหฺมาน เอตทโวจ อายสฺมา
มาริส มหาโมคฺคลฺลาโน เอวมาห
เตวิชฺชา อิทฺธิปตฺตา จ เจโตปริยายโกวิทา
ขีณาสวา อรหนฺโต พหู พุทฺธสฺส สาวกาติ ฯ
[๕๘๕] อิทมโวจ โส พฺรหฺมปาริสชฺโช อตฺตมโน จ โส
พฺรหฺมา ตสฺส พฺรหฺมปาริสชฺชสฺส ภาสิต อภินนฺทีติ ฯ

******************

๑-๒ ม. ยุ. นีจตร ฯ
๓-๔ ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร ต อิติ ทิสฺสติ ฯ ๕-๖ ม. ยุ. ปภสฺสรนฺติ ฯ
๗ โป. ม. ยุ. นามสทฺโท นตฺถิ ฯ ๘ ม. ยุ. ปฏิสฺสุตฺวา ฯ ๙ ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร
#ต อิติ ทิสฺสติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาอปราทิฏฐิสูตร
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เตโชธาตุํ สมาปชฺชิตา ความว่า พระเถระทำบริกรรมใน
เตโชกสิณแล้วออกจากฌานที่เป็นบาท อธิษฐานว่า ขอเปลวไฟจงพุ่งออกจาก
สรีระ ด้วยอานุภาพจิตอธิษฐาน เปลวไฟพุ่งออกทั่วสรีระ. พระเถระชื่อว่าเข้า
เตโชธาตุสมาบัติอย่างนี้. ครั้นเข้าสมาบัติอย่างนั้นแล้ว ก็ไปในพรหมโลกนั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้ไปในที่นั้น. ตอบว่า ได้ยินว่า พระเถระเข้า
สมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์เห็นพระตถาคตประทับนั่งเหนือพรหมนั้น จึงได้มี
ความคิดดังนี้ว่าบุคคลนี้เป็นผู้แทงทะลุปรุโปร่งถึงอัฐิ ก็เราพึงไปในที่นั้น ฉะนั้น
จงได้ไปในที่นั้น. แม้ในการไปของพระเถระที่เหลือก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
แม้พรหมนั้นไม่ได้เห็นอานุภาพของพระตถาคตและสาวกของพระตถาคต จึงไม่
ควรเข้าถึงการแนะนำ. ด้วยเหตุนั้น จึงได้มีประชุมกันอย่างนั้นในที่ประชุมนั้น
เปลวไฟที่พุ่งออกจากสรีระของพระตถาคตล่วงเลยพรหมโลกทั้งสิ้นแล่นไปใน
อวกาศ ก็แลวรรณะเหล่านั้น ได้มี ๖ สี รัศมีของสาวกพระตถาคตก็มีวรรณะ
ธรรมดานั่นเอง.
ด้วยคำว่า ปสฺสสิ วีติวตฺตนฺตํ นี้ พระเถระถามว่า ท่านเห็นรัศมี
ที่เปล่งออกจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าอันล่วงเสียซึ่งรัศมีแห่ง
สรีระของพรหมวิมานและเครื่องประดับเป็นต้นอย่างอื่นในพรหมโลกนี้หรือ.
บทว่า น เม มาริส สา ทิฏฺฐิ ความว่า ทิฏฐินั้นใดของเราว่า คนอื่นไม่ว่า
สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามไม่สามารถจะมาในที่นี้ได้ ทิฏฐิของเรานั้นแต่ก่อนไม่
มี. บทว่า กถํ วชฺชํ ความว่า เพราะเหตุไร เราจงกล่าว. บทว่า นิจฺโจมฺหิ
สสฺสโต ความว่า ได้ยินว่า พรหมนี้มีทิฏฐิ ๒ อย่าง คือ ลัทธิทิฏฐิและ
สัสสตทิฏฐิ. ในทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น พรหมนั้นเมื่อเห็นพระตถาคตและสาวกของ
พระตถาคต ย่อมเป็นอันละลัทธิทิฏฐิได้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระ-
ธรรมเทศนาเป็นอันมากในเรื่องทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น. ในที่สุดเทศนา พรหมตั้ง
อยู่ในโสดาปัตติผล. อันพรหมนั้นละสัสสตทิฏฐิด้วยมรรค เพราะฉะนั้น พระ-
เถระจึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า พฺรหฺมปาริสชฺชํ ได้แก่ พรหมปริจาริกาผู้ปรนนิบัติพรหม
จริงอยู่ ชื่อว่า พรหมปาริสัชชะแม้ของพรหมทั้งหลายก็เหมือนภิกษุหนุ่มและ
สามเณรผู้ถือห่อของพระเถระ. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า เพราะเหตุไร
พรหมจึงส่งพรหมปาริสัชชะ ไปสู่สำนักของพระเถระนั่นแล ได้ยินว่า พรหมนั้น
ได้เกิดความคุ้นเคยด้วยการเจรจาปราศรัยในพระเถระ เพราะฉะนั้น พรหมนั้น
จึงส่งไปยังสำนักของพระเถระนั้นแล. บทว่า อญฺเปิ ความว่า ชนทั้ง ๔ ก็
เหมือนพวกท่าน เหล่าสาวกแม้อื่น ๆ เห็นปานนั้นยังมีอยู่หรือ หรือมีแต่พวก
ท่านทั้ง ๔ เท่านั้นที่มีฤทธิ์มาก. บทว่า เตวิชฺชา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยวิชชา
๓ คือ บุพเพนิวาสญาณ ทิพยจักขุญาณและอาสวักขยญาณ. บทว่า อิทฺธิปฺ-
ปตฺตา ได้แก่ บรรลุอิทธิวิธิญาณ. บทว่า เจโตปริยายโกวิทา ได้แก่ เป็น
ฉลาดในวารจิตของชนเหล่าอื่น. ในที่นี้ท่านกล่าวอภิญญา ๕ ไว้โดยสรุปด้วย
ประการฉะนี้. แต่ทิพยโสตญาณได้มาด้วยอำนาจอภิญญา ๕ เหล่านั้นเหมือน
กัน. บทว่า พหู ความว่า เหล่าพุทธสาวกผู้ได้อภิญญา ๖ อย่างนี้มีมากเหลือ
คณนานับ เที่ยวทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้รุ่งเรื่องด้วยผ้ากาสาวพัสตร์.
อรรถกถาอปราทิฏฐิสูตรที่ ๕

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!