27-492 สุกรชื่อตัจฉะ



พระไตรปิฎก


๙. ตัจฉสูกรชาดก
ว่าด้วยสุกรชื่อตัจฉะ

(สุกรตัจฉะเที่ยวเสาะหาฝูงสุกรในป่าพบสุกรจำนวนมากแล้วดีใจ จึงกล่าวว่า)
{๑๙๗๕} [๑๖๐] เราเมื่อเสาะหาหมู่ญาติใด เที่ยวไปตามเทือกเขาลำเนาไพร
เราเที่ยวตามหาอยู่ช้านาน ญาติทั้งหลายนี้นั้นเราก็ได้พบแล้ว
[๑๖๑] มูลผลาหารนี้ก็มีอยู่มาก และภักษาหารนี้ก็มีอยู่ไม่น้อย
ส่วนแม่น้ำ ภูเขานี้ก็น่ารื่นรมย์ คงจะอยู่ได้สบาย
[๑๖๒] เราจักอยู่พร้อมกับหมู่ญาติทั้งปวงในที่นี้แหละ
จักเป็นผู้ขวนขวายน้อย หมดความระแวงภัย
ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีภัยแต่ที่ไหน
(สุกรทั้งหลายกล่าวว่า)
{๑๙๗๖} [๑๖๓] ตัจฉะ ท่านจงเสาะหาถ้ำในที่อื่นอยู่เถิด
ในที่นี้พวกเรามีศัตรู
มันมาที่นี้ฆ่าสุกรแล้วกัดกินเนื้อล่ำ ๆ เป็นประจำ
(สุกรตัจฉะถามว่า)
{๑๙๗๗} [๑๖๔] ใครหนอเป็นศัตรูของพวกเราในที่นี้
ใครกันรังควานหมู่ญาติผู้พร้อมเพรียงซึ่งรังควานได้ยาก
เราถามแล้ว ขอพวกท่านจงบอกผู้นั้นแก่เรา
(สุกรเหล่านั้นตอบว่า)
{๑๙๗๘} [๑๖๕] ท่านตัจฉะ พญาเนื้อ
เป็นสัตว์มีพลัง มีเขี้ยวเป็นอาวุธ
มันมาที่นี่ฆ่าสุกรแล้วกัดกินเนื้อล่ำ ๆ เป็นประจำ
(สุกรตัจฉะกล่าวว่า)
{๑๙๗๙} [๑๖๖] พวกเราไม่มีเขี้ยวก็หาไม่ พลังกายก็พร้อมมูล
พวกเราทั้งหมดจงพร้อมเพรียงกัน สร้างอำนาจร่วมกัน
(สุกรเหล่านั้นกล่าวว่า)
{๑๙๘๐} [๑๖๗] ท่านตัจฉะ ท่านนะพูดได้จับใจ สบายหู
แม้ตัวใดหนีไปในขณะต่อสู้ พวกเราจะฆ่าตัวนั้นในภายหลัง
(ชฎิลโกงเห็นเสือโคร่งกลับมามือเปล่า จึงกล่าวว่า)
{๑๙๘๑} [๑๖๘] วันนี้ท่านงดเว้นจากปาณาติบาตหรือหนอ
หรือว่าท่านให้อภัยแก่หมู่สัตว์ทั้งปวง
ท่านไม่มีเขี้ยวที่จะฆ่าเนื้อหรือหนอ
ถึงอยู่ในฝูงสุกรก็ยังซบเซาเหมือนคนกำพร้า
(พญาเสือโคร่งได้กล่าวว่า)
{๑๙๘๒} [๑๖๙] ข้าพเจ้าจะไม่มีเขี้ยวก็หาไม่ พลังกายก็พร้อมมูล
แต่เพราะเห็นญาติ ๆ พร้อมเพรียงเป็นอันเดียวกัน
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงซบเซาอยู่ผู้เดียวในป่า
[๑๗๐] เมื่อก่อนสุกรเหล่านี้กลัวภัย
แยกกันหนีไปคนละทิศละทาง แสวงหาที่พึ่ง
แต่บัดนี้พวกมันกลับรวมหมู่กันตั้งท่าสู้
ยากที่ข้าพเจ้าจะข่มพวกมันได้
[๑๗๑] พวกมันได้ผู้นำดี มีความพร้อมเพรียงกัน
มีความเห็นอย่างเดียวกัน พร้อมกันที่จะทำลายข้าพเจ้าได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ปรารถนาสุกรเหล่านั้น
(ชฎิลโกงเมื่อจะให้เสือโคร่งเกิดความอุตสาหะ จึงกล่าวว่า)
{๑๙๘๓} [๑๗๒] พระอินทร์องค์เดียวยังเอาชัยชนะพวกอสูรได้
นกเหยี่ยวตัวเดียวยังข่มขี่ฆ่านกทั้งหลายได้
เสือโคร่งตัวเดียวเข้าไปอยู่ในฝูงเนื้อ
ก็ยังฆ่าเนื้อตัวล่ำ ๆ ซึ่งมีกำลังเหมือนเช่นนั้นได้
(เสือโคร่งกล่าวว่า)
{๑๙๘๔} [๑๗๓] หมู่ญาติผู้พร้อมเพรียงร่วมใจกัน มีกิริยาเช่นเสือโคร่ง
ไม่ว่าพระอินทร์หรือนกเหยี่ยว หรือเสือโคร่ง ซึ่งเป็นพญาสัตว์
ก็ไม่อาจให้อยู่ในอำนาจได้
(ชฎิลโกงปลุกใจเสือโคร่งว่า)
{๑๙๘๕} [๑๗๔] ฝูงนกกุมภีลกาตัวเล็ก ๆ เที่ยวไปเป็นฝูง เป็นหมู่
รื่นเริง จับกลุ่มกันโผผิน บินร่อนไปมา
[๑๗๕] ก็เมื่อนกเหล่านั้นโผผินอยู่ เหยี่ยวย่อมโฉบเอานกตัวหนึ่ง
บรรดานกเหล่านั้นที่แตกฝูงออกมา
นั้นเป็นคติของเหล่าพยัคฆ์ทั่วไป
(พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า)
{๑๙๘๖} [๑๗๖] เสือโคร่งมีเขี้ยวเป็นอาวุธ ถูกชฎิลชั่วผู้เห็นแก่อามิสปลุกใจ
มีความสำคัญเหมือนครั้งก่อน
จึงได้เผ่นเข้าไปในฝูงของสุกรผู้ที่มีเขี้ยว
(รุกขเทวดาเห็นเหตุอัศจรรย์นั้น จึงกล่าวคาถาว่า)
{๑๙๘๗} [๑๗๗] ญาติทั้งหลายมีมากด้วยกันเป็นการดี
ถึงแม้จะเป็นต้นไม้ที่เกิดในป่าก็ตาม
เสือโคร่งถูกสุกรทั้งหลายที่สามัคคีกันฆ่าตาย
ในหนทางที่เดินได้คนเดียว
(พระศาสดาตรัสว่า)
{๑๙๘๘} [๑๗๘] สุกรทั้งหลายได้ฆ่าเสียทั้ง ๒ คน คือ
พราหมณ์ ๑ เสือโคร่ง ๑
จึงได้รื่นเริงบันเทิงใจ ส่งเสียงบันลือลั่น
{๑๙๘๙} [๑๗๙] สุกรเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันที่โคนต้นมะเดื่อ
ได้อภิเษกสุกรตัจฉะว่า
ท่านจงเป็นราชา เป็นใหญ่แห่งเราทั้งหลายเถิด
ตัจฉสูกรชาดกที่ ๙ จบ

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.