27-019 การฆ่าสัตว์ทำพลีกรรม



พระไตรปิฎก


๙. อายาจิตภัตตชาดก
ว่าด้วยการฆ่าสัตว์ทำพลีกรรม

(รุกขเทวดาอยู่ที่ค่าคบต้นไม้กล่าวกับกุฎุมพีผู้ฆ่าสัตว์แก้บนว่า)
{๑๙} [๑๙] ถ้าท่านต้องการจะเปลื้องตนให้หลุดพ้น
จงเปลื้องตนให้หลุดพ้นโดยวิธีที่จะไม่ติดแน่นเถิด
เมื่อท่านเปลื้องตนอย่างนี้ ชื่อว่ายังติดแน่นอยู่
เพราะนักปราชญ์ไม่เปลื้องตนให้หลุดพ้นด้วยวิธีอย่างนี้
การเปลื้องตนให้หลุดพ้นอย่างนี้ กลับเป็นการผูกมัดคนพาล
อายาจิตภัตตชาดกที่ ๙ จบ

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


๙. อรรถกถาอายาจิตภัตตชาดก
พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพลีกรรม
อ้อนวอนเทวดาทั้งหลาย จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สเจ มุญฺเจ
ดังนี้
ได้ยินว่า ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะไปค้าขาย ได้ฆ่าสัตว์ทำพลี
กรรมแก่เทวดาทั้งหลาย อ้อนวอนว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถึงความสำเร็จประโยชน์
โดยไม่ขัดข้องมาแล้ว จักกระทำพลีกรรมแก่ท่านทั้งหลายอีก ดังนี้แล้ว จึงพา
กันไป. ในกาลนั้นพวกมนุษย์ได้ถึงความสำเร็จประโยชน์โดยไม่มีอันตรายมา
แล้ว สำคัญว่า ผลนี้เกิดด้วยอานิภาพของเทวดา จึงฆ่าสัตว์เป็นอันมากกระทำ
พลีกรรมเพื่อปลดเปลื้องการอ้อนวอน ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประโยชน์ในการอ้อนวอนนี้มีอยู่
หรือ ? พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล มีกุฎุมพีคนหนึ่งในบ้านแห่งหนึ่งในแคว้นกาสี ปฏิญญา
การพลีกรรมแก่เทวดา ผู้สิงอยู่ที่ต้นไทรซึ่งตั้งอยู่ใกล้ประตูบ้าน แล้วกลับมา
โดยไม่มีอันตราย จึงฆ่าสัตว์เป็นอันมาก แล้วไปยังโคนต้นไทรด้วยตั้งใจว่า
จักเปลื้องการอ้อนวอน รุกขเทวดายืนอยู่ที่ค่าคบของต้นไม้กล่าวคาถานี้ว่า
ถ้าท่านปรารถนาจะเปลื้องตนให้พ้น ท่านละ
โลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ ก็ท่านเปลื้องตนอยู่อย่างนี้
กลับจะติดหนักเข้า เพราะนักปราชญ์หาได้เปลื้องตน
ด้วยอาการอย่างนี้ไม่การเปลื้องตนอย่างนี้ เป็นเครื่อง
ติดของคนพาล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ มุญฺเจ เปจฺจ มุญฺเจ ความว่า
ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ถ้าท่านจะเปลื้องตน คือท่านปรารถนาจะเปลื้องตน ท่าน
ละโลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ คือจงพ้นโดยประการที่ติดพ้นโลกหน้า. บทว่า
มุจฺจมาโน หิ พชฺฌสิ ความว่า ก็ท่านเมื่อปลดเปลื้องโดยประการที่ปรารถนา
เพื่อฆ่าสัตว์ปลดเปลื้อง ชื่อว่ายังติดพ้นด้วยกรรมอันลามก เพราะเหตุไร ?
เพราะนักปราชญ์ทั้งหลาย หาได้เปลื้องคนด้วยอาการอย่างนี้ไม่ อธิบายว่า ก็
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเหล่านั้น ย่อมไม่ปลดเปลื้องตนด้วยคำมั่นสัญญาอย่างนี้
เพราะเหตุไร ? เพราะการเปลื้องตนเห็นปานนี้ เป็นเหตุติดพ้นของคนพาล
คือธรรมดาการเปลื้องคนเพราะกระทำปาณาติบาตนี้ ย่อมเป็นเหตุติดหนักของ
คนพาล. รุกขเทวดาแสดงธรรมด้วยประการดังกล่าวนี้.
ตั้งแต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายงดเว้นจากกรรมคือปาณาติบาตเห็นปานนั้น
พากันประพฤติธรรม ยังเทพนครให้เต็มแล้ว.
พระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า สมัยนั้นเราได้เป็นรุกขเทวดาแล.
จบอายาจิตชาดกที่ ๙

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.