26-389 คาถาของพระมาลุงกยบุตรเถระ



พระไตรปิฎก


๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระมาลุงกยบุตรเถระ

(พระมาลุงกยบุตรเถระได้กล่าวภาสิตเหล่านี้ว่า)
[๗๙๔] เมื่อเห็นรูป มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่
ย่อมหลงลืมสติได้
ผู้ที่มีจิตกำหนัดนักยังเสวยรูปารมณ์อยู่
[๗๙๕] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีรูปเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา A และวิหิงสา B ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๗๙๖] เมื่อฟังเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่
ย่อมหลงลืมสติได้
ผู้ที่มีจิตกำหนัดนัก ยังเสวยสัททารมณ์อยู่
สัททารมณ์นั้นย่อมผูกพันเขาไว้
[๗๙๗] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีเสียงเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๗๙๘] เมื่อบุคคลดมกลิ่นแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่ายินดี
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดคันธารมณ์นั้นอยู่
[๗๙๙] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีกลิ่นเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๐] เมื่อบุคคลลิ้มรสแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่อร่อย
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดรสารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๑] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีรสเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๒] เมื่อบุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่าติดใจ
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดโผฏฐัพพารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๓] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีผัสสะเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๔] เมื่อบุคคลรู้ธรรมารมณ์แล้ว
ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่าเพลิดเพลิน
ก็เป็นอันหลงลืมสติ
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก
เพลิดเพลิน และติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๕] เวทนาต่าง ๆ ซึ่งมีธรรมารมณ์เป็นเหตุ ย่อมเจริญแก่เขา
อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา
เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป
ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน
[๘๐๖] ผู้ที่เห็นรูปแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในรูป มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งรูปารมณ์นั้น และไม่ติดรูปารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๗] เมื่อพระโยคีนั้นพิจารณาเห็นรูป
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น
หรือแม้เสวยเวทนาโดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ก็ฉันนั้น
เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[๘๐๘] ผู้ที่ฟังเสียงแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในเสียง
มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งสัททารมณ์นั้น และไม่ติดสัททารมณ์นั้นอยู่
[๘๐๙] เมื่อพระโยคีนั้น ฟังเสียง หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏ ย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๐] ผู้ที่ดมกลิ่นแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในกลิ่น มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งคันธารมณ์นั้น และไม่ติดคันธารมณ์นั้นอยู่
[๘๑๑] เมื่อพระโยคีนั้น ดมกลิ่น หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏ ย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๒] ผู้ที่ลิ้มรสแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในรส มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งรสารมณ์นั้น และไม่ติดรสารมณ์นั้นอยู่
[๘๑๓] เมื่อพระโยคีนั้นลิ้มรส หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๔] ผู้ที่ถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในโผฏฐัพพะ มีจิตคลายความกำหนัด
รู้แจ้งโผฏฐัพพารมณ์นั้น และไม่ติดโผฏฐัพพารมณ์นั้นอยู่
[๘๑๕] เมื่อพระโยคีนั้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้นเป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
[๘๑๖] ผู้ที่รู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า
ไม่กำหนัดยินดีในธรรมารมณ์
มีจิตคลายความกำหนัด รู้แจ้งธรรมารมณ์นั้น
และไม่ติดธรรมารมณ์นั้นอยู่
[๘๑๗] เมื่อพระโยคีนั้น รู้แจ้งธรรมารมณ์หรือแม้เสวยเวทนา
โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้
กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้
ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้
ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน
เชิงอรรถ
A ความเพ่งเล็งอยากได้จัด (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๙๕/๓๓๕)
B ความพยาบาท (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๙๒/๓๓๕)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!