25-447 เวทนา สูตรที่ ๒



พระไตรปิฎก


๔. ทุติยเวทนาสูตร A
ว่าด้วยเวทนา สูตรที่ ๒

{๒๓๑} [๕๓] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้
เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อทุกขมสุขเวทนา
ภิกษุพึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ B
พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นดุจลูกศร
พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยง
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดย
ความเป็นดุจลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความไม่เที่ยงได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า
‘เป็นอริยะ มีความเห็นชอบ ตัดตัณหาได้ เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุด
แห่งทุกข์ เพราะรู้แจ้งมานะได้โดยชอบ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุใดเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์
เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นดุจลูกศร
เห็นอทุกขมสุขเวทนาที่มีอยู่โดยความไม่เที่ยง
ภิกษุนั้นแล เป็นผู้มีความเห็นชอบ
เพราะเหตุที่หลุดพ้นได้เด็ดขาดในเวทนานั้น
จึงชื่อว่าสำเร็จอภิญญา ๖ ประการ
เป็นผู้สงบ ล่วงพ้นโยคะได้แล้ว เป็นมุนีแท้จริง
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ทุติยเวทนาสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๕๓/๒๗๓
B ทุกข์ หมายถึงวิปริณามทุกข์ (ทุกข์คือ ความผันแปรเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป) (ขุ.อิติ.อ.๕๓/๒๒๐)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!