21-261 ธรรมของภิกษุผู้ควรอยู่ป่าและไม่ควรอยู่ป่า



พระไตรปิฎก


อรัญญสูตร
ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรอยู่ป่าและไม่ควรอยู่ป่า

{๒๖๒}[๒๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ไม่ควรอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ A
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุ
๑. ประกอบด้วยกามวิตก (ความตรึกในทางกาม)
๒. ประกอบด้วยพยาบาทวิตก (ความตรึกในทางพยาบาท)
๓. ประกอบด้วยวิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)
๔. มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ B
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ไม่ควรอาศัย
เสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ควรอาศัยเสนาสนะ
อันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุ
๑. ประกอบด้วยเนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)
๒. ประกอบด้วยอพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)
๓. ประกอบด้วยอวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน)
๔. มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ควรอาศัยเสนาสนะ
อันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ
อรัญญสูตรที่ ๙ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเชิงอรรถที่ ๒ และที่ ๓ ข้อ ๑๓๘ (นิกกัฏฐสูตร) หน้า ๒๐๖ ในเล่มนี้
B เป็นคนเซอะ แปลมาจากบาลีว่า “เอฬมูโค” อรรถกถาใช้คำว่า “ปคฺฆริตเขฬมูโค” หมายถึงเป็นใบ้มี น้ำลายไหล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) แต่ในฎีกาอภิธานัปปทีปิกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูด และไม่ฉลาดฟัง (วตฺตุํ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน สวเน จ อกุสโล) และแยกอธิบายอีกว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก) มูโค หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึง คนโอ้อวด (สเฐปิ เอฬมูโค)(อภิธา.ฏีกา คาถา ๗๓๔)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.