21-240 สมณะ



พระไตรปิฎก


๑๐. สมณสูตร
ว่าด้วยสมณะ

{๒๔๑}[๒๔๑] ภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ และสมณะที่ ๔ มีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ลัทธิอื่น A ว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาท B
โดยชอบเถิด
สมณะที่ ๑ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไปจึงเป็นพระโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ C ในวันข้างหน้า นี้เป็นสมณะที่ ๑
สมณะที่ ๒ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไปและเพราะราคะ โทสะ
โมหะเบาบาง จึงเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้ครั้งเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ นี้เป็นสมณะที่ ๒
สมณะที่ ๓ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป จึงเป็น
โอปปาติกะ๔ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอย่างแน่นอน นี้เป็น
สมณะที่ ๓
สมณะที่ ๔ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นสมณะที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓และสมณะที่ ๔ มีใน
ธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบเถิด
สมณสูตรที่ ๑๐ จบ
เชิงอรรถ
A ลัทธิอื่นในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ที่มาในพรหมชาลสูตร คือ สัสสตวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง)
๔, เอกัจจสัสสติกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง) ๔, อันตานันติกวาท (ลัทธิที่ถือว่า
โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด) ๔, อมราวิกเขปวาทะ (ลัทธิที่พูดหลบเลี่ยง ไม่แน่นอนตายตัว) ๔, อธิจจ-
สมุปปันนวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นเอง ไม่มีเหตุปัจจัย) ๒, สัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า
หลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญา) ๑๖, อสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาไม่มีสัญญา) ๘,
เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ๘, อุจเฉท-
วาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้ว อัตตาขาดสูญ) ๗, ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ (ลัทธิที่ถือว่ามีสภาวะ
บางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน) ๕, (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๔๑/๔๔๒)
B ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๘ (เวสารัชชสูตร) หน้า ๑๓ ในเล่มนี้
C ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๗๖ (กุสินารสูตร) หน้า ๑๒๒ ในเล่มนี้
D หมายถึงพระอนาคามีไปเกิดในชั้นสุทธาวาสภพใดภพหนึ่ง(องฺ.ติก.(แปล)๒๐/๘๗/๓๑๔, ม.มู.อ. ๑/๑๓๙/๓๒๔)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.