21-232 กรรมและวิบากแห่งกรรม โดยพิสดาร



พระไตรปิฎก


๒. วิตถารสูตร
ว่าด้วยกรรมและวิบากแห่งกรรมโดยพิสดาร

{๒๓๓}[๒๓๓] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กรรมดำมีวิบากดำ
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว
๓. กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม
กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่ง A กายสังขาร B ที่มีความเบียดเบียน C ปรุงแต่ง
วจีสังขาร D ที่มีความเบียดเบียน และปรุงแต่งมโนสังขาร E ที่มีความเบียดเบียน เขา
ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่มีความเบียดเบียน
ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่มีความ
เบียดเบียนกระทบเข้าย่อมเสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว
เหมือนพวกสัตว์นรก นี้เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง
วจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียนและปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน เขา
ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน
ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความ
เบียดเบียนกระทบเข้าย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว
เหมือนพวกเทวดา๑ชั้นสุภกิณหะ นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียน
บ้าง เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูก
ต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขา
ถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้าย่อมเสวย
เวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน
เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก๒ และวินิปาติกะ๓บางพวก นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำ
และขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร
คือ บรรดากรรมเหล่านั้น เจตนา๑เพื่อละกรรมดำที่มีวิบากดำ เจตนาเพื่อ
ละกรรมขาวที่มีวิบากขาว และเจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำและขาวที่มีวิบากทั้งดำ
และขาว นี้เรียกว่า กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไป
เพื่อความสิ้นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
วิตถารสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A ปรุงแต่ง ในที่นี้หมายถึงการสั่งสมพอกพูน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๐)
2 กายสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางกายหรือกายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย(องฺ. ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑)
3 มีความเบียดเบียน หมายถึงมีทุกข์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๐)
4 วจีสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร หรือวจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑)
5 มโนสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา หรือมโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑)
6 เทวดา ในที่นี้หมายถึงสุภกิณหพรหม (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑)
7 เทวดาบางพวกในที่นี้หมายถึงกามาวจรเทวดา ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตนิมมานรดี
และปรนิมมิตวสวัตดี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๐)
8 วินิปาติกะ หมายถึงเวมานิกเปรต ได้แก่ เปรตผู้อยู่ในวิมาน เสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรม เสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมานมีร่าง
กายเป็นทิพย์สวยงาม แต่เวลาจะเสวยทุกข์ก็ต้องออกจากวิมานไป และร่างกายก็กลายเป็นร่างกายที่น่า
เกลียดน่ากลัว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๑)

บาลี


เจตนาในที่นี้หมายถึงเจตนาในอริยมรรค ที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงวิวัฏฏะคือพระนิพพาน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/ ๒๓๓/๔๔๐)

รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.