21-209 ธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ 4
พระไตรปิฎก
๑๐. จตุตถปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ ๔
{๒๑๐}[๒๑๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้มีธรรมชั่วและบุคคลผู้มีธรรมชั่วที่
ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว จักแสดงบุคคลผู้มีธรรมดีและบุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่า
บุคคลผู้มีธรรมดี แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ B
บุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ C มีมิจฉาญาณะ มีมิจฉา-
วิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมชั่ว
บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉา-
ทิฏฐิ ฯลฯ๓ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาญาณะ ตนเอง
เป็นผู้มีมิจฉาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวิมุตติ
บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว
บุคคลผู้มีธรรมดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ๓ มีสัมมาญาณะ
มีสัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมดี
บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ C ตนเองเป็นผู้มีสัมมาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาญาณะ ตนเองเป็นผู้มี
สัมมาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวิมุตติ
บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี
จตุตถปาปธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
สัปปุริสวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สิกขาปทสูตร
๒. อัสสัทธสูตร
๓. สัตตกัมมสูตร
๔. ทสกัมมสูตร
๕. อัฏฐังคิกสูตร
๖. ทสมัคคสูตร
๗. ปฐมปาปธัมมสูตร
๘. ทุติยปาปธัมมสูตร
๙. ตติยปาปธัมมสูตร
๑๐. จตุตถปาปธัมมสูตร
เชิงอรรถ
A ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๒ (อัสสัทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้
B ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๕ (อัฏฐังคิกสูตร) หน้า ๓๒๕ และข้อ ๒๐๖ (ทสมัคคสูตร) หน้า ๓๒๖-๓๒๗ ในเล่มนี้
C ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๕ (อัฏฐังคิกสูตร) หน้า ๓๒๖ และข้อ ๒๐๖ (ทสมัคคสูตร) หน้า ๓๒๗ ในเล่มนี้
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต