21-171 การจำแนกปฏิสัมภิทา



พระไตรปิฎก


๒. วิภัตติสูตร
ว่าด้วยการจำแนกปฏิสัมภิทา

{๑๗๒}[๑๗๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ท่าน
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งซึ่งอัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญา
แตกฉานในอรรถ A) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก B แสดง C บัญญัติ D
กำหนด E เปิดเผย F จำแนก G ทำให้ง่าย H ซึ่งอัตถปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ
ผู้มีความสงสัย หรือเคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย
พระศาสดาของเราทั้งหลาย ผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้งหลาย
ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้ง ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่ายซึ่งธัมมปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ ผู้มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงพึงถาม
เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลาย ผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้ง
หลาย ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งนิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ)
โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำ
ให้ง่ายซึ่งนิรุตติปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ ผู้มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงพึงถาม
เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลายผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้งหลาย
ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานใน
ปฏิภาณ) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่าง ๆ ผู้มีความสงสัยหรือ
เคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลายผู้ทรง
ฉลาดดีในธรรมทั้งหลายประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
วิภัตติสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A อรรถ คือ ประโยชน์ ๕ ประการ ในที่นี้ โดยย่อ หมายถึงเหตุผลที่พึงถึงพึงบรรลุ โดยประเภท หมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแต่ปัจจัย นิพพาน เนื้อความที่ตรัสไว้ วิบาก (ผล) และกิริยา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๒/๓๙๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔)
B หมายถึงกล่าวคำเริ่มต้น แสดงคำเริ่มต้น (อง.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๒/๓๙๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔)
C หมายถึงการให้อุทเทส (คำเริ่มต้น) จบลง (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔)
D หมายถึงการประกาศให้รู้ถึงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้โดยประการต่าง ๆ ตามที่ยกแสดงไว้
E หมายถึงการให้เนื้อความนั้นดำเนินไปโดยประการต่าง ๆ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕)
F หมายถึงการชี้แจงแสดงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้ โดยการวกกลับมาอธิบายซ้ำอีก (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕)
G หมายถึงการจำแนกประเด็นที่เปิดแล้ว (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕)
H หมายถึงการแสดงประเด็นที่จำแนกไว้ให้ชัดเจนด้วยการชี้เหตุและยกอุทาหรณ์ต่างๆมาประกอบ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๒/๓๙๙, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.