21-114 ฐานะแห่งความเสื่อมและความเจริญ
พระไตรปิฎก
๕. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะแห่งความเสื่อมและความเจริญ
{๑๑๕}[๑๑๕] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ A ๔ ประการนี้
ฐานะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจและเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย
๒. ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
๓. ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจ แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย
๔. ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจและเมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
บรรดาฐานะ ๔ ประการนั้น ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจและเมื่อทำย่อมเป็น
ไปเพื่อความฉิบหาย บัณฑิตย่อมรู้ว่าฐานะนี้ไม่ควรทำทั้ง ๒ ส่วน คือ รู้ว่าไม่ควร
ทำทั้งส่วนที่เป็นฐานะที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจ และรู้ว่าไม่ควรทำทั้งส่วนที่เป็นฐานะ
ที่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย บัณฑิตย่อมรู้ว่าฐานะนี้ไม่ควรทำทั้ง ๒ ส่วน
บรรดาฐานะ ๔ ประการนั้น ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่เมื่อทำย่อม
เป็นไปเพื่อประโยชน์ พึงทราบคนพาลและบัณฑิตในเรื่องกำลังของบุรุษ ความเพียร
ของบุรุษ และความบากบั่นของบุรุษ คนพาลย่อมไม่เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ฐานะนี้
ที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์” เขาย่อมไม่ทำ
ฐานะนั้น เมื่อไม่ทำจึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อมเห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
“ฐานะนี้ที่ให้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์” เขา
ย่อมทำฐานะนั้น เมื่อทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
บรรดาฐานะ ๔ ประการนั้น ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจ แต่เมื่อทำย่อมเป็นไป
เพื่อความฉิบหาย พึงทราบคนพาลและบัณฑิตในเรื่องกำลังของบุรุษ ความเพียร
ของบุรุษ และความบากบั่นของบุรุษ คนพาลย่อมไม่เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ฐานะนี้
ที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย” เขาย่อมทำฐานะ
นั้น แต่เมื่อทำจึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อมเห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
“ฐานะนี้ที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจก็จริง แต่เมื่อทำย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย” เขาไม่
ทำฐานะนั้น เมื่อไม่ทำจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
บรรดาฐานะ ๔ ประการนั้น ฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจ และเมื่อทำย่อม
เป็นไปเพื่อประโยชน์ บัณฑิตย่อมรู้ว่าฐานะนี้ควรทำทั้ง ๒ ส่วน คือ รู้ว่าควรทำ
ทั้งส่วนที่เป็นฐานะที่ให้ทำสิ่งที่น่าพอใจ และรู้ว่าควรทำทั้งส่วนที่เป็นฐานะที่เมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ บัณฑิตย่อมรู้ว่าฐานะนี้ควรทำทั้ง ๒ ส่วน
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้แล
ฐานสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๑๕/๓๗๒)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต