20-237 เวลาเช้า เป็นฤกษ์ดี เป็นต้น
พระไตรปิฎก
๑๐. ปุพพัณหสูตร
ว่าด้วยเวลาเช้าเป็นฤกษ์ดีเป็นต้น
{๕๙๕}[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต(ความประพฤติชอบด้วย
กาย) วจีสุจริต(ความประพฤติชอบด้วยวาจา) และมโนสุจริต(ความประพฤติชอบ
ด้วยใจ) ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในเวลาเที่ยง เวลา
เที่ยงก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ใน
เวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาที่ดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด
เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี
ขณะดี ยามดี และบูชาดีในพรหมจารีบุคคล
กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา A วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
มโนกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา
ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา
สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว
ย่อมได้ประโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องขวา
ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับความสุข
งอกงามในพุทธศาสนา จงไม่มีโรค
ถึงความสุขพร้อมด้วยญาติทั้งมวล
ปุพพัณหสูตรที่ ๑๐ จบ
เชิงอรรถ
A เบื้องขวา ในที่นี้หมายถึงความเจริญหรือพฤติกรรมฝ่ายดี (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๕๖/๒๗๕)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต