20-068 สุข



พระไตรปิฎก


๒. สุขวรรค หมวดว่าด้วยสุข
{๓๐๙}[๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขของคฤหัสถ์ ๒. สุขของบรรพชิต
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของบรรพชิตเป็นเลิศ (๑)
{๓๑๐}[๖๖] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. กามสุข A ๒. เนกขัมมสุข B
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เนกขัมมสุขเป็นเลิศ (๒)
{๓๑๑}[๖๗] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีอุปธิ C ๒. สุขที่ไม่มีอุปธิ D
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีอุปธิเป็นเลิศ (๓)
{๓๑๒}[๖๘] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีอาสวะ E ๒. สุขที่ไม่มีอาสวะ F
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีอาสวะเป็นเลิศ (๔)
{๓๑๓}[๖๙] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่อิงอามิส G ๒. สุขที่ไม่อิงอามิส H
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่อิงอามิสเป็นเลิศ (๕)
{๓๑๔}[๗๐] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขของพระอริยะ I ๒. สุขของผู้ไม่ใช่พระอริยะ J
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของพระอริยะเป็นเลิศ (๖)
{๓๑๕}[๗๑] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขทางกาย ๒. สุขทางใจ
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อยางนี้ สุขทางใจเป็นเลิศ (๗)
{๓๑๖}[๗๒] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีปีติ K ๒. สุขที่ไม่มีปีติ L
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีปีติเป็นเลิศ (๘)
{๓๑๗}[๗๓] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่เกิดจากความยินดี M ๒. สุขที่เกิดจากอุเบกขา N
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากอุเบกขาเป็นเลิศ (๙)
{๓๑๘}[๗๔] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สมาธิสุข O ๒. อสมาธิสุข P
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สมาธิสุขเป็นเลิศ (๑๐)
{๓๑๙}[๗๕] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่เกิดจากฌานมีปีติเป็นอารมณ์ Q
๒. สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ R
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็น
อารมณ์เป็นเลิศ (๑๑)
{๓๒๐}[๗๖] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่เกิดจากฌานมีความยินดีเป็นอารมณ์ S
๒. สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็นอารมณ์ T
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็น
อารมณ์เป็นเลิศ (๑๒)
{๓๒๑}[๗๗] สุข ๒ อย่างนี้
สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุขที่มีรูปฌานเป็นอารมณ์
๒. สุขที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์
สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์เป็น
เลิศ (๑๓)
สุขวรรคที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A กามสุข หมายถึงสุขที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่น่าพอใจ
(องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๖/๖๐)
B เนกขัมมสุข หมายถึงสุขที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยบรรพชา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๖/๖๐)
C สุขที่มีอุปธิ หมายถึงสุขเจือกิเลสที่เป็นไปในภูมิ ๓ (กามาวจร, รูปาวจร, อรูปาวจร) เป็นสุขระดับโลกิยะ
(องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๗/๖๐)
D สุขที่ไม่มีอุปธิ หมายถึงสุขไม่เจือกิเลส เป็นสุขระดับโลกุตตระ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๗/๖๐)
E สุขที่มีอาสวะ หมายถึงสุขที่นับเนื่องในวัฏฏะที่เป็นปัจจัยแก่อาสวะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๘/๖๐)
F สุขที่ไม่มีอาสวะ หมายถึงสุขที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ที่ไม่เป็นปัจจัยแก่อาสวะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๘/๖๐)
G สุขที่อิงอามิส หมายถึงสุขอาศัยเหยื่อล่อ เป็นสุขที่ทำให้ใจเศร้าหมอง ทำให้สัตว์อยู่ในวงจรแห่งวัฏฏะ
(องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๙/๖๑)
H สุขที่ไม่อิงอามิส หมายถึงสุขที่ไม่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ เป็นสุขที่ไม่ทำใจให้เศร้าหมองพ้นจากวงจรแห่ง
วัฏฏะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๙/๖๑)
I สุขของพระอริยะ หมายถึงสุขที่ไม่ใช่ของปุถุชน เป็นสุขของพระอริยบุคคล ๘ จำพวก (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๐/
๖๑)
J สุขของผู้ไม่ใช่พระอริยะ หมายถึงสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยบุคคล (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๐/๖๑)
K สุขที่มีปีติ หมายถึงสุขในปฐมฌานและทุติยฌาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๒/๖๑)
L สุขที่ไม่มีปีติ หมายถึงสุขในตติยฌานและจตุตถฌาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๒/๖๑)
M สุขที่เกิดจากความยินดี หมายถึงสุขในฌาน ๓ (ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓/๖๑)
N สุขที่เกิดจากอุเบกขา หมายถึงสุขในจตุตถฌาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓/๖๑)
O สมาธิสุข หมายถึงสุขที่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๔/๖๑)
P อสมาธิสุข หมายถึงสุขที่ยังไม่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิหรืออุปจารสมาธิ (องฺ. ทุก. อ. ๒/๗๔/๖๑)
Q สุขที่เกิดจากฌานมีปีติเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๒ มีปีติเป็นอารมณ์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๗๕/๖๑)
R สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๒ ไม่มีปีติเป็นอารมณ์ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๗๕/๖๑)
S สุขที่เกิดจากฌานมีความยินดีเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๓ (ปฐมฌาน, ทุติยฌาน,
ตติยฌาน) มีความยินดีเป็นอารมณ์ (เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓,๗๕/๖๑)
T สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌานที่ ๔ มีอุเบกขาเป็น
อารมณ์ (เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓,๗๕/๖๑)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.