20-042 หมวดว่าด้วยอธิกรณ์



พระไตรปิฎก


๒. อธิกรณวรรค
หมวดว่าด้วยอธิกรณ์

{๒๕๗}[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พละ A ๒ ประการนี้
พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา)
๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ)
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว
ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ
หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น
ประจักษ์ดังนี้แล้วย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ในพละ ๒ ประการนั้น ภาวนาพละเป็นของพระเสขะ บุคคลนั้นอาศัยพละ
ของพระเสขะย่อมละราคะ โทสะ และโมหะได้ ครั้นละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว
เขาย่อมไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล ไม่ประพฤติกรรมที่เป็นบาป นี้เรียกว่า ภาวนาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๑)
{๒๕๘}[๑๒] พละ ๒ ประการนี้
พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ ๒. ภาวนาพละ
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว
ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ
หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น
ประจักษ์ดังนี้แล้วย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธน้อมไปในการสละ บำเพ็ญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ … บำเพ็ญวีริยสัมโพชฌงค์
… บำเพ็ญปีติสัมโพชฌงค์ … บำเพ็ญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ … บำเพ็ญสมาธิสัมโพชฌงค์
… บำเพ็ญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน
การสละ นี้เรียกว่า ภาวนาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๒)
{๒๕๙}[๑๒] พละ ๒ ประการนี้
พละ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ ๒. ภาวนาพละ
ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า “ผลของกายทุจริตเป็นผลที่เลว
ทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า ผลของวจีทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพ
หน้า ผลของมโนทุจริตเป็นผลที่เลวทรามทั้งในภพนี้และภพหน้า” บุคคลนั้นครั้นเห็น
ประจักษ์ดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต
ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่า ปฏิสังขานพละ
ภาวนาพละ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก A อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว
ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่
มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ อนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า ภาวนาพละ
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ ประการนี้แล (๓)
เชิงอรรถ
A พละ ในที่นี้หมายถึงกำลัง เพราะอรรถว่าอันธรรมอื่นให้หวั่นไหวไม่ได้ กล่าวคืออันธรรมอื่นจะครอบงำ
และย่ำยีได้โดยยาก (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๑/๑๐)
B วิเวก ในที่นี้หมายถึงวิเวก ๕ อย่าง คือ (๑) ตทังควิเวก (๒) วิกขัมภนวิเวก (๓) สมุจเฉทวิเวก (๔) ปัสสัทธิวิเวก
(๕) นิสสรณวิเวก (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒/๑๐)
C ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสหมายถึงพระองค์เองแทนคำว่า “เรา” (อุตตมบุรุษ)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.