20-029 ผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว
พระไตรปิฎก
๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งจิตชั่วลัดนิ้วมือเดียว อีกหมวดหนึ่ง
{๒๐๘}[๓๘๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐมฌานแม้ชั่ว
ลัดนิ้วมือเดียว ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของศาสดา
ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็นต้องพูดถึง
ภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปฐมฌานนั้น (๑)
{๒๐๙}[๓๘๓-๓๘๙] ถ้าภิกษุเจริญทุติยฌานแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว … เจริญตติยฌาน
… เจริญจตุตถฌาน … เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ … เจริญกรุณาเจโตวิมุตติ … เจริญ
มุทิตาเจโตวิมุตติ … เจริญอุเปกขาเจโตวิมุตติ ฯลฯ (๒-๘)
[๓๙๐-๓๙๓] ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ … พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
… พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ … พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย A อยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (๙-๑๒)
[๓๙๔-๓๙๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่ง
มั่น B เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ
สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่
เกิดขึ้นแล้ว (๑๓-๑๖)
[๓๙๘-๔๐๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร C…
เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธานสังขาร … เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ
ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร … เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธาน-
สังขาร … (๑๗-๒๐)
[๔๐๒-๔๐๖] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ … เจริญวีริยินทรีย์ … เจริญสตินทรีย์ …
เจริญสมาธินทรีย์ … เจริญปัญญินทรีย์ … (๒๑-๒๕)
[๔๐๗-๔๑๑] ภิกษุเจริญสัทธาพละ … เจริญวีริยพละ … เจริญสติพละ …
เจริญสมาธิพละ … เจริญปัญญาพละ … (๒๖-๓๐)
[๔๑๒-๔๑๘] ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์ … เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ …
เจริญวีริยสัมโพชฌงค์ … เจริญปีติสัมโพชฌงค์ … เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ …
เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ … เจริญอุเปกขาสัมโพชฌงค์ … (๓๑-๓๗)
[๔๑๙-๔๒๖] ภิกษุเจริญสัมมาทิฏฐิ … เจริญสัมมาสังกัปปะ … เจริญสัมมา-
วาจา … เจริญสัมมากัมมันตะ … เจริญสัมมาอาชีวะ … เจริญสัมมาวายามะ …
เจริญสัมมาสติ … เจริญสัมมาสมาธิ… (๓๘-๔๕)
{๒๑๐}[๔๒๗] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้รูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๖)
{๒๑๑}[๔๒๘] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้รูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๗)
{๒๑๒}[๔๒๙] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดเล็ก มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๘)
{๒๑๓}[๔๓๐] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขนาดใหญ่ มี
สีสันดีหรือไม่ดี เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้
เราเห็น” (๔๙)
{๒๑๔}[๔๓๑] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเขียว มีสีเขียว
เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้
อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๐)
{๒๑๕}[๔๓๒] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเหลือง มีสี
เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความ
จำได้หมายรู้อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๑)
{๒๑๖}[๔๓๓] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกแดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้
อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๒)
{๒๑๗}[๔๓๔] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขาว มีสีขาว
เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีความจำได้หมายรู้
อย่างนี้ว่า “เรารู้ เราเห็น” (๕๓)
[๔๓๕] ภิกษุผู้มีรูปฌานเป็นอารมณ์ย่อมเห็นรูปภายนอกทั้งหลายได้ (๕๔)
{๒๑๘}[๔๓๖] ภิกษุผู้มีความจำได้หมายรู้อรูปภายในย่อมเห็นรูปภายนอกทั้งหลาย
ได้ (๕๕)
[๔๓๗] ภิกษุเป็นผู้น้อมใจไปว่า “งาม” เท่านั้น (๕๖)
{๒๑๙}[๔๓๘] ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน D อยู่โดยกำหนดว่า “อากาศหา
ที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดถึงนานัตตสัญญาโดย
ประการทั้งปวง (๕๗)
{๒๒๐}[๔๓๙] ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌาน E อยู่โดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” (๕๘)
{๒๒๑}[๔๔๐] ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌาน F อยู่โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” (๕๙)
{๒๒๒}[๔๔๑] ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานอยู่ (๖๐)
{๒๒๓}[๔๔๒] ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธ(สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)อยู่ (๖๑)
{๒๒๔}[๔๔๓-๔๕๒] ภิกษุเจริญปฐวีกสิณ … เจริญอาโปกสิณ … เจริญเตโชกสิณ …
เจริญวาโยกสิณ … เจริญนีลกสิณ … เจริญปีตกสิณ … เจริญโลหิตกสิณ … เจริญ
โอทาตกสิณ … เจริญอากาสกสิณ … เจริญวิญญาณกสิณ … (๖๒-๗๑)
[๔๕๓-๔๖๒] ภิกษุเจริญอสุภสัญญา … เจริญมรณสัญญา … เจริญอาหาเร-
ปฏิกูลสัญญา … เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา … เจริญอนิจจสัญญา … เจริญ
อนิจเจทุกขสัญญา … เจริญทุกเขอนัตตสัญญา … เจริญปหานสัญญา … เจริญวิราคสัญญา
… เจริญนิโรธสัญญา… (๗๒-๘๑)
[๔๖๓-๔๗๒] ภิกษุเจริญอนิจจสัญญา … เจริญอนัตตสัญญา … เจริญมรณ-
สัญญา … เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา … เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา … เจริญ
อัฏฐิกสัญญา … เจริญปุฬวกสัญญา … เจริญวินีลกสัญญา … เจริญวิจฉิททกสัญญา …
เจริญอุทธุมาตกสัญญา … ( ๘๒-๙๑)
[๔๗๓-๔๘๒] ภิกษุเจริญพุทธานุสสติ … เจริญธัมมานุสสติ …เจริญสังฆานุสสติ
… เจริญสีลานุสสติ … เจริญจาคานุสสติ … เจริญเทวตานุสสติ … เจริญอานาปานสติ
… เจริญมรณัสสติ … เจริญกายคตาสติ … เจริญอุปสมานุสสติ … (๙๒-๑๐๑)
[๔๘๓-๔๙๒] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยปฐมฌาน … เจริญ
วีริยินทรีย์ … เจริญสตินทรีย์ … เจริญสมาธินทรีย์ … เจริญปัญญินทรีย์ … เจริญ
สัทธาพละ … เจริญวีริยพละ … เจริญสติพละ … เจริญสมาธิพละ … เจริญปัญญาพละ
… (๑๐๒-๑๑๑)
[๔๙๓-๕๖๒] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ที่ประกอบด้วยทุติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบ
ด้วยตติยฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ ที่ประกอบด้วยเมตตา ฯลฯ
ที่ประกอบด้วยกรุณา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยมุทิตา ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอุเบกขา …
เจริญวีริยินทรีย์ … เจริญสตินทรีย์ … เจริญสมาธินทรีย์ … เจริญปัญญินทรีย์ …
เจริญสัทธาพละ … เจริญวีริยพละ … เจริญสติพละ … เจริญสมาธิพละ … เจริญ
ปัญญาพละ … ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอน
ของศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็น
ต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปัญญาพละที่ประกอบด้วยอุเบกขา (๑๑๒-๑๘๑)
อปรอัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๑๘ จบ
เชิงอรรถ
A ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖
โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๐/๔๔๐)
B สร้างฉันทะ หมายถึงสร้างความพอใจใคร่จะทำกุศล พยายาม หมายถึงทำความเพียรบากบั่น ปรารภ
ความเพียร หมายถึงบำเพ็ญเพียรทั้งทางกายและทางใจ ประคองจิต หมายถึงยกจิตขึ้นพร้อมๆ กับ
ความเพียรทางกายและจิต มุ่งมั่น หมายถึงทำความเพียรเป็นหลักใหญ่ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๔/๔๔๐)
ได้แก่ สัมมัปปธาน ๔ ประการ ดู องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๙/๘๔-๘๕
C ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) คำว่า
ฉันทสมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะและความเพียรที่มุ่งมั่น วีริยสมาธิ จิตตสมาธิ
และ วีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน ในสูตรนี้ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ (องฺ.เอกก.อ. ๑/
๓๙๘/๔๔๕)
D อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศคือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้น
ที่ ๑ ของอรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)
E วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ ของ
อรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)
F อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร(ความว่าง)เป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียกอีก
อย่างหนึ่งว่า สัญญัคคะ(ที่สุดแห่งสัญญา)เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญากล่าวคือผู้บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ขั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญานิโรธบ้าง
(ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต