20-027 ธรรมอันเป็นเอก หมวดที่ 4



พระไตรปิฎก


๑๖. เอกธัมมบาลี
๔. จตุตถวรรค หมวดที่ ๔

[๓๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในชมพูทวีปนี้ สวนอันน่า
รื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์มี
จำนวนน้อยนัก ส่วนสถานที่ที่เป็นที่ดอน ที่ลุ่ม ที่มีน้ำหลาก ที่มีตอไม้และหนาม
ที่มีภูเขาสูงชันลาดต่ำมีจำนวนมากกว่า แม้ฉันใด สัตว์ที่เกิดบนบกมีจำนวนน้อย
ส่วนสัตว์ที่เกิดในน้ำมีจำนวนมากกว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล (๑)
{๒๐๕}[๓๒๓] สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไปเกิดใน
กำเนิดอื่น A นอกจากมนุษย์มีจำนวนมากกว่า สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบทมี
จำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท ในหมู่ชาวมิลักขะผู้โง่เขลามี
จำนวนมากกว่า (๒)
[๓๒๔] สัตว์ที่มีปัญญา B ไม่โง่เขลา ไม่เป็นเหมือนคนหนวก คนใบ้ สามารถรู้
เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่มีปัญญา โง่
เขลา เป็นเหมือนคนหนวก คนใบ้ ไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิต
ได้มีจำนวนมากกว่า (๓)
[๓๒๕] สัตว์ที่ประกอบด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่ตกอยู่ในอวิชชา ลุ่มหลงมีจำนวนมากกว่า (๔)
[๓๒๖] สัตว์ที่ได้เห็นตถาคต C มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่ได้เห็นตถาคตมี
จำนวนมากกว่า (๕)
[๓๒๗] สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่
ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้มีจำนวนมากกว่า (๖)
[๓๒๘] สัตว์ที่ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ฟังธรรมแล้ว
ทรงจำไว้ไม่ได้มีจำนวนมากกว่า (๗)
[๓๒๙] สัตว์ที่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้มีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้มีจำนวนมากกว่า (๘)
[๓๓๐] สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมมี
จำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม แต่ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
มีจำนวนมากกว่า (๙)
[๓๓๑] สัตว์ที่สลดใจในเหตุอันควรสลดใจมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่สลดใจ
ในเหตุอันควรสลดใจมีจำนวนมากกว่า (๑๐)
[๓๓๒] สัตว์ที่สลดใจ ทำความเพียรโดยแยบคายมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่
สลดใจ ไม่ทำความเพียรโดยแยบคายมีจำนวนมากกว่า (๑๑)
[๓๓๓] สัตว์ที่ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ D ได้เอกัคคตาจิต(จิตมี
อารมณ์เป็นหนึ่ง)มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วไม่ได้สมาธิ
ไม่ได้เอกัคคตาจิตมีจำนวนมากกว่า (๑๒)
[๓๓๔] สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศมีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอัน
เลิศและรสอันเลิศยังชีพด้วยการแสวงหาด้วยภัตที่ใส่กระเบื้องมามีจำนวนมากกว่า (๑๓)
[๓๓๕] สัตว์ที่ได้อรรถรส E ธรรมรส F และวิมุตติรส G มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส และวิมุตติรสมีจำนวนมากกว่า เพราะเหตุนั้นแล เธอ
ทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส ธรรมรส และวิมุตติรส”
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล (๑๔)
[๓๓๖-๓๓๘] ในชมพูทวีปนี้ สวนอันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศ
อันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์มีจำนวนน้อยนัก ส่วนสถานที่ที่เป็นที่ดอน
ที่ลุ่ม ที่มีน้ำหลาก ที่มีตอไม้และหนาม ที่มีภูเขาสูงชันลาดต่ำมีจำนวนมากกว่า แม้ฉันใด
{๒๐๖} สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย
ส่วนสัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย
(แดนเปรต)มีจำนวนมากกว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล (๑๕-๑๗)
[๓๓๙-๓๔๑] สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย
มีจำนวนมากกว่า (๑๘-๒๐)
[๓๔๒-๓๔๔] สัตว์ที่จุติจากเทวดากลับมาเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดใน
เปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๒๑-๒๓)
[๓๔๕-๓๔๗] สัตว์ที่จุติจากเทวดามาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์
ที่จุติจากเทวดาไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัย
มีจำนวนมากกว่า (๒๔-๒๖)
[๓๔๘-๓๕๐] สัตว์ที่จุติจากนรกมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่
จุติจากนรกไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมี
จำนวนมากกว่า (๒๗-๒๙)
[๓๕๑-๓๕๓] สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วนสัตว์ที่
จุติจากนรกไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมี
จำนวนมากกว่า (๓๐-๓๒)
[๓๕๔-๓๕๖] สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานมาเกิดในหมู่มนุษย์ มีจำนวนน้อย
ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๓-๓๕)
[๓๕๗-๓๕๙] สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวน
น้อย ส่วนสัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๖-๓๘)
[๓๖๐-๓๖๒] สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยมาเกิดในหมู่มนุษย์มีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิดใน
เปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๓๙-๔๑)
[๓๖๓-๓๖๕] สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในหมู่เทวดามีจำนวนน้อย ส่วน
สัตว์ที่จุติจากเปรตวิสัยไปเกิดในนรก ฯลฯ เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ฯลฯ เกิด
ในเปรตวิสัยมีจำนวนมากกว่า (๔๒-๔๔)
จตุตถวรรค จบ
(ชัมพุทีปเปยยาล๑ จบ)
เชิงอรรถ
A กำเนิดอื่น ในที่นี้หมายถึงอบาย ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต
และอสูรกาย (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๒๓/๔๓๓)
B มีปัญญา ในที่นี้หมายถึงมีปัญญา ๕ ประการ คือ (๑) กัมมัสสกตปัญญา (๒) ฌานปัญญา (๓)
วิปัสสนาปัญญา (๔) มัคคปัญญา (๕) ผลปัญญา (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๒๔/๔๓๔)
C สัตว์ที่ได้เห็นตถาคต ในที่นี้หมายถึงรู้คุณของพระตถาคต ได้เห็นตถาคตด้วยจักขุวิญญาณ
(องฺ.เอกก.อ.๑/๓๒๖/๔๓๔)
D สมาธิ ในที่นี้หมายถึงมรรคสมาธิและผลสมาธิ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๓/๔๓๕)
E อรรถรส หมายถึงสามัญญผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)
F ธรรมรส หมายถึงมรรค ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค (องฺ.
เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)
G วิมุตติรส หมายถึงอมตนิพพาน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.