20-015 เอตทัคควรรค หมวดที่ 2



พระไตรปิฎก


๑๔. เอตทัคควรรค
๒. ทุติยวรรค หมวดที่ ๒

{๑๔๗}[๑๙๘] จูฬปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้สามารถเนรมิตกาย
มโนมัย A (๑)
[๑๙๙] จูฬปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏ B (๒)
[๒๐๐] มหาปันถกเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ฉลาดในสัญญา-
วิวัฏ C (๓)
[๒๐๑] สุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่มี
กิเลส (๔)
[๒๐๒] สุภูติเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล (๕)
[๒๐๓] เรวตขทิรวนิยะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร (๖)
[๒๐๔] กังขาเรวตะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ยินดีในฌาน (๗)
[๒๐๕] โสณโกฬิวิสะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้ปรารภความ
เพียร (๘)
[๒๐๖] โสณกุฏิกัณณะเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวถ้อยคำ
ไพเราะ E (๙)
[๒๐๗] สีวลีเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้มีลาภ (๑๐)
[๒๐๘] วักกลิเลิศกว่าภิกษุสาวกทั้งหลายของเรา ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา (๑๑)
ทุติยวรรค จบ
เชิงอรรถ
A เนรมิตกายมโนมัย หมายถึงเนรมิตกายที่เกิดขึ้นด้วยใจ เช่น ตามปกติภิกษุอื่นหลายรูปเนรมิตให้กายเกิด
ขึ้นมีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน ทำงานอย่างเดียวกันได้เพียง ๓ หรือ ๔ รูป ไม่มาก ส่วนท่านพระจูฬปันถก
เนรมิตกายให้เป็นสมณะตั้ง ๑,๐๐๐ รูป โดยการนึกเพียงครั้งเดียว ทั้งยังสามารถทำให้กายที่เนรมิตนั้นมี
รูปร่างต่างกัน ทำการงานต่างกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงเลิศกว่าภิกษุผู้เนรมิตกายมโนมัยทั้งหลาย (องฺ.เอกก.
อ. ๑/๑๙๘/๑๘๙)
B ฉลาดในเจโตวิวัฏ หมายถึงฉลาดในการปรับเปลี่ยนใจ คือได้รูปาวจรฌาน ๔ (ปฐมฌาน ทุติยฌาน
ตติยฌาน และจตุตถฌาน) เพราะความฉลาดในสมาบัติ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๙๙/๑๘๙)
C ฉลาดในสัญญาวิวัฏ หมายถึงฉลาดในการปรับเปลี่ยนสัญญา คือได้อรูปาวจรฌาน ๔ (อากาสานัญจา-
ยตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน) (องฺ.เอกก.
๑/๒๐๐/๑๘๙)
E กล่าวถ้อยคำไพเราะ ในที่นี้หมายถึงแสดงธรรมกถาด้วยเสียงอันไพเราะ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๐๖/๒๑๒)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.