15-265 การนอบน้อมของท้าวสักกะ สูตรที่ 2
พระไตรปิฎก
๙. ทุติยสักกนมัสสนสูตร
ว่าด้วยการนอบน้อมของท้าวสักกะ สูตรที่ ๒
[๙๓๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับมาตลีสังคาหก-
เทพบุตรว่า ‘สหายมาตลี ท่านจงจัดเตรียมรถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว
เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม’
มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสแล้ว จัดเตรียมรถม้าซึ่งเทียมด้วย
ม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เสร็จแล้วกราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ‘ข้าแต่พระองค์
ผู้นิรทุกข์ รถซึ่งเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว สำหรับพระองค์ จัดเตรียมไว้
เสร็จแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด’
ได้ทราบว่า ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันต์ปราสาท
ทรงประนมมือนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอยู่
[๙๓๔] ครั้งนั้น มาตลีสังคาหกเทพบุตรได้ทูล ถามท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า
ข้าแต่ท้าววาสวะ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมนอบน้อมพระองค์เท่านั้น ข้าแต่ท้าวสักกะ
เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด
ท่านผู้ควรบูชาคนนั้น คือใครเล่า
[๙๓๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
มาตลี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด
ในโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก
เรานอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้เป็นศาสดา ผู้มีพระนามไม่ต่ำต้อย
มาตลี บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ
และอวิชชาได้แล้ว บุคคลเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว
เป็นพระอรหันต์ เรานอบน้อมบุคคลเหล่านั้น
มาตลี บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ
ก้าวล่วงอวิชชาได้ แต่ยังเป็นพระเสขะอยู่
ยินดีในธรรมอันเป็นเครื่องปราศจากการสั่งสม
เป็นผู้ไม่ประมาท ตามศึกษาอยู่
เรานอบน้อมบุคคลเหล่านั้น
[๙๓๖] มาตลีสังคาหกเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่า
พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก
ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด
แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้นเหมือนกัน
[๙๓๗] ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็นประมุข
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงนอบน้อมพระผู้มีพระภาค
เสด็จขึ้นราชรถกลับไป”
ทุติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๙ จบ
บาลี
ทุติยสกฺกนมสฺสนสุตฺต
[๙๓๓] สาวตฺถีนิทาน ฯ ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท
มาตลึ สงฺคาหก อามนฺเตสิ โยเชหิ สมฺม มาตลิ สหสฺสยุตฺต
อาชฺรถ อุยฺยานภูมึ คจฺฉาม สุภูมึ ทสฺสนายาติ ฯ เอว
ภทฺทนฺตวาติ โข ภิกฺขเว มาตลิ สงฺคาหโก สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส
ปฏิสฺสุตฺวา สหสฺสยุตฺต อาชฺรถ โยเชตฺวา สกฺกสฺส
เทวานมินฺทสฺส ปฏิเวเทสิ ยุตฺโต โข เต มาริส สหสฺสยุตฺโต
อาชฺรโถ ยสฺสทานิ กาล มฺสีติ ฯ อถ โข ภิกฺขเว
สกฺโก เทวานมินฺโท เวชยนฺตปาสาทา โอโรหนฺโต อฺชลึ กตฺวา
สุท ภควนฺต นมสฺสติ ฯ
[๙๓๔] อถ โข ภิกฺขเว มาตลิ สงฺคาหโก สกฺก เทวานมินฺท
คาถาย อชฺฌภาสิ
ย หิ เทวา มนุสฺสา จ ต นมสฺสนฺติ วาสว
อถ โก นาม โส ยกฺโข ย ตฺว สกฺก นมสฺสสีติ ฯ
[๙๓๕] โย อิธ สมฺมาสมฺพุทฺโธ อสฺมึ โลเก สเทวเก
อโนมนาม สตฺถาร ต นมสฺสามิ มาตลิ
เยส ราโค จ โทโส จ อวิชฺชา จ วิราชิตา
ขีณาสวา อรหนฺโต เต นมสฺสามิ มาตลิ
เย ราคโทสวินยา อวิชฺชาสมติกฺกมา
เสกฺขา อปจยารามา อปฺปมตฺตานุสิกฺขเร
…………… เต นมสฺสามิ มาตลีติ ฯ
[๙๓๖] เสฏฺา หิ กิร โลกสฺมึ เย ตฺว สกฺก นมสฺสสิ
อหมฺปิ เต นมสฺสามิ เย นมสฺสสิ วาสวาติ ฯ
[๙๓๗] อิท วตฺวาน มฆวา เทวราชา สุชมฺปติ
ภควนฺต นมสฺสิตฺวา ปมุโข รถมารุหีติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาทุติยสักกนมัสสนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๙ ต่อไปนี้ :-
บทว่า ภควนฺตํ นมสฺสติ ความว่า ท้าวสักกะ พาดผ้าสองชั้น
เฉวียงบ่านั่งคุกเข่าแบบพรหม ประณมมือเหนือพระเศียร. บทว่า โส ยกฺโข
ได้แก่ สัตว์นั้น. บทว่า อโนมนามํ ได้แก่ มีพระนามไม่ทรามด้วย
พระนามอันเป็นนิมิตแห่งคุณ เพราะไม่มีความทรามด้วยคุณทั้งปวง. บทว่า
อวิชฺชาสมติกฺกมา ได้แก่ ก้าวล่วงอวิชชาอันมีวัฏฏะเป็นมูล อันปกปิด
อริยสัจ เป็นต้น. บทว่า เสกฺขา ได้แก่ พระเสกขะ ๗ จำพวก. บทว่า
อปจฺจยารามา คือยินดีในการกำจัดวัฏฏะ. บทว่า สิกฺขเร แปลว่า ย่อม
ศึกษา.
จบอรรถกถาทุติยสักกนมัสสนสูตรที่ ๙