15-259 เทพ สูตรที่ 3



พระไตรปิฎก


๓. ตติยเทวสูตร
ว่าด้วยเทพ สูตรที่ ๓
[๙๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีนามว่ามหาลี เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท้าวสักกะจอมเทพหรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาลี ตถาคตเห็นท้าวสักกะจอมเทพ”
เจ้ามหาลีได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ผู้ที่พระองค์ทรงเห็นนั้น
คงเป็นรูปจำลองของท้าวสักกะเป็นแน่ เพราะว่าท้าวสักกะจอมเทพยากที่ใคร ๆ จะ
เห็นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
[๙๑๓] “มหาลี ตถาคตรู้จักท้าวสักกะด้วย รู้ธรรมที่ทำให้เป็นท้าวสักกะด้วย ทั้งยังรู้
ถึงธรรมที่ท้าวสักกะสมาทานแล้วได้เป็นท้าวสักกะด้วย
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมาณพ
ชื่อมฆะ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวมฆวาน’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทาน
มาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวปุรินททะ’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทาน
โดยเคารพ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสักกะ’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ที่พัก
อาศัย เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าววาสวะ’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงคิดเนื้อความตั้งพันได้โดยครู่เดียว เพราะเหตุนั้น
จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสหัสนัยน์’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงมีนางอสุรกัญญานามว่าสุชา เป็นปชาบดี
เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสุชัมบดี’
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความ
เป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวเทวานมินทะ’
[๙๑๔] มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทาน
วัตตบท ๗ ประการนี้อย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ จึงได้เป็น
ท้าวสักกะ วัตตบท ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราพึงเลี้ยงมารดาและบิดาตลอดชีวิต
๒. เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
๓. เราพึงพูดจาแต่คำอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔. เราไม่พึงพูดคำส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่ที่เป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีการ
บริจาคเป็นประจำ มีมือชุ่มเป็นนิตย์ ยินดีในการเสียสละ ควรที่ผู้
อื่นจะขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต
๖. เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต
๗. เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราก็จะ
กำจัดโดยฉับพลันทันที
มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทาน
วัตตบท ๗ ประการนี้ครบบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ จึงได้เป็น
ท้าวสักกะ”
[๙๑๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เทพชั้นดาวดึงส์กล่าวถึงนรชนผู้เลี้ยงมารดาและบิดา
มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
เจรจาแต่คำอ่อนหวาน สมานมิตร ละคำส่อเสียด
ประกอบในอุบายกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์
ครอบงำความโกรธได้นั้นแลว่า เป็นสัตบุรุษ
ตติยเทวสูตรที่ ๓ จบ

บาลี



ตติยเทวสุตฺต
[๙๑๒] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา เวสาลิย วิหรติ
มหาวเน กูฏาคารสาลาย ฯ อถ โข มหลี ๑ ลิจฺฉวี เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ
เอกมนฺต นิสินฺโน โข มหลี ลิจฺฉวี ภควนฺต เอตทโวจ ทิฏฺโ โว ๒
ภนฺเต ๓ สกฺโก เทวานมินฺโทติ ฯ ทิฏฺโ โข เม มหลิ สกฺโก
เทวานมินฺโทติ ฯ โส หิ นูน ภนฺเต สกฺกปฏิรูปโก ภวิสฺสติ ทุทฺทโส
หิ ภนฺเต สกฺโก เทวานมินฺโทติ ฯ
[๙๑๓] สกฺกฺจาห มหลิ ปชานามิ สกฺกกรเณ จ ธมฺเม
เยสฺจ ธมฺมาน สมาทินฺนตฺตา สกฺโก สกฺกตฺต อชฺฌคา ตฺจ
ปชานามิ ฯ สกฺโก มหลิ เทวานมินฺโท ปุพฺเพ มนุสฺสภูโต สมาโน
มโฆ นาม มาณโว อโหสิ ตสฺมา มฆวาติ วุจฺจติ ฯ สกฺโก
มหลิ เทวานมินฺโท ปุพฺเพ มนุสฺสภูโต สมาโน ปุเร ทาน อทาสิ
ตสฺมา ปุรินฺทโทติ วุจฺจติ ฯ สกฺโก มหลิ เทวานมินฺโท ปุพฺเพ
มนุสฺสภูโต สมาโน สกฺกจฺจ ทาน อทาสิ ตสฺมา สกฺโกติ
วุจฺจติ ฯ สกฺโก มหลิ เทวานมินฺโท ปุพฺเพ มนุสฺสภูโต สมาโน
อาวสถ อทาสิ ตสฺมา วาสโวติ วุจฺจติ ฯ สกฺโก มหลิ
เทวานมินฺโท สหสฺสมฺปิ อตฺถาน มุหุตฺเตน จินฺเตติ ตสฺมา
สหสฺสกฺโขติ วุจฺจติ ฯ สกฺกสฺส มหลิ เทวานมินฺทสฺส สุชา นาม
อสุรกฺา ปชาปตี ตสฺมา สุชมฺปตีติ วุจฺจติ ฯ สกฺโก มหลิ
เทวานมินฺโท เทวาน ตาวตึสาน อิสฺสริยาธิปจฺจ รชฺช กาเรติ ๔
ตสฺมา เทวานมินฺโทติ วุจฺจติ ฯ
[๙๑๔] สกฺกสฺส มหลิ เทวานมินฺทสฺส ปุพฺเพ มนุสฺสภูตสฺส
สตฺต วตฺตปทานิ สมตฺตานิ สมาทินฺนานิ อเหสุ เยส สมาทินฺนตฺตา
สกฺโก สกฺกตฺต อชฺฌคา ฯ กตมานิ สตฺต ฯ ยาวชีว มาตาเปตฺติภโร
อสฺส ยาวชีว กุเล เชฏฺาปจายี อสฺส ยาวชีว สณฺหวาโจ อสฺส
ยาวชีว อปิสุณวาโจ อสฺส ยาวชีว วิคตมลมจฺเฉเรน เจตสา
อคาร อชฺฌาวเสยฺย มุตฺตจาโค ปยตปาณี โวสฺสคฺครโต ยาจโยโค
ทานสวิภาครโต ยาวชีว สจฺจวาโจ อสฺส ยาวชีว อกฺโกธโน
อสฺส สเจปิ เม โกโธ อุปฺปชฺเชยฺย ขิปฺปเมว น ปฏิวิเนยฺยนฺติ ฯ
สกฺกสฺส มหลิ เทวานมินฺทสฺส ปุพฺเพ มนุสฺสภูตสฺส อิมานิ สตฺต
วตฺตปทานิ สมตฺตานิ สมาทินฺนานิ อเหสุ เยส สมาทินฺนตฺตา
สกฺโก สกฺกตฺต อชฺฌคาติ ฯ
[๙๑๕] อิทมโวจ ฯเปฯ
มาตาเปตฺติภร ชนฺตุ กุเล เชฏฺาปจายิน
สณฺห สขิลสมฺภาส เปสุเณยฺยปฺปหายิน
มจฺเฉรวินเย ยุตฺต สจฺจ โกธาภิภุ นร
ต เว เทวา ตาวตึสา อาหุ สปฺปุริโส อิตีติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. สพฺพตฺถ มหาลี ฯ
๒ ม. โข ฯ ๓ สี. ยุ. ทิฏฺโ โน ภนฺเต ภควตา ฯ ๔ ยุ. กาเรสิ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาตติยเทวสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในตติยเทวสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า เจ้ามหาลีลิจฉวีคิดว่า ชนทั้งหลายพูด
กันว่า ท้าวสักกเทวราช เราจักทูลถามความนี้กะพระทศพลว่า ท้าวสักกะมีอยู่
หรือหนอ ผู้ใดเคยเห็นท้าวสักกะนั้นดังนี้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า ตญฺจ ปชานามิ เป็นเอกพจน์ลงในพหุพจน์. อธิบายว่า เรารู้ธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้นด้วย. ได้ยินว่า ท้าวสักกะได้เป็นมาณพชื่อว่ามฆะ ในบ้าน
อจลคามแคว้นมคธในอัตภาพก่อน เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด. มฆมาณพนั้น
ได้มีจริยาเหมือนจริยาของพระโพธิสัตว์ เขาพาคน ๓๓ คนไปทำกรรมดี.
วันหนึ่ง เขาใคร่ครวญด้วยปัญญาของตน ขนหยากเยื่อออกทั้งสองข้าง ในที่
ที่มหาชนประชุมกันท่ามกลางบ้าน แล้วได้ทำที่นั้นให้เป็นที่น่ารื่นรมย์. เขา
สร้างมณฑป ณ ที่นั้นอีก. เมื่อกาลล่วงไป เขาได้สร้างศาลาอีก. อนึ่ง เขาออก
จากบ้านเที่ยวไป คาวุตหนึ่ง กึ่งโยชน์ สามคาวุตบ้าง โยชน์หนึ่งบ้าง ได้ทำ
ที่ไม่เรียบให้เรียบกับสหายเหล่านั้น.
สหายทั้งหมดเหล่านั้น ร่วมใจกันสร้างสะพานในที่ที่ควรมีสะพาน
ในที่นั้น ๆ สร้างมณฑปเป็นต้นในที่ที่ควรแก่มณฑป ศาลา สระโบกขรณี
สวนดอกไม้เป็นต้น ได้กระทำบุญมาก. มฆะบำเพ็ญวัตรบทเจ็ด ครั้นถึง
แก่กรรมได้ไปเกิดบนภพดาวดึงส์กับพวกสหาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบ
เหตุทั้งปวงนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ท้าวสักกะได้ถึงความเป็น
ท้าวสักกะ เพราะถือธรรมเหล่าใด เรารู้ธรรมเหล่านั้นด้วย. นี้เป็นสังเขปกถา
ในการถึงความเป็นท้าวสักกะของท้าวสักกะ. ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้
แล้ว ในสักกปัญหาวรรณนา อรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี.
จบอรรถกถาตติยเทวสูตรที่ ๓

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!