15-251 การแข่งขันสุภาษิต



พระไตรปิฎก


๕. สุภาสิตชยสูตร
ว่าด้วยการแข่งขันคำสุภาษิต
[๘๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ
[๘๗๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า ‘ท่านจอมเทพ
เราจงมาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด’ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ‘ท่านท้าว-
เวปจิตติ ตกลงตามนั้น พวกเรามาเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิต’ ครั้งนั้น
พวกเทพและพวกอสูรได้ร่วมกันตั้งผู้ตัดสินโดยมีกติกาว่า ‘ผู้ตัดสินเหล่านี้จะต้องรู้
ทั่วถึงคำสุภาษิต และคำทุพภาษิต’
ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
‘ท่านจอมเทพ ท่านจงตรัสคาถาขึ้นก่อน’ เมื่อท้าวเวปจิตติกล่าวเช่นนี้ ท้าวสักกะ
จอมเทพได้ตรัสกับท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า ‘ท่านท้าวเวปจิตติ ท่านเป็นเทพใน
เทวโลกนี้มาก่อน ฉะนั้น ขอให้ท่านจงกล่าวคาถาก่อน
[๘๗๙] เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวคาถานี้ว่า
พวกคนพาลพึงทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ถ้าเราไม่กีดกันไว้เสียก่อน
เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงกีดกันพวกคนพาลไว้
ด้วยอาชญาอย่างรุนแรง
เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวคาถานี้แล้ว พวกอสูรพากันอนุโมทนา
พวกเทพต่างก็พากันนิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะ
จอมเทพว่า ‘ท่านจอมเทพ ท่านจงกล่าวคาถาเถิด’
[๘๘๐] เมื่อท้าวเวปจิตติกล่าวเช่นนี้แล้ว
ท้าวสักกะจอมเทพได้กล่าวคาถานี้ว่า
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
เราเห็นว่า การสงบใจไว้ได้ของผู้นั้น
เป็นการกีดกันพวกคนพาลไว้ได้
เมื่อท้าวสักกะจอมเทพได้กล่าวคาถานี้แล้ว พวกเทพก็พากันอนุโมทนา พวกอสูร
ก็พากันนิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับท้าวเวปจิตติจอมอสูรดังนี้ว่า
‘ท้าวเวปจิตติ ท่านจงกล่าวคาถาต่อไปเถิด’
[๘๘๑] เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้ ท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรได้กล่าวคาถานี้ว่า
ท่านท้าววาสวะ ข้าพเจ้าเห็นคุณ
และโทษในความอดกลั้นนี้ว่า
เมื่อใด คนพาลเข้าใจบุคคลนั้นว่า
ผู้นี้ย่อมอดกลั้นต่อเราเพราะความกลัว
เมื่อนั้น คนมีปัญญาทรามก็ยิ่งข่มขี่ผู้นั้น
เหมือนโคตัวที่มีกำลังข่มขี่โคตัวที่แพ้ให้หนีไป ฉะนั้น
เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรกล่าวคาถานี้แล้ว พวกอสูรพากันอนุโมทนา พวกเทพ
ต่างก็นิ่งเฉย ลำดับนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพดังนี้ว่า
‘ท่านจอมเทพ ท่านจงกล่าวคาถาต่อไปเถิด’
[๘๘๒] เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรกล่าวเช่นนี้
ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า
บุคคลจะเข้าใจว่าผู้นี้อดกลั้นต่อเราได้
เพราะความกลัวหรือไม่ก็ตามที
ประโยชน์ทั้งหลายของตนเป็นอย่างยิ่ง
ประโยชน์ที่ยิ่งกว่าขันติไม่มี
บุคคลใดเป็นคนแข็งแรง
อดกลั้นต่อผู้อ่อนแรงกว่าได้
ความอดกลั้นของบุคคลนั้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง
เพราะว่าบุคคลผู้แข็งแรงจำต้องอดทนอยู่เอง
กำลังของบุคคลใดไม่เข้มแข็ง
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกำลังของบุคคลนั้นว่า ไม่ใช่กำลัง
เพราะว่าไม่มีบุคคลใดกล่าวโต้ตอบบุคคลผู้มีกำลัง
และมีธรรมคุ้มครองแล้ว
ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถาเหล่านี้แล้ว พวกเทพพากัน
อนุโมทนา พวกอสูรต่างก็นิ่งเฉย
[๘๘๓] ครั้งนั้น ผู้ตัดสินทั้งของพวกเทพและพวกอสูรได้
กล่าวดังนี้ว่า ‘ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสคาถาทั้งหลายแล้ว แต่คาถาเหล่านั้นมีความ
เกี่ยวข้องกับอาชญา มีความเกี่ยวข้องกับศัสตรา เพราะเหตุนั้น จึงยังมีความ
ทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท ส่วนท้าวสักกะจอมเทพตรัสคาถาทั้งหลายแล้ว
คาถาเหล่านั้นก็ไม่เกี่ยวข้องกับอาชญา ไม่เกี่ยวข้องกับศัสตรา เพราะเหตุนั้น จึงไม่มี
ความทะเลาะ ไม่มีความแก่งแย่ง ไม่มีความวิวาท ท้าวสักกะจอมเทพชนะเพราะได้
กล่าวคำสุภาษิต ชัยชนะด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ได้เป็นของท้าวสักกะจอมเทพ
ด้วยประการฉะนี้”
สุภาสิตชยสูตรที่ ๕ จบ

บาลี



สุภาสิตชยสุตฺต
[๘๗๗] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน
อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ ตตฺร โข ฯเปฯ
[๘๗๘] ภควา เอตทโวจ ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว เทวาสุรสงฺคาโม
สมุปพฺยูโฬฺห อโหสิ ฯ อถ โข ภิกฺขเว เวปจิตฺติ อสุรินฺโท
สกฺก เทวานมินฺท เอตทโวจ โหตุ เทวานมินฺท สุภาสิเตน ชโยติ ฯ
โหตุ เวปจิตฺติ สุภาสิเตน ชโยติ ฯ อถ โข ภิกฺขเว เทวา จ
อสุรา จ ปาริสชฺเช เปสุ อิเม โน สุภาสิต ทุพฺภาสิต
อาชานิสฺสนฺตีติ ฯ อถ โข ภิกฺขเว เวปจิตฺติ อสุรินฺโท สกฺก เทวานมินฺท
เอตทโวจ ภณ เทวานมินฺท คาถนฺติ ฯ เอว วุตฺเต ภิกฺขเว
สกฺโก เทวานมินฺโท เวปจิตฺตึ อสุรินฺท เอตทโวจ ตุเมฺห เขฺวตฺถ
เวปจิตฺติ ปุพฺพเทวา ภณ เวปจิตฺติ คาถนฺติ ฯ
[๘๗๙] เอว วุตฺเต ภิกฺขเว เวปจิตฺติ อสุรินฺโท อิม คาถ อภาสิ
ภิยฺโย พาลา ปกุชฺเฌยฺยุ โน จสฺส ปฏิเสธโก
ตสฺมา ภุเสน ทณฺเฑน ธีโร พาล นิเสธเยติ ฯ
ภาสิตาย โข ปน ภิกฺขเว เวปจิตฺตินา อสุรินฺเทน คาถาย อสุรา
อนุโมทึสุ เทวา ตุณฺหี อเหสุ ฯ อถ โข ภิกฺขเว เวปจิตฺติ
อสุรินฺโท สกฺก เทวานมินฺท เอตทโวจ ภณ เทวานมินฺท คาถนฺติ ฯ
[๘๘๐] เอว วุตฺเต ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท อิม คาถ
อภาสิ
เอตเทว อห มฺเ พาลสฺส ปฏิเสธน
ปร สงฺกุปิต ตฺวา โย สโต อุปสมฺมตีติ ฯฉ
ภาสิตาย โข ปน ภิกฺขเว สกฺเกน เทวานมินฺเทน คาถาย เทวา
อนุโมทึสุ อสุรา ตุณฺหี อเหสุ ฯ อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก
เทวานมินฺโท เวปจิตฺตึ อสุรินฺท เอตทโวจ ภณ เวปจิตฺติ คาถนฺติ ฯ
[๘๘๑] เอว วุตฺเต ภิกฺขเว เวปจิตฺติ อสุรินฺโท อิม คาถ อภาสิ
เอตเทว ติติกฺขาย วชฺช ปสฺสามิ วาสว
ยทา น มฺติ พาโล ภยา มฺยาย ติติกฺขติ
อชฺฌารูหติ ทุมฺเมโธ โคว ภิยฺโย ปลายินนฺติ ฯ
ภาสิตาย โข ปน ภิกฺขเว เวปจิตฺตินา อสุรินฺเทน คาถาย อสุรา
อนุโมทึสุ เทวา ตุณฺหี อเหสุ ฯ อถ โข ภิกฺขเว เวปจิตฺติ
อสุรินฺโท สกฺก เทวานมินฺท เอตทโวจ ภณ เทวานมินฺท คาถนฺติ ฯ
[๘๘๒] เอว วุตฺเต ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท อิมา คาถาโย
อภาสิ
กาม มฺตุ วา มา วา ภยา มฺยาย ติติกฺขติ
สทตฺถปรมา อตฺถา ขนฺตฺยา ภิยฺโย น วิชฺชติ
โย หเว พลวา สนฺโต ทุพฺพลสฺส ติติกฺขติ
ตมาหุ ปรม ขนฺตึ นิจฺจ ขมติ ทุพฺพโล
อพลนฺต พล อาหุ ยสฺส พาลพล พล
พลวสฺส ธมฺมคุตฺตสฺส ปฏิวตฺตา น วิชฺชติ
ตสฺเสว เตน ปาปิโย โย กุทฺธ ปฏิกุชฺฌติ
กุทฺธ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต สงฺคาม เชติ ทุชฺชย
อุภินฺนมตฺถ จรติ อตฺตโน จ ปรสฺส จ
ปร สงฺกุปิต ตฺวา โย สโต อุปสมฺมติ
อุภินฺน ติกิจฺฉนฺตาน อตฺตโน จ ปรสฺส จ
ชนา มฺนฺติ พาโลติ เย ธมฺมสฺส อโกวิทาติ ฯ
ภาสิตาสุ โข ปน ภิกฺขเว สกฺเกน เทวานมินฺเทน คาถาสุ เทวา
อนุโมทึสุ อสุรา ตุณฺหี อเหสุ ฯ
[๘๘๓] อถ โข ภิกฺขเว เทวานฺจ อสุรานฺจ ปาริสชฺชา
เอตทโวจุ ภาสิตา โข เวปจิตฺตินา อสุรินฺเทน คาถาโย ตา จ
โข สทณฺฑาวจรา สสตฺถาวจรา อิติ ภณฺฑน อิติ วิคฺคโห อิติ
กลโห ภาสิตา โข สกฺเกน เทวานมินฺเทน คาถาโย ตา จ
โข อทณฺฑาวจรา อสตฺถาวจรา อิติ อภณฺฑน อิติ อวิคฺคโห อิติ
อกลโห สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส สุภาสิเตน ชโยติ ฯ อิติ โข
ภิกฺขเว สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส สุภาสิเตน ชโย อโหสิ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาสุภาสิตชยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุภาสิตชยสูตรที่ ๕ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อสุรินฺทํ เอตทโวจ ความว่า ได้กล่าวคำนี้ ด้วยความเป็น
ผู้ฉลาด. ได้ยินว่า จอมอสูรนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า การกล่าวแก้การถือของผู้
อื่นก่อน เป็นการหนัก แต่การกล่าวคล้อยตามคำของผู้อื่นในภายหลัง สบาย.
บทว่า ปุพฺพเทวา ความว่า ผู้อยู่มานานในเทวโลก ย่อมเป็นเจ้าของก่อน.
อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวคำที่มาตามประเพณีของท่านก่อน. บทว่า
อทณฺฑาวจรา ความว่า เว้นจากการถือตะบอง. อธิบายว่า ไม่มี เช่นใน
คำนี้ว่า พึงถือตะบองหรือมีด.
จบอรรถกถาสุภาสิตชยสูตรที่ ๕.

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!