15-234 ดอกบัว
พระไตรปิฎก
๑๔. ปทุมปุปผสูตร
ว่าด้วยดอกบัว
[๗๙๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น
ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ลงสู่สระโบกขรณี
สูดดมกลิ่นดอกบัว
[๗๙๖] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดี
ต่อภิกษุนั้น ประสงค์จะให้ภิกษุนั้นสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าว
กับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า
ท่านสูดดมกลิ่นดอกบัว
ที่เกิดในน้ำ ซึ่งใคร ๆ ไม่ได้ถวายแล้ว
นี้เป็นองค์อันหนึ่งแห่งความเป็นขโมย
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้ขโมยกลิ่น
[๗๙๗] ภิกษุนั้นได้กล่าวด้วยคาถาว่า
เราไม่ได้นำไป เราไม่ได้หัก
เราเพียงแต่ดมกลิ่นดอกบัวที่เกิดในน้ำห่าง ๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจะเรียกเราว่า
เป็นผู้ขโมยกลิ่น ด้วยเหตุอะไรเล่า
ส่วนบุคคลที่ขุดเหง้าบัว หักดอกบัวปุณฑริก
เป็นผู้มีการงานอันไม่บริสุทธิ์อย่างนี้
ทำไมท่านจึงไม่เรียกเขาว่าเป็นขโมยเล่า
[๗๙๘] เทวดากล่าวด้วยคาถาว่า
บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วยกิเลส
มีราคะเป็นต้นเกินเหตุ
เราไม่พูดถึงคนนั้น แต่เราควรจะกล่าวกับท่าน
บาปประมาณเท่าปลายขนเนื้อทราย
ย่อมปรากฏประดุจเท่าก้อนเมฆในนภากาศ
แก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
ผู้มักแสวงหาความสะอาด A เป็นนิตย์
[๗๙๙] ภิกษุนั้นกล่าวด้วยคาถาว่า
ยักษ์ ท่านต้องรู้จักเราแน่
และท่านคงอนุเคราะห์เรา
ยักษ์ ท่านเห็นกรรมเช่นนี้ในกาลใด
ขอท่านพึงกล่าวในกาลนั้นอีกเถิด
[๘๐๐] เทวดากล่าวด้วยคาถาว่า
เราไม่ได้อาศัยท่านเป็นอยู่เลย
และเราก็ไม่ได้มีความเจริญเพราะท่าน
ภิกษุ ท่านนั่นแหละ พึงไปสู่สุคติด้วยกรรมที่ท่านพึงรู้เถิด
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
ปทุมปุปผสูตรที่ ๑๔ จบ
เชิงอรรถ
A ความสะอาด ในที่นี้หมายถึงศีล สมาธิ และปัญญาอันสะอาด (สํ.ส.อ. ๑/๒๓๔/๒๘๓)
บาลี
ปทุมปุปฺผสุตฺต
[๗๙๕] เอก สมย อฺตโร ภิกฺขุ โกสเลสุ วิหรติ อฺตรสฺมึ
วนสณฺเฑ ฯ เตน โข ปน สมเยน โส ภิกฺขุ ปจฺฉาภตฺต
ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต โปกฺขรณึ โอคาเหตฺวา ปทุม อุปสิงฺฆติ ฯ
[๗๙๖] อถ โข ยา ตสฺมึ วนสณฺเฑ อธิวตฺถา เทวตา
ตสฺส ภิกฺขุโน อนุกมฺปิกา อตฺถกามา ต ภิกฺขุ สเวเชตุกามา
เยน โส ภิกฺขุ เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ต ภิกฺขุ คาถาย
อชฺฌภาสิ
ยเมต วาริช ปุปฺผ อทินฺน อุปสิงฺฆสิ
เอกงฺคเมต เถยฺยาน คนฺธตฺเถโนสิ มาริสาติ ฯ
[๗๙๗] น หรามิ น ภฺชามิ อารา สิงฺฆามิ วาริช
อถ เกน นุ วณฺเณน คนฺธตฺเถโนติ วุจฺจติ
ยฺวาย ภึสานิ ขนติ ปุณฺฑรีกานิ ภฺชติ
เอว อากิณฺณกมฺมนฺโต กสฺมา เอโส น วุจฺจตีติ ฯ
[๗๙๘] อากิณฺณลุทฺโธ ปุริโส อติเวลว ๑ มกฺขิโต
ตสฺมึ เม วจน นตฺถิ ตฺจ อรหามิ วตฺตเว
อนงฺคณสฺส โปสสฺส นิจฺจ สุจิคเวสิโน
วาลคฺคมตฺต ปาปสฺส อพฺภามตฺตว ขายตีติ ฯ
[๗๙๙] อทฺธา ม ยกฺข ชานาสิ อโถ ม อนุกมฺปสิ
ปุนปิ ยกฺข วชฺชาสิ ยทา ปสฺสสิ เอทิสนฺติ ฯ
[๘๐๐] เนว ต อุปชีวามิ นปิ เต ภทฺทกมฺหเส ๒
ตฺวเมว ภิกฺขุ ชาเนยฺย เยน คจฺเฉยฺย สุคตินฺติ ฯ
อถ โข โส ภิกฺขุ ตาย เทวตาย สเวชิโต สเวคมาปาทีติ ฯ
******************
๑ ม. ยุ. ธาติเจลว ฯ ๒ ม. ภตกามหเส ฯ ยุ. กตกมฺมเส ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาปทุมปุปผสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปทุมปุปผสูตร ที่ ๑๔ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดานั้นเห็นภิกษุนั้นจับก้านดอกบัว
น้อมมา (ดม) จึงคิดว่า ภิกษุนี้ เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว
เข้าป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม จะพิจารณาเอากลิ่นเป็นอารมณ์ ภิกษุนี้นั้นวัน
นี้ ดมกลิ่นแล้ว แม้ในวันพรุ่งนี้ แม้ในวันมะรืนนี้ก็จักดมกลิ่น ตัณหาในกลิ่น
นั้นของภิกษุนั้น เพิ่มพูนขึ้นแล้ว จักยังประโยชน์ในชาตินี้และในชาติหน้าให้
พินาศ เมื่อเราเห็นอยู่ ภิกษุนี้อย่าพินาศเลย เราจักเตือนท่าน ดังนี้แล้ว
จึงเข้าไปพูด.
บทว่า เอกงฺคเมตํ เถยฺยานํ ความว่า นี้เป็นองค์หนึ่ง คือเป็นส่วน
หนึ่งแห่ง ๕ ส่วน มีรูปารมณ์เป็นต้นที่พึงลักเอา. บทว่า น หรามิ แปลว่า
ไม่ถือเอาไป. บทว่า อารา คือภิกษุกล่าวว่า เราจับก้านในที่ไกลน้อมมา
ยืนดมอยู่ในที่ไกล. บทว่า วณฺเณน แปลว่า เพราะเหตุ. บทว่า ยฺวายํ
ตัดบทว่า โย อยํ (แปลว่า นี้ ใด). ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นกำลังพูดกับเทวดา
ดาบสคนหนึ่งก็ลงไปขุดเหงาบัวเป็นต้น. ท่านกล่าวหมายเอาความนั้น. บทว่า
อากิณฺณกมฺมนฺโต คือมีการงานไม่บริสุทธิ์อย่างนี้. บาลีว่า อขีณกมฺมนฺโต
บ้าง ความว่า มีการงานหยาบคาย. บทว่า น วุจฺจติ ความว่า เพราะเหตุไร
จึงไม่กล่าวว่า ขโมยกลิ่น หรือว่าขโมยดอกไม้. บทว่า อากิณฺณลุทฺโธ
คือมีความชั่วมาก หรือว่ามีความชั่วช้า. บทว่า อติเวลํว มกฺขิโต ความว่า
บุรุษนี้ผู้เปื้อนด้วยกิเลสมีราคะและโทสะเป็นต้น เหมือนอย่างผู้เศร้าหมอง
ที่แม่นมนุ่งแล้ว เปื้อนด้วยอุจจารปัสสาวะ ฝุ่นเขม่า และเปือกตมเป็นต้น.
บทว่า อรหามิ วตฺตเว แปลว่า ควรกล่าว. ได้ยินว่า การเตือนของเทวดา
ก็เช่นกับคำสอนของพระสุคต. บุคคลเลวน้อมไปเลว และปฏิบัติผิด ย่อมไม่ได้
รับการเตือนนั้น. ส่วนบุคคลควรแก่มรรคผลในอัตภาพนั้น ย่อมได้การเตือน
นั้น. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า สุจิคเวสิโน คือ ผู้แสวงหาศีล
สมาธิและญาณที่สะอาด. บทว่า อพฺภามตฺตํว คือเหมือนสักว่าก้อนเมฆ
บทว่า ชานาสิ ได้แก่ รู้ว่าผู้นี้บริสุทธิ์. บทว่า วชฺชาสิ แปลว่า พึงกล่าว.
บทว่า เนว ตํ อุปชีวามิ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้คิดว่า มีเทวดาผู้หวังดี
แก่เราจักเตือนจักชี้แจงเอง ดังนี้ จึงประกอบความประมาทว่า เราจักไม่รับคำ
ของเขา เพราะฉะนั้น เทวดาจึงกล่าวอย่างนี้ . บทว่า ตฺวเมว แปลว่า ท่าน
เอง. บทว่า ชาเนยฺย แปลว่า พึงรู้. บทว่า เยน คือด้วยกรรมใด. ความ
ว่า ท่านจะพึงไปสู่สุคติ ท่านเองจะพึงรู้กรรมนั้น.
จบอรรถกถาปทุมปุปผสูตร ที่ ๑๔