15-228 หญิงแม่เรือนในตระกูล



พระไตรปิฎก


๘. กุลฆรณีสูตร
ว่าด้วยหญิงแม่เรือนในตระกูล
[๗๘๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้น
ภิกษุนั้นไปอยู่คลุกคลีในตระกูลแห่งหนึ่งเกินเวลา
[๗๘๑] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ใน
ราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุนั้น ประสงค์จะให้ท่านสลดใจ จึงเนรมิต
เพศเป็นหญิงแม่เรือนในตระกูลนั้น เข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้น
ด้วยคาถาว่า
ชนทั้งหลายต่างประชุมสนทนากันที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ
ในศาลาที่พัก ในสภาและข้าง ๆ ถนน
พวกเขาต่างพูดถึงดิฉันและท่านอย่างไรหนอ
[๗๘๒] ภิกษุนั้นกล่าวคาถานี้ว่า
แท้จริง เสียงที่เป็นข้าศึกมีมาก
ท่านผู้มีตบะต้องอดทน ไม่ต้องเก้อเขินด้วยเหตุนั้น
เพราะว่าสัตว์หาได้เศร้าหมองด้วยเหตุนั้นไม่
แต่ผู้ใดมักสะดุ้งเพราะเสียง ประดุจเนื้อทรายในป่า
นักปราชญ์เรียกผู้นั้นว่ามีใจเบา
วัตรของเขาย่อมไม่สมบูรณ์
กุลฆรณีสูตรที่ ๘ จบ

บาลี



กุลฆรณีสุตฺต
[๗๘๐] เอก สมย อฺตโร ภิกฺขุ โกสเลสุ วิหรติ อฺตรสฺมึ
วนสณฺเฑ ฯ เตน โข ปน สมเยน โส ภิกฺขุ อฺตรสฺมึ
กุเล อติเวล อชฺโฌคาฬฺหปฺปตฺโต วิหรติ ฯ
[๗๘๑] อถ โข ยา ตสฺมึ วนสณฺเฑ อธิวตฺถา เทวตา ตสฺส
ภิกฺขุโน อนุกมฺปิกา อตฺถกามา ต ภิกฺขุ สเวเชตุกามา ยา ตสฺมึ
กุเล กุลฆรณี ตสฺสา วณฺณ อภินิมฺมินิตฺวา เยน โส ภิกฺขุ
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ต ภิกฺขุ คาถาย อชฺฌภาสิ
นทีตีเรสุ สณฺาเน สภาสุ รถิยาสุ จ
ชนา สงฺคมฺม มนฺเตนฺติ มฺจ ตฺจ กิมนฺตรนฺติ ฯ
[๗๘๒] พหู หิ สทฺทา ปจฺจูหา ขมิตพฺพา ตปสฺสินา
น เตน มงฺกุโหตพฺพ น หิ เตน กิลิสฺสติ
โย จ สทฺทปฺปริตฺตาสี วเน วาตมิโค ยถา
ลหุจิตฺโตติ ต อาหุ นาสฺส สมฺปชฺชเต วตนฺติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถากุลฆรณีสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกุลฆรณีสูตรที่ ๘ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อชฺโฌคาฬฺหปฺปตฺโต แปลว่า ถึงความคลุกคลี. ได้ยินว่า
ภิกษุนั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วเข้าไปสู่ราวป่า เข้าไปบิณฑบาต
ยังหมู่บ้านในวันที่ ๒. ด้วยมารยาทที่น่าเลื่อมใสงดงาม. บางตระกูลเลื่อมใส
ในอิริยาบถของท่าน กราบไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์เเล้ว ถวายบิณฑบาต.
ก็แล เขาได้ฟังภัตตานุโมทนาแล้ว ก็เลื่อมใสยิ่งขึ้น นิมนต์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
นิมนต์รับภิกษาในที่นี้ตลอดเวลาเป็นนิตย์เถิด. พระเถระนั้นรับแล้ว เมื่อ
บริโภคอาหารของเขาก็ประคองความเพียร พากเพียรจนบรรลุพระอรหัตแล้ว
คิดว่า ตระกูลนี้มีอุปการะแก่เรามาก เราจะไปในที่อื่นทำไม ดังนี้ จึงเสวย
ความสุขเเห่งผลสมาบัติอยู่ในที่นั้น .
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า ได้ยินว่า เทพธิดานั้นไม่รู้ว่า พระเถระ
เป็นพระขีณาสพ จึงคิดว่า พระเถระนี้ไม่ไปบ้านอื่น ไม่ไปเรือนอื่น ไม่นั่ง
ในที่อื่นมีโคนต้นไม้และหอฉันเป็นต้น เข้าไปนั่งยังเรือนเดียวตลอดกาล
เป็นนิตย์ ก็แลภิกษุทั้ง ๒ นี้ ถึงความคลุกคลี บางที่ภิกษุนี้จะพึงประทุษร้าย
ตระกูลนี้ เราจักเตือนภิกษุนั้น ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงกล่าว.
บทว่า สณฺาเน ความว่า ในที่ใกล้ประตูเมืองซึ่งคนทิ้งสิ่งของไว้
ระเกะระกะ. บทว่า สงฺคมฺม แปลว่า มาประชุมกัน. บทว่า มนฺเตนฺติ
แปลว่า พูดกัน. บทว่า มญฺจ ตญฺจ แปลว่า กล่าวกะเราด้วย กล่าวกะ
เขาด้วย. บทว่า กิมนฺตรํ. แปลว่า เพราะเหตุไร. บทว่า พหู หิ สทฺทา
ปจฺจูหา ความว่า เสียงที่เป็นข้าศึกเหล่านี้มีมากในโลก. บทว่า น เตน
แปลว่า เพราะเหตุนั้น หรืออันผู้มีตบะนั้นไม่พึงเก้อเขิน. บทว่า น หิ เตน
ความว่า ก็สัตว์จักเศร้าหมองเพราะคำที่คนอื่นกล่าวแล้วนั้นก็หาไม่. เทวดา
นั้นแสดงว่า ก็จักเศร้าหมองด้วยบาปกรรมที่คนเห็นแล้วเอง. บทว่า วาตมิโค
ยถา ความว่า เนื้อสมันในป่าย่อมสะดุ้งด้วยเสียงแห่งใบไม้เป็นต้น ที่ถูกลมพัด
ฉันใด เขาชื่อว่าเป็นผู้สะดุ้งด้วยเสียงนั้น ฉันนั้น. บทว่า นาสฺส สมฺปชฺชเต วตํ
ความว่า วัตรของผู้มีจิตเบานั้น ย่อมไม่สมบูรณ์. ก็แล พึงทราบว่า พระเถระ
มีวัตรบริบูรณ์แล้ว เพราะเป็นพระขีณาสพ.
จบอรรถกถากุลฆรณีสูตรที่ ๘

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!