15-227 พระนาคทัตตะ



พระไตรปิฎก


๗. นาคทัตตสูตร
ว่าด้วยพระนาคทัตตะ
[๗๗๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระนาคทัตตะอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้น ท่านพระนาคทัตตะเข้าไปยังหมู่บ้านแต่เช้า และกลับมาหลังเที่ยง
[๗๗๙] ครั้งนั้นเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น
มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อท่านพระนาคทัตตะประสงค์จะให้ท่านสลดใจ
จึงเข้าไปหาท่านพระนาคทัตตะถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับท่านพระนาคทัตตะ
ด้วยคาถาว่า ท่านพระนาคทัตตะ ท่านเข้าไปยังหมู่บ้านตอนเช้า
และกลับมาตอนกลางวัน
ท่านเที่ยวไปเกินเวลา คลุกคลีกับคฤหัสถ์
พลอยร่วมสุขร่วมทุกข์กับเขา เรากลัวว่าท่านพระนาคทัตตะ
จะคะนองสุดฤทธิ์ จะพัวพันในตระกูลทั้งหลาย
ท่านอย่าตกไปสู่อำนาจของมัจจุราชผู้มีกำลัง
ผู้กระทำชีวิตให้สิ้นสุดเลย
ลำดับนั้น ท่านพระนาคทัตตะถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
นาคทัตตสูตรที่ ๗ จบ

บาลี



นาคทตฺตสุตฺต
[๗๗๘] เอก สมย อายสฺมา นาคทตฺโต โกสเลสุ วิหรติ
อฺตรสฺมึ วนสณฺเฑ ฯ เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา
นาคทตฺโต อติกาเลน คาม ปวิสติ อติทิวา ปฏิกฺกมติ ฯ
[๗๗๙] อถ โข ยา ตสฺมึ วนสณฺเฑ อธิวตฺถา เทวตา
อายสฺมโต นาคทตฺตสฺส อนุกมฺปิกา อตฺถกามา อายสฺมนฺต
นาคทตฺต สเวเชตุกามา เยนายสฺมา นาคทตฺโต เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา อายสฺมนฺต นาคทตฺต คาถาหิ อชฺฌภาสิ
กาเล ปวิสฺส นาคทตฺต ทิวา จ อาคนฺตฺวา อติเวลจารี
สสฏฺโ คหฏฺเหิ สมานสุขทุกฺโข
ภายามิ นาคทตฺต สุปคพฺภ กุเลสุ วินิพทฺธ
มาเหว มจฺจุรฺโ พลวโต อนฺตกสฺส วสเมสีติ ๑ ฯ
อถ โข อายสฺมา นาคทตฺโต ตาย เทวตาย สเวชิโต สเวคมาปาทีติ ฯ

******************

๑ ม. วส อุเปสิ ฯ ยุ. วสเมยฺยาติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถานาคทัตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนาคทัตตสูตรที่ ๗ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อติกาเลน ความว่า ภิกษุนาคทัตตะ นอนหลับตลอดคืน
ในเวลาใกล้รุ่ง เอาปลายไม้กวาดปัดกวาดเสียหน่อยหนึ่ง ล้างหน้าแล้ว เข้าไปขอ
ข้าวต้มแต่เช้า บทว่า อติทิวา ความว่า รับข้าวต้มไปโรงฉันดื่มแล้ว
นอนหลับในที่แห่งหนึ่ง คิดว่า เราจะได้อาหารอย่างดีในเวลาบริโภคของ
คนทั้งหลาย ดังนี้ เมื่อใกล้เที่ยง ก็ลุกขึ้นเอาเครื่องกรองน้ำตักน้ำล้างตาแล้ว
ไปหาอาหารฉันตามต้องการ ครั้นเลยเที่ยงแล้วก็หลีกไป. บทว่า ทิวา จ อาคนฺ
ตฺวา ความว่า ชื่อว่า ผู้เข้าไปเกินเวลา พึงมาก่อนภิกษุทั้งหลายอื่น แต่ท่าน
มาสายเกินไป. บทว่า ภายามิ นาคทตฺตํ ได้แก่ เรากลัวท่านนาคทัตตะ
นั้น. บทว่า สุปคพฺภํ ได้แก่ คะนองด้วยดี. บทว่า กุเลสุ คือ ในตระกูล
ผู้อุปัฏฐากมีตระกูลกษัตริย์เป็นต้น.
จบอรรถกถานาคทัตตสูตรที่ ๗

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!