15-226 พระอนุรุทธะ
พระไตรปิฎก
๖. อนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะ
[๗๗๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
[๗๗๔] ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งชื่อชาลินี
เคยเป็นภรรยาเก่าของท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่
แล้วได้กล่าวกับท่านพระอนุรุทธะด้วยคาถาว่า
ท่านจงตั้งจิตของท่านไว้ในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์
ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยอารมณ์อันน่าใคร่ทั้งปวง
ที่ท่านเคยอยู่มาในกาลก่อน
ท่านผู้อันหมู่เทพยกย่องแวดล้อมเป็นบริวารจะงดงาม
[๗๗๕] ท่านพระอนุรุทธะกล่าวคาถานี้ว่า
เหล่านางเทพกัญญาผู้มีคติอันเลว
ดำรงมั่นอยู่ในสักกายทิฏฐิ
สัตว์ทั้งหลายผู้มีคติอันเลวแม้เหล่านั้น
ก็ยังมีนางเทพกัญญาปรารถนา
[๗๗๖] เทวดานั้นกล่าวด้วยคาถานี้ว่า
เทพเหล่าใดยังไม่เคยเห็นสวนนันทนวัน
อันเป็นที่อยู่ของพวกนรเทพ ผู้มียศ ชั้นไตรทศ
เทพเหล่านั้นยังไม่รู้จักความสุข
[๗๗๗] ท่านพระอนุรุทธะกล่าวด้วยคาถานี้ว่า
เทวดาผู้เขลา ท่านไม่รู้แจ้งถ้อยคำ
ของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป
ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข
บัดนี้ การกลับไปอยู่ในสวรรค์ของเราไม่มีอีกต่อไป
ตัณหาดุจตาข่ายในหมู่เทพของเราไม่มี
การเวียนว่ายตายเกิดสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป
อนุรุทธสูตรที่ ๖ จบ
บาลี
อนุรุทฺธสุตฺต
[๗๗๓] เอก สมย อายสฺมา อนุรุทฺโธ โกสเลสุ วิหรติ
อฺตรสฺมึ วนสณฺเฑ ฯ
[๗๗๔] อถ โข อฺตรา ตาวตึสกายิกา เทวตา ชาลินี นาม
อายสฺมโต อนุรุทฺธสฺส ปุราณทุติยิกา เยนายสฺมา อนุรุทฺโธ
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา อายสฺมนฺต อนุรุทฺธ คาถาย อชฺฌภาสิ
ตตฺถ จิตฺต ปณิเธหิ ยตฺถ เต วุสิต ปุเร
ตาวตึเสสุ เทเวสุ สพฺพกามสมิทฺธิสุ
ปุรกฺขโต ปริวุโต เทวคเณหิ ๑ โสภสีติ ฯ
[๗๗๕] ทุคฺคตา เทวกฺาโย สกฺกายสฺมึ ปติฏฺิตา
เต จาปิ ทุคฺคตา สตฺตา เทวกฺาหิ ปตฺถิตาติ ฯ
[๗๗๖] น เต สุข ปชานนฺติ เย น ปสฺสนฺติ นนฺทน
อาวาส นรเทวาน ติทสาน ยสสฺสินนฺติ ฯ
[๗๗๗] น ตฺว พาเล วิชานาสิ ยถา อรหต วโจ
อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตส วูปสโม สุโข
นตฺถิทานิ ปุนาวาโส เทวกายสฺมิ ชาลินี
วิกฺขีโณ ชาติสสาโร นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ ฯ
******************
๑ ม. ยุ. เทวกฺาหิ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาอนุรุทธสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอนุรุทธสูตร ที่ ๖ ต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุราณทุติยิกา คือ อัครมเหสีในอัตภาพก่อน. บทว่า
โสภสิ ได้แก่ เมื่อก่อนก็งาม เดี๋ยวนี้ก็งาม. บทว่า ทุคฺคตา ความว่า
ไปชั่วด้วยคติอันชั่วก็หาไม่. จริงอยู่ เทวกัญญาอยู่ในสุคติย่อมเสวยสมบัติ.
แต่ไปชั่วด้วยคติชั่วทางปฏิบัติ. เพราะว่า เทวกัญญาเหล่านั้นจุติจากสุคตินั้น
แล้ว จะเกิดในนรกก็ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไปชั่ว. บทว่า ปติฏฺิตา
ความว่า จริงอยู่ เมื่อบุคคลตั้งอยู่ในสักกายทิฏฐิย่อมตั้งอยู่ด้วยเหตุ ๘ ประการ
คือรักด้วยอำนาจราคะ โกรธด้วยอำนาจโทสะ หลงด้วยอำนาจโมหะ ถือตัว
ด้วยอำนาจมานะ ถือผิดด้วยอำนาจทิฏฐิ เพิ่มกำลังด้วยอำนาจอนุสัยไม่สิ้นสุด
ด้วยอำนาจแห่งวิจิกิจฉา ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอุทธัจจะ แม้เทวกัญญาเหล่านั้น
ก็ตั้งอยู่อย่างนี้.
บทว่า นรเทวานํ ความว่า ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า
นตฺถิทานิ ความว่า ได้ยินว่า เทพธิดานั้น ได้มีความเสน่หาเป็นกำลังใน
พระเถระ ไม่อาจจะกลับไป. นางมาตามเวลา ปัดกวาดบริเวณ เข้าไปตั้งน้ำ
ข้างหน้า ไม้สีฟัน น้ำฉันน้ำใช้ให้. พระเถระใช้สอยโดยไม่นึก ในวันหนึ่ง
พระเถระมีจีวรเก่าเที่ยวไป ขอท่อนผ้า นางวางผ้าทิพย์ไว้ที่กองขยะแล้ว
หลีกไป. พระเถระเห็นผ้านั้นแล้วยกขึ้นดูเห็นชายผ้า ก็รู้ว่านี่เป็นผ้า คิดว่า
เท่านี้ก็พอ ดังนี้แล้วถือเอา. จีวรของท่านสำเร็จด้วยผ้านั้นเอง. พระเถระ
๓ รูป คือพระอัครสาวก ๒ รูป และพระอนุรุทธเถระ ช่วยกันทำจีวร.
พระศาสดาทรงร้อยเข็มประทานให้. เมื่อพระอนุรุทธเถระทำจีวรเสร็จแล้ว เที่ยว
ไปบิณฑบาต เทวดาก็ถวายบิณฑบาต. เทพธิดานั้น บางคราวมาสู่สำนัก
พระเถระองค์เดียว บางคราว ๒ องค์. แต่ครั้งนั้นมา ๓ องค์ เข้าไปหาพระเถระ
ในที่พักกลางวันแล้วกล่าวว่า เราชื่อว่า มีร่างกายน่าพอใจ จะเนรมิตรูปที่ใจ
ปรารถนาแล้ว ๆ. พระเถระคิดว่า เทพธิดาเหล่านี้กล่าวอย่างนี้ เราจะทดลอง
เทพธิดาทั้งปวงจงเขียวเถิด ดังนี้. เทพธิดาเหล่านั้นรู้ใจของพระเถระแล้ว
ก็มีสีเขียวทั้งหมด (ทดลองว่า) มีสีเหลือง สีแดง สีขาว ก็เป็นอย่างนั้น
เหมือนกัน. ลำดับนั้น พวกเขาคิดว่า พระเถระจะพอใจเห็นพวกเราดังนี้แล้ว
ก็เริ่มจับระบำ คือ องค์หนึ่งขับร้อง องค์หนึ่งร่ายรำ องค์หนึ่งดีดนิ้ว.
พระเถระสำรวมอินทรีย์ทั้งหลาย. ลำดับนั้น เทพธิดารู้ว่า พระเถระไม่พอใจ
ดูพวกเรา เมื่อไม่ได้ความเสน่หาหรือความชมเชยก็เบื่อหน่าย เริ่มจะไป.
พระเถระรู้ว่า เขาจะไป จึงกล่าวว่า อย่ามาบ่อย ๆ เลย. เมื่อจะแจ้งความเป็น
พระอรหันต์ จึงกล่าวคาถานี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิกฺขีโณ แปลว่า สิ้นแล้ว. บทว่า ชาติสํสาโร
ความว่า การท่องเที่ยวไป ที่นับว่าเกิดในที่นั้น ๆ.
จบอรรถกถาอนุรุทธสูตร ที่ ๖