15-225 พระอานนท์
พระไตรปิฎก
๕. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๗๗๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้น ท่านพระอานนท์อยู่รับแขกฝ่ายคฤหัสถ์มากเกินเวลา
[๗๗๒] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิง
สถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อท่านพระอานนท์ ประสงค์จะให้
ท่านสลดใจ จึงเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ด้วยคาถาว่า
ท่านพระอานนท์โคตมโคตร
ท่านจงเข้าไปยังสุมทุมพุ่มไม้ กำหนดนิพพานไว้ในใจ
เพ่งฌานไปเถิดและอย่าประมาท
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนจะช่วยอะไรท่านได้ A
อานันทสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๑๙/๓๔๖
บาลี
อานนฺทสุตฺต
[๗๗๑] เอก สมย อายสฺมา อานนฺโท โกสเลสุ วิหรติ อฺตรสฺมึ
วนสณฺเฑ ฯ เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา อานนฺโท อติเวล
คิหิสฺตฺติพหุโล วิหรติ ฯ
[๗๗๒] อถ โข ยา ตสฺมึ วนสณฺเฑ อธิวตฺถา เทวตา อายสฺมโต
อานนฺทสฺส อนุกมฺปิกา อตฺถกามา อายสฺมนฺต อานนฺท สเวเชตุกามา
เยนายสฺมา อานนฺโท เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา อายสฺมนฺต
อานนฺท คาถาย อชฺฌภาสิ
รุกฺขมูลคหน ปสกฺกิย
นิพฺพาน หทยสฺมึ โอปิย
ฌาย โคตม มา ๑ ปมาโท
กึ เต ปีฬิปีฬิกา กริสฺสตีติ ฯ
อถ โข อายสฺมา อานนฺโท ตาย เทวตาย สเวชิโต สเวคมาปาทีติ ฯ
******************
๑ ยุ. เอตฺถนฺตเร จสทฺโท อตฺถิ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาอานันทสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ ๕ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อานนฺโท คือ พระเถระผู้เป็นคลังพระธรรม. บทว่า อติเวลํ
แปลว่า เกินเวลา. บทว่า คิหิสญฺตฺติพหุโล ความว่า ยังคฤหัสถ์
ให้รู้จักเวลาเป็นอันมาก ทั้งกลางวันและกลางคืน. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระกล่าวกะพระเถระว่า ดูก่อน
ผู้มีอายุ เราจักไปเข้าจำพรรษาในกรุงราชคฤห์แล้วสังคายนาพระธรรม ท่านจงไป
จงเข้าไปสู่ป่ากระทำความเพียร เพื่อประโยชน์แก่มรรคทั้ง ๓ เบื้องบนเถิด.
พระอานันทเถระถือเอาบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังแคว้นโกศล อยู่
ในสำนักบ่าแห่งหนึ่ง รุ่งขึ้น จึงเข้าไปยังบ้านแห่งหนึ่ง. คนทั้งหลายเห็น
พระเถระแล้วกล่าวคำเป็นอันมากว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ในคราวก่อน
ท่านมากับพระศาสดา วันนี้มารูปเดียวเท่านั้น ท่านทอดทิ้งพระศาสดาไว้เสีย
ไหน บัดนี้ ท่านถือบาตรและจีวรของใครมา ท่านจะถวายน้ำล้างหน้า
จะปัดกวาดบริเวณ จะทำวัตรปฏิบัติแก่ใคร ดังนี้ พากันคร่ำครวญแล้ว
พระเถระกล่าวคำเป็นต้นว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย อยู่เศร้าโศกเลย อย่า
คร่ำครวญเลย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ยังเขาให้รู้พร้อมแล้ว ทำภัตกิจแล้ว
ไปสู่ที่พัก. แม้ในเวลาเย็น คนทั้งหลายไปในที่นั้น พากันคร่ำครวญอย่างนั้น
พระเถระก็สั่งสอนอย่างนั้นเหมือนกัน. คำนี้ ท่านกล่าวหมายถึงข้อนั้น.
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดาคิดว่า พระเถระนี้คิดว่า เรา
ฟังคำของภิกษุสงฆ์แล้วจักบำเพ็ญสมณธรรมดังนี้ แล้วเข้าไปสู่ป่า บัดนี้
ยังคฤหัสถ์ให้รู้พร้อมกันอยู่ ยังไม่กระทำศาสนาของพระศาสดาที่ตั้งอยู่ให้เป็น
ประมวลธรรมเหมือนกองดอกไม้ที่ไม่ได้รวบรวม เราจะเตือนท่าน ดังนี้แล้ว
จึงกล่าว. บทว่า ปสกฺกิย แปลว่า เข้าไปแล้ว. บทว่า หทยสฺมึ โอปฺปิย
ได้แก่ ใส่ไว้ในหทัยด้วยกิจและด้วยอารมณ์. พระเถระคิดว่า เราจะบรรลุ
พระนิพพาน ดังนี้แล้ว ทำความเพียรอยู่ ชื่อว่า ใส่พระนิพพานไว้ในหทัย
ด้วยกิจ แต่เพื่อยังสมาบัติมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ให้แนบแน่นนั่งอยู่. (ชื่อว่า
ใส่พระนิพพานไว้ในหทัย) ด้วยอารมณ์. เทวดานี้ย่อมกล่าวหมายถึงกิจและ
อารมณ์ทั้ง ๒ นั้น. บทว่า ฌาย คือ จงเป็นผู้เพ่งด้วยฌานทั้งสอง. บทว่า
ปีฬิปีฬิกา แปลว่า นี้ถ้อยคำพูดกับคฤหัสถ์.
จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๕.