15-216 ภิกษุกว่า 1000 รูป



พระไตรปิฎก


๘. ปโรสหัสสสูตร
ว่าด้วยภิกษุกว่า ๑,๐๐๐ รูป
[๗๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๒๕๐ รูป
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
อันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึก
มาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
[๗๔๘] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้ทรงชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้น
ต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
ทางที่ดีเราควรจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะ
พระพักตร์เถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทาง
ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี
พระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อม
ปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
[๗๔๙] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า
ภิกษุกว่า ๑,๐๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระสุคต
ผู้ทรงแสดงพระธรรมอันปราศจากธุลี
คือนิพพานอันไม่มีภัยแต่ที่ไหน
ภิกษุทั้งหลายฟังธรรมอันปราศจากมลทิน
ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีหมู่ภิกษุแวดล้อมทรงงดงามจริง
พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่านาคะ
เป็นพระฤๅษีผู้สูงสุดกว่าฤๅษีทั้งหลาย
ทรงโปรยฝนอมตธรรม ให้ตกรดพระสาวกทั้งหลาย
ข้าแต่พระมหาวีระเจ้า วังคีสะสาวกของพระองค์
ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดาจึงออกจากที่พักกลางวัน
มาถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ A
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วังคีสะ คาถาเหล่านี้เธอตรึกตรองไว้ก่อนแล้ว
หรือปรากฏแก่เธอโดยฉับพลันทันที”
ท่านพระวังคีสะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คาถาเหล่านี้ข้าพระองค์
มิได้ตรึกตรองไว้ก่อนเลย แต่ปรากฏแก่ข้าพระองค์โดยฉับพลันทันที”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วังคีสะ ขอให้คาถาที่เธอไม่ได้ตรึกตรองไว้ก่อนเหล่านี้
จงปรากฏแก่เธอยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด”
[๗๕๐] ท่านพระวังคีสะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคด้วย
คาถาทั้งหลาย ซึ่งตนไม่ได้ตรึกตรองไว้ก่อน ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงครอบงำทางเป็นที่เกิดขึ้นแห่งมาร
ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจดุจตะปู
ท่านทั้งหลายจงดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงทำการปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องผูก
ผู้อันตัณหา มานะและทิฏฐิอิงอาศัยไม่ได้
ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วน ๆ ได้นั้น
ความจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ตรัสทางไว้หลายอย่างเพื่อถอนโอฆกิเลส
หากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสทางอมตะนั้นไว้แล้ว
ภิกษุทั้งหลายผู้เห็นธรรม ก็ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทำแสงสว่างให้เกิด ทรงรู้แจ่มแจ้ง
ได้เห็นนิพพานเป็นเหตุล่วงพ้นวิญญาณฐิติได้ทั้งหมด
ครั้นทรงรู้และทำให้แจ้งจึงได้แสดงธรรมอันเลิศ
แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ๑๐ รูป
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมไว้ดีอย่างนี้
ท่านผู้รู้แจ้งธรรมทั้งหลายจะมีความประมาทได้อย่างไร
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น พึงตั้งใจศึกษาทุกเมื่อ B
ปโรสหัสสสูตรที่ ๘ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๔๗-๑๒๕๐/๕๔๒
B ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๕๑-๑๒๕๔/๕๔๒

บาลี



ปโรสหสฺสสุตฺต
[๗๔๗] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส
อาราเม มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ อฑฺฒเตรเสหิ
ภิกฺขุสเตหิ ฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา ภิกฺขู นิพฺพานปฏิสยุตฺตาย
ธมฺมิยา กถาย สนฺทสฺเสติ สมาทเปติ สมุตฺเตเชติ
สมฺปหเสติ ฯ เต จ ภิกฺขู อฏฺิกตฺวา มนสิกตฺวา สพฺพเจตโส
สมนฺนาหริตฺวา โอหิตโสตา ธมฺม สุณนฺติ ฯ
[๗๔๘] อถ โข อายสฺมโต วงฺคีสสฺส เอตทโหสิ อย โข
ภควา ภิกฺขู นิพฺพานปฏิสยุตฺตาย ธมฺมิยา กถาย สนฺทสฺเสติ
สมาทเปติ สมุตฺเตเชติ สมฺปหเสติ เต จ ภิกฺขู อฏฺิกตฺวา
มนสิกตฺวา สพฺพเจตโส สมนฺนาหริตฺวา โอหิตโสตา ธมฺม สุณนฺติ
ยนฺนูนาห ภควนฺต สมฺมุขา สรูปาหิ คาถาหิ อภิตฺถเวยฺยนฺติ ฯ
อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส อุฏฺายาสนา เอกส อุตฺตราสงฺค กริตฺวา
เยน ภควา เตนฺชลิมฺปณาเมตฺวา ภควนฺต เอตทโวจ ปฏิภาติ
ม ภควา ปฏิภาติ ม สุคตาติ ฯ ปฏิภาตุ ต วงฺคีสาติ ภควา
อโวจ ฯ
[๗๔๙] อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส ภควนฺต สมฺมุขา สรูปาหิ
คาถาหิ อภิตฺถวิ
ปโรสหสฺส ภิกฺขูน สุคต ปยิรุปาสติ
เทเสนฺต วิรช ธมฺม นิพฺพาน อกุโตภย
สุณนฺติ ธมฺม วิมล สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิต
โสภติ วต สมฺพุทฺโธ ภิกฺขุสงฺฆปุรกฺขโต
นาคนาโมสิ ภควา อิสีน อิสิสตฺตโม
มหาเมโฆว หุตฺวาน สาวเก อภิวสฺสติ
ทิวาวิหารา นิกฺขมฺม สตฺถุทสฺสนกามตา ๑
สาวโก เต มหาวีร ปาเท วนฺทติ วงฺคีโสติ ฯ
กึ นุ เต วงฺคีส อิมา คาถาโย ปุพฺเพ ปริวิตกฺกิตา อุทาหุ
านโสว ต ปฏิภนฺตีติ ฯ น โข เม ภนฺเต อิมา คาถาโย
ปุพฺเพ ปริวิตกฺกิตา อถ โข านโสว ม ปฏิภนฺตีติ ฯ เตนหิ
ต วงฺคีส ภิยฺโยโส มตฺตาย ปุพฺเพ อปริวิตกฺกิตา คาถาโย
ปฏิภนฺตูติ ฯ
[๗๕๐] เอว ภนฺเตติ โข อายสฺมา วงฺคีโส ภควโต ปฏิสฺสุตฺวา
ภิยฺโยโส มตฺตาย ภควนฺต ปุพฺเพ อปริวิตกฺกิตาหิ คาถาหิ อภิตฺถวิ
อุมฺมคฺคสต ๒ มารสฺส อภิภุยฺย
จรสิ ปภิชฺช ขีลานิ
ต ปสฺสถ พนฺธปมุฺจกร
อสิต ภาคโส ปวิภชฺช
โอฆสฺส หิ นิตฺถรณตฺถ
อเนกวิหิต มคฺค อกฺขาสิ
ตสฺมึ เจ อมเต อกฺขาเต
ธมฺมทฺทสา ิตา อสหิรา
ปชฺโชตกโร อติวิชฺฌ ธมฺม ๓
สพฺพทิฏฺีน อติกฺกมมทฺทส
ตฺวา จ สจฺฉิกตฺวา จ อคฺค โส เทสยิ ทสฏฺาน
เอว สุเทสิเต ธมฺเม โก ปมาโท วิชานต ๔
ตสฺมา หิ ตสฺส ภควโต สาสเน
อปฺปมตฺโต สทา นมสฺสมนุสิกฺเขติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. สตฺถุทสฺสนกามยตา ฯ ๒ ม. ยุ. อุมฺมคฺปถ ฯ
๓ ม. ยุ. อยปาโนตฺถิ ฯ ๔ ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร ธมฺมนฺติ ทิสฺสติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาปโรสหัสสสูตร
ในปโรสหัสสสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปโรสหสฺสํ ได้แก่เกิน ๑,๐๐๐. บทว่า อกุโตภยํ ความว่า
ในพระนิพพานไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ. จริงอยู่ ผู้บรรลุพระนิพพานก็ไม่มีภัยแต่
ที่ไหน ๆ ฉะนั้น พระนิพพานจึงชื่อว่า ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ. บทว่า อิสีนํ
อิสิสตฺตโม ความว่า เป็นพระฤาษีองค์ที่ ๗ จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าทรง
พระนามว่าวิปัสสี.
คำว่า กึ นุ เต วงฺคีส นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยที่เกิดเรื่องขึ้น.
ได้ยินว่า เรื่องเกิดขึ้นท่ามกลางสงฆ์ว่า พระวังคีสเถระสละกิจวัตร ไม่สนใจ
อุทเทสปริปุจฉาและโยนิโสมนสิการ เที่ยวแต่งคาถาทำจุณณียบทเรื่อยไป.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้ปฏิภาณสมบัติ
ของพระวังคีสะ เข้าใจว่า พระวังคีสะคิดแล้วคิดเล่าจึงกล่าว เราจักให้ภิกษุ
เหล่านั้นรู้ปฏิภาณสมบัติของท่าน ครั้นทรงพระดำริแล้ว จึงตรัสคำมีอาทิว่า กึ นุ
เต วงฺคีส ดังนี้.
บทว่า อุมฺมคฺคสตํ ได้แก่ กิเลสที่ผุดขึ้นหลายร้อย. อนึ่ง ท่าน
กล่าวว่า สต เพราะเป็นทางดำเนินไป. บทว่า ปภิชฺช ขีลานิ ความว่า
เทียวทำลายกิเลส ๕ อย่าง มีกิเลสเพียงดังตะปูคือราคะเป็นต้น. บทว่า ตํ
ปสฺสถ ความว่า จงดูพระพุทธเจ้านั้นผู้เที่ยวครอบงำทำลายอย่างนี้. บทว่า
พนฺธปมุญฺจกรํ ได้แก่ ผู้กระทำการปลดเปลื้องกิเลสเป็นเครื่องผูก. บทว่า
อสิตํ ได้แก่ ผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว. บทว่า ภาคโส ปวิภชฺชํ ความว่า
ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วน ๆ มีสติปัฏฐานเป็นต้น. ปาฐะว่า ปวิภช ดังนี้ก็มี
ความว่า จงแยกเป็นส่วนน้อยใหญ่ดู.
บทว่า โอฆสฺส ได้แก่โอฆะ ๔. บทว่า อเนกวิหิตํ ได้แก่ มี
หลายอย่างมีสติปัฏฐานเป็นต้น. บทว่า ตสฺมึ เจ อมเต อกฺขาเต ความว่า
เมื่อพระองค์ตรัสบอกทางอันเป็นอมตะนั้น. บทว่า ธมฺมทฺทสา ได้แก่ผู้เห็น
ธรรม บทว่า ฐิตา อสํหิรา ความว่า ผู้ตั้งมั่นไม่ง่อนแง่น.
บทว่า อติวิชฺฌ ได้แก่ แทงตลอดแล้ว. บทว่า สพฺพทิฏฺฐินํ ได้แก่
ที่ตั้งทิฏฐิหรือวิญญาณฐิติทั้งปวง. บทว่า อติกฺกมมทฺทส ได้แก่ ได้เห็น
พระนิพพานอันเป็นธรรมก้าวล่วง. บทว่า อคฺคํ ได้แก่ เป็นธรรมสูงสุด.
ปาฐะว่า อคฺเค ดังนี้ก็มี. ความว่า ก่อนกว่า. บทว่า ทสฏฺฐานํ ความว่า
ทรงแสดงธรรมอันเลิศแก่ภิกษุ ๕ รูป คือ ปัญจวัคคีย์ หรือทรงแสดงธรรม
ในฐานะอันเลิศแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ผู้รู้
อยู่ว่า ธรรมนี้ทรงแสดงดีแล้ว ไม่พึงทำความประมาท ฉะนั้น. บทว่า
อนุสิกฺเข ได้แก่ พึงศึกษาสิกขา ๓.
จบอรรถกถาปโรสหัสสสูตรที่ ๘

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!