15-211 การนึกดูหมิ่นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก



พระไตรปิฎก


๓. เปสลาติมัญญนาสูตร
ว่าด้วยการนึกดูหมิ่นภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
[๗๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่าน
พระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะนึกดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย
ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น เพราะปฏิภาณของตน ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิด
ดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่ลาภของเราเลย เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอ
ที่เราดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น เพราะปฏิภาณของตน”
[๗๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะให้ความเดือดร้อนเกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าว
คาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม ท่านจงละความเย่อหยิ่ง
และจงละทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมด
เพราะผู้ที่หมกมุ่นอยู่ในทางแห่งความเย่อหยิ่ง
จะต้องเดือดร้อนเป็นเวลานาน
หมู่สัตว์ที่ยังลบหลู่คุณท่าน
ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว ย่อมตกนรก
เหล่าปุถุชนที่ถูกความเย่อหยิ่งกำจัดแล้ว
เกิดในนรก ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
บางครั้ง ภิกษุปฏิบัติชอบแล้ว
ชนะกิเลสได้ด้วยมรรค ไม่เศร้าโศกเลย
ยังกลับได้เกียรติคุณและความสุข
บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุผู้ปฏิบัติชอบเช่นนั้นว่าเป็นผู้เห็นธรรม
เพราะเหตุนั้น ภิกษุในพระศาสนานี้
ไม่ควรมีกิเลสเครื่องตรึงใจ ๕ อย่าง
ควรมีแต่ความเพียรชอบ ละนิวรณ์ได้แล้ว เป็นผู้บริสุทธิ์
ทั้งละความเย่อหยิ่งได้หมด สงบระงับแล้ว
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชา A
เปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๒๘-๑๒๓๑/๕๓๙

บาลี



เปสลาติมฺนาสุตฺต
[๗๓๓] เอก สมย อายสฺมา วงฺคีโส อาฬวิย วิหรติ อคฺคาฬเว
เจติเย อายสฺมตา นิโคฺรธกปฺเปน อุปชฺฌาเยน สทฺธึ ฯ เตน โข
ปน สมเยน อายสฺมา วงฺคีโส อตฺตโน ปฏิภาเณน อฺเ เปสเล
ภิกฺขู อติมฺติ ฯ อถ โข อายสฺมโต วงฺคีสสฺส เอตทโหสิ
อลาภา วต เม น วต เม ลาภา ทุลฺลทฺธ วต เม น วต
เม สุลทฺธ ยฺวาห อตฺตโน ปฏิภาเณน อฺเ เปสเล ภิกฺขู
อติมฺามีติ ฯ
[๗๓๔] อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส อตฺตนาว อตฺตโน วิปฺปฏิสาร
อุปฺปาเทตฺวา ตาย เวลาย อิมา คาถาโย อภาสิ
มานส ๑ ชหสฺสุ โคตม
มานปถมิธ ชหสฺสุ
อเสส มานปถมิธ มุฺจิโต ๒
วิปฺปฏิสารีหุวา จิรรตฺต
มกฺเขน มกฺขิตา ปชา
มานหตา นิรย ปปตนฺติ
โสจนฺติ ชนา จิรรตฺต
มานหตา นิรย อุปปนฺนา
น หิ โสจติ ภิกฺขุ กทาจิ
มคฺคชิโน สมฺมาปฏิปนฺโน
กิตฺติฺจ สุขฺจ อนุโภติ
ธมฺมทโสติ ๓ ตมาหุ ตถตฺต ๔
ตสฺมา อขีโลธ ปธานวา
นีวรณานิ ปหาย วิสุทฺโธ
มานฺจ ปหาย อเสส
วิชฺชายนฺตกโร สมิตาวีติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. มาน ฯ ๒ ม. ยุ. มานปถสฺมึ สมุจฺฉิโต ฯ
๓ ยุ. ธมฺมรโตติ ฯ ๔ ม. ปหิตตฺต ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาเปสลาติมัญญนาสูตร
ในเปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อติมญฺติ ความว่า ท่านพระวังคีสะดูหมิ่นว่า พระแก่ ๆ
เหล่านี้จะรู้อะไร บาลีก็ไม่รู้ อรรถกถาก็ไม่รู้ ความไพเราะของบทและ
พยัญชนะก็ไม่รู้ ส่วนพวกเรา ทั้งบาลีทั้งอรรถกถาปรากฏตั้งร้อยนัยพันนัย.
เพราะตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้โคตมะ จึงเรียกตนว่าโคตมะ. บทว่า
มานปถํ ได้แก่อารมณ์แห่งมานะ และธรรมที่เกิดกับมานะ. บทว่า
วิปฺปฏิสารีหุวา ความว่า ได้เป็นผู้มีความร้อนใจ. บทว่า มคฺคชิโน
ได้แก่ผู้ชนะกิเลสด้วยมรรค. บทว่า กิตฺติญฺจ สุขญฺจ ได้แก่การกล่าว
สรรเสริญ และความสุขทางกายทางใจ. บทว่า อขีโลธ ปธานวา ความว่า
ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังตะปู มีความเพียร คือสมบูรณ์ด้วยความเพียร.
บทว่า วิสุทฺโธ ความว่า พึงเป็นผู้บริสุทธิ์. บทว่า อเสสํ ได้แก่ละมานะ
เก้าอย่างไม่ให้เหลือ. บทว่า วิชฺชายนฺตกโร ได้แก่ ผู้กระทำที่สุดแห่งกิเลส
ทั้งหลายด้วยวิชชา. บทวา สมิตาวี ได้แก่ เป็นผู้สงบเพราะกิเลสมีราคะ
เป็นต้นสงบ.
จบอรรถกถาเปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!