15-209 ผู้ออกบวช



พระไตรปิฎก


๑. นิกขันตสูตร
ว่าด้วยผู้ออกบวช
[๗๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่านพระ
นิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะยังเป็นภิกษุใหม่บวชได้ไม่นาน
ถูกใช้ให้เฝ้าวิหาร
[๗๒๘] ครั้งนั้น สตรีจำนวนมากพากันประดับประดาร่างกายอย่างสวยงาม เข้าไปยัง
อารามเที่ยวดูที่อยู่ของภิกษุทั้งหลาย ในขณะนั้น ท่านพระวังคีสะเกิดความไม่ยินดี
เพราะได้เห็นสตรีเหล่านั้น ความกำหนัดรบกวนจิต
ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ไม่ใช่ลาภของเราเลย ไม่ใช่
ลาภของเราเลย เราได้ชั่วหนอ เราไม่ได้ดีหนอที่เราเกิดความไม่ยินดี ความกำหนัด
รบกวนจิต เหตุที่จะให้คนอื่นช่วยบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้เกิดขึ้น
แก่เรานั้น เราจะได้จากที่ไหน ทางที่ดีเราพึงบรรเทาความไม่ยินดี ทำความยินดีให้
เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด”
[๗๒๙] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะบรรเทาความไม่ยินดีแล้ว ทำความยินดีให้เกิดขึ้น
แก่ตนด้วยตนเองแล้ว จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ความตรึกกับความคะนองอย่างเลวทรามเหล่านี้
กำลังเข้าครอบงำเราผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
บุตรของคนสูงศักดิ์ได้ศึกษาวิชายิงธนูคราวละมาก ๆ
อย่างเชี่ยวชาญ ยิงลูกธนู ๑,๐๐๐ ลูก ไปรอบ ๆ ตัว
ถึงแม้หญิงจะมามากกว่าลูกธนูจำนวนนั้น
ก็จะเบียดเบียนเราผู้ตั้งมั่นในธรรมของตนไม่ได้
เพราะว่า เราได้สดับทางเป็นที่ให้ถึงนิพพานนี้
เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ดวงอาทิตย์
ใจของเรายินดีแล้วในทางนั้นแน่นอน
มารผู้มีบาป ถ้าท่านยังเข้ามาหาเราผู้อยู่ด้วยอาการอย่างนี้
เราก็จะทำให้ท่านมองไม่เห็นทางของเรา A
นิกขันตสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๑๘-๑๒๒๒/๕๓๘

บาลี



นิกฺขนฺตสุตฺต
[๗๒๗] เอวมฺเม สุต เอก สมย อายสฺมา วงฺคีโส อาฬวิย
วิหรติ อคฺคาฬเว เจติเย อายสฺมตา นิโคฺรธกปฺเปน อุปชฺฌาเยน
สทฺธึ ฯ เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา วงฺคีโส นโว โหติ
อจิรปพฺพชิโต โอหิยฺยโก วิหารปาโล ฯ
[๗๒๘] อถ โข สมฺพหุลา อิตฺถิโย สมลงฺกริตฺวา เยนาราโม ๑
เตนุปสงฺกมึสุ วิหารเปกฺขิกาโย ฯ อถ โข อายสฺมโต วงฺคีสสฺส
ตา อิตฺถิโย ทิสฺวา อนภิรติ อุปฺปชฺชติ ราโค จิตฺต อนุทฺธเสติ ฯ
อถ โข อายสฺมโต วงฺคีสสฺส เอตทโหสิ อลาภา วต เม น
วต เม ลาภา ทุลฺลทฺธ วต เม น วต เม สุลทฺธ ยสฺส
เม อนภิรติ อุปฺปนฺนา ราโค จิตฺต อนุทฺธเสติ ต กุเตตฺถ ลพฺภา
ย เม ปเร ๒ อนภิรตึ วิโนเทตฺวา อภิรตึ อุปฺปาเทยฺยุ ยนฺนูนาห
อตฺตนาว อตฺตโน อนภิรตึ วิโนเทตฺวา อภิรตึ อุปฺปาเทยฺยนฺติ ฯ
[๗๒๙] อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส อตฺตนาว อตฺตโน อนภิรตึ
วิโนเทตฺวา อภิรตึ อุปฺปาเทตฺวา ตาย เวลาย อิมา คาถาโย อภาสิ
นิกฺขนฺต วต ม สนฺต อคารสฺมานคาริย
วิตกฺกา อุปธาวนฺติ ปคพฺภา กณฺหโต อิเม
อุคฺคปุตฺตา มหิสฺสาสา สิกฺขิตา ทฬฺหธมฺมิโน
สมนฺตา ปริกีเรยฺยุ สหสฺส อปลายิน
สเจปิ เอตฺตกา ๓ ภิยฺโย อาคมิสฺสนฺติ อิตฺถิโย
เนว ม พฺยาธยิสฺสนฺติ ธมฺเม สมฺหิ ปติฏฺิต
สกฺขี หิ เม สุต เอต พุทฺธสฺสาทิจฺจพนฺธุโน
นิพฺพานคมน มคฺค ตตฺถ เม นิรโต มโน
เอวฺเจ ม วิหรนฺต ปาปิมา ๔ อุปคจฺฉสิ
ตถา มจฺจุ กริสฺสามิ น เม มคฺคมฺปิ ทกฺขสีติ ฯ

******************

๑ ม. เยน อคฺคาฬวโก อาราโม ฯ ๒ ม. ยุ. ปโร … อุปฺปาเทยฺย ฯ
๓ ม. เอตโต ฯ ยุ. เอตฺตโต ฯ ๔ ม. ยุ. ปาปิม ฯ

อรรถกถา


อรรถกถานิกขันตสูตร
ในนิกขันตสูตรที่ ๑ วังคีสสังยุค มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อคฺคาฬเว เจติเย ได้แก่ ที่อัคคเจดีย์เมืองอาฬวี. เมื่อ
พระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ ได้มีเจดีย์เป็นอันมาก อันเป็นถิ่นของยักษ์และ
นาคเป็นต้น มีอัคคาฬวเจดีย์ และโคตมกเจดีย์เป็นต้น . เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ
อุบัติขึ้นแล้ว มนุษย์ทั้งหลายพากันรื้อเจดีย์เหล่านั้นสร้างเป็นวิหาร. เจดีย์
เหล่านั้นนั่นแล จึงเกิดเป็นชื่อของคนเหล่านั้น . บทว่า นิโคฺรธกปฺเปน
ได้แก่ ด้วยพระกัปปเถระผู้อยู่ที่โคนต้นไทร. บทว่า โอหิยฺยโก ได้แก่
ถูกเหลือไว้ บทว่า วิหารปาโล ความว่า ได้ยินว่า ในครั้งนั้นท่านยังไม่ได้
พรรษา ไม่เข้าใจในการรับบาตรจีวร. ลำดับนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย จึงกล่าว
กะท่านว่า อาวุโส ท่านจงนั่งดูแลร่ม รองเท้าและไม้เท้าเป็นต้น ตั้งให้เป็น
ผู้เฝ้าวิหารแล้วเข้าไปบิณฑบาต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิหารปาโล.
บทว่า สมลงฺกริตฺวา ความว่า ประดับด้วยเครื่องประดับอันเหมาะสมแก่
สมบัติของตน บทว่า จิตฺตํ อนุทฺธํเสติ ความว่า กำจัดคือทำกุศลจิตให้
พินาศ. บทว่า ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา ความว่า เมื่อราคะเกิดขึ้นจะได้เหตุนั้น
แต่ที่ไหน. บทว่า ยํ เม ปเร ความว่า เพราะเหตุใดบุคคลหรือธรรมอย่างอื่น
พึงบรรเทาความกระสัน อยากสึกแล้ว ทำความยินดีในพรหมจรรย์ให้เกิดขึ้น
แก่เราในบัดนี้เล่า แม้อาจารย์และพระอุปัชฌาย์ก็ทิ้งเราไว้ในวิหารแล้วไปเสีย.
บทว่า อคารสฺมา ได้แก่ ออกจากเรือน. บทว่า อนคาริยํ ความว่า
เข้าถึงบรรพชา. บทว่า กณฺหโต ความว่า แล่นมาจากธรรมฝ่ายดำ คือ
ฝ่ายมาร. บทว่า อุคฺคปุตฺตา ได้แก่ บุตรของบุคคลชั้นสูง เป็นเชื้อสาย
แห่งเจ้าผู้มีศักดิ์ใหญ่. บทว่า ทฬฺหธมฺมิโน ได้แก่ ผู้ทรงธนูมั่งคง. คือ
ถือธนูของอาจารย์ ซึ่งมีขนาดสูงสุด. บทว่า สหสฺสํ อปลายินํ ความว่า
เมื่อแสดงจำนวนของผู้ไม่ยอมหนีไป ซึ่งเอาลูกศรสาดไปรอบด้าน จึงกล่าวว่า
สหสฺสํ ดังนี้ . บทว่า เอตฺตกา ภิยฺโย ความว่า สตรีมีเกินกว่าพันนี้. บทว่า
เนว มํ พฺยาธยิสฺสนฺติ ความว่า จักไม่อาจให้เราหวั่นไหวได้. บทว่า ธมฺเม
สมฺหิ ปติฏฺิตํ ความว่า ตั้งอยู่ในศาสนธรรมของตน อันสามารถบรรเทา
ความกระสันอยากสึก แล้วทำความยินดีอันพรหมจรรย์ให้เกิดขึ้น. ท่านกล่าว
คำอธิบายไว้ดังนี้ว่า ก่อนอื่นเมื่อนายขมังธนูตั้งพันยิงกราดลูกศรมารอบด้าน
คนที่ศึกษาชำนาญ ก็ใช้ท่อนไม้ปัดลูกธนูทั้งหมดในระหว่างไม่ให้ถูกตัว ให้
ตกลงที่ใกล้เท้า บรรดานายขมังธนูเหล่านั้น คนหนึ่งยิงลูกธนูได้ทีละ ๒ ลูก
ส่วนหญิงเหล่านี้ ยิงลูกศรได้ทีสะ ๕ ลูก โดยอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น. หญิง
ที่ยิงลูกศรได้อย่างนั้น แม้จะมีเกินพัน ก็จักไม่สามารถทำเราให้หวั่นไหวได้เลย.
บทว่า สกฺขี หิ เม สุตํ เอตํ ความว่า ทางเป็นที่ไปสู่พระนิพพานนี้
เราได้ฟังแล้วเฉพาะพระพักตร์ ท่านกล่าวว่า นิพฺพานคมนํ มคฺคํ หมายเอา
วิปัสสนา. จริงอยู่ มรรคนั้นเป็นมรรคส่วนเบื้องต้นแห่งพระนิพพาน. แต่
ท่านกล่าวว่า มคฺคํ ด้วยลิงควิปัลลาส ความคลาดเคลื่อนของลิงค์ [เพศของ
ศัพท์]. บทว่า ตตฺถ เม ความว่า ใจของเราไม่ยินดีในทางไปสู่พระนิพพาน
กล่าวคือ วิปัสสนาอย่างอ่อน ๆ ของตนนั้น. ท่านเรียกกิเลสว่า ปาปิมา.
เรียกกิเลสนั้นแหละว่า มจฺจุ ก็มี. บทว่า น เม มคฺคมปี ความว่า เรา
จักทำโดยประการที่ท่านมองไม่เห็นแม้ทางที่เราไปในภพและกำเนิดเป็นต้น.
จบอรรถกถานิกขันตสูตรที่ ๑

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!