15-208 ชาวโขมทุสสนิคม



พระไตรปิฎก


๑๒. โขมทุสสสูตร
ว่าด้วยชาวโขมทุสสนิคม
[๗๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของเจ้าศากยะชื่อโขมทุสสะ
แคว้นสักกะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังโขมทุสสนิคม สมัยนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสส
นิคม ประชุมกันอยู่ในสภาด้วยกรณียกิจบางอย่าง และฝนก็กำลังตกประปรายอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังสภานั้น พวกพราหมณ์และคหบดี
ชาวโขมทุสสนิคม ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงได้กล่าวดังนี้ว่า
“คนพวกไหนชื่อว่าสมณะโล้น และคนพวกไหนรู้จักธรรมของสภา”
[๗๒๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคม
ด้วยพระคาถาว่า ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นไม่ชื่อว่าสภา
คนเหล่าใดไม่กล่าวธรรม คนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าสัตบุรุษ
เพราะพวกสัตบุรุษละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว จึงกล่าวธรรมอยู่ A
[๗๒๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคมได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์
ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น พวกข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระโคดม
ผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ
พวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
โขมทุสสสูตรที่ ๑๒ จบ

บาลี



โขมทุสฺสสุตฺต
[๗๒๔] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สกฺเกสุ วิหรติ
โขมทุสฺสนฺนาม สกฺยาน นิคโม ฯ อถ โข ภควา ปุพฺพณฺหสมย
นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย โขมทุสฺส ปิณฺฑาย ปาวิสิ ฯ เตน
โข ปน สมเยน โขมทุสฺสกา พฺราหฺมณคหปติกา สภาย สนฺนิปติตา
โหนฺติ เกนจิเทว กรณีเยน ฯ เทโว จ เอกเมก ผุสายติ ฯ อถ โข
ภควา เยน สา สภา เตนุปสงฺกมิ ฯ อทฺทสสุ โข โขมทุสฺสกา
พฺราหฺมณคหปติกา ภควนฺต ทูรโตว อาคจฺฉนฺต ทิสฺวาน เอตทโวจุ
เก จ มุณฺฑกา สมณกา เก จ สภาธมฺม ชานิสฺสนฺตีติ ฯ
[๗๒๕] อถ โข ภควา โขมทุสฺสเก พฺราหฺมณคหปติเก คาถาย
อชฺฌภาสิ
เนสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต
สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺม
ราคฺจ โทสฺจ ปหาย โมห
ธมฺม วทนฺตา จ ภวนฺติ สนฺโตติ ฯ
[๗๒๖] เอว วุตฺเต โขมทุสฺสกา พฺราหฺมณคหปติกา ภควนฺต
เอตทโวจุ อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม เสยฺยถาปิ
โภ โคตม นิกฺกุชฺชิต วา อุกฺกุชฺเชยฺย ปฏิจฺฉนฺน วา วิวเรยฺย
มูฬฺหสฺส วา มคฺค อาจิกฺเขยฺย อนฺธกาเร วา เตลปชฺโชต ธาเรยฺย
จกฺขุมนฺโต รูปานิ ทกฺขนฺตีติ เอวเมว โภตา โคตเมน
อเนกปริยาเยน ธมฺโม ปกาสิโต เอเต มย ภวนฺต โคตม สรณ
คจฺฉาม ธมฺมฺจ ภิกฺขุสงฺฆฺจ อุปาสเก โน ภว โคตโม
ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปเต สรณงฺคเตติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาโขมทุสสสูตร
ในโขมทุสสสูตรที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โขมทุสฺสนฺนาม ได้แก่ นิคมที่ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะมีผ้า
ไหมมาก. บทว่า สภายํ ได้แก่ ในศาลา. บทว่า ผุสายติ ความว่า หลั่ง
หยาดน้ำคือตก ได้ยินว่า พระศาสดา มีพระประสงค์จะเข้าสู่สภานั้นทรงดำริว่า
เมื่อเราเข้าไปด้วยอาการอย่างนี้ จะไม่มีความสะดวก เพราะเหตุนั้น เราอาศัย
เหตุอย่างหนึ่งแล้วจักเข้าไป ดังนี้แล้ว ทรงบันดาลให้เกิดฝนศกด้วยการ
อธิษฐาน. บทว่า สภาธมฺมํ ความว่า ได้ยินว่า การไม่ทำชนผู้นั่งอย่างสบาย
ให้ลุกขึ้นแล้วเข้าไปข้างหนึ่ง และการไม่ทำมหาชนให้เข้าไปตรง ๆ ที่เดียว
ชื่อว่า สภาธรรมของพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ตรงไปทีเดียว. เพราะเหตุนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นโกรธ กล่าวเย้ยหยัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชนเหล่าไหนเล่าเป็นสมณะโล้น และชนเหล่าไหนเล่า
จักรู้สภาธรรม. บทว่า สนฺโต ได้แก่ บัณฑิต คือ สัตบุรุษ. บทว่า ปหาย
ความว่า ชนที่ละราคะเป็นต้นเหล่านั่น กล่าวธรรมเพื่อกำจัดราคะเป็นต้น ชื่อว่า
สัตบุรุษ.
จบอรรถกถาโขมทุสสสูตรที่ ๑๒ อุ ปาสกวรรคที่ ๒

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!