15-207 สังครวพราหมณ์
พระไตรปิฎก
๑๑. สังครวสูตร
ว่าด้วยสังครวพราหมณ์
[๗๑๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี มีลัทธิถือความบริสุทธิ์
ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็น
และเวลาเช้าเป็นประจำ ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับมาจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว
[๗๒๐] เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วจึงนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังครว-
พราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี เขามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความ
บริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ
ข้าพระองค์ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดอนุเคราะห์เสด็จเข้าไปหา
สังครวพราหมณ์ถึงที่อยู่ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์
โดยดุษณีภาพ
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
ไปหาสังครวพราหมณ์ถึงที่อยู่แล้วประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
[๗๒๑] ลำดับนั้น สังครวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคตรัสถามสังครวพราหมณ์ว่า “พราหมณ์ เขาพูดกันว่า ท่านได้ชื่อว่าถือ
ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ท่านถือการลงอาบน้ำชำระ
ร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ จริงหรือ”
สังครวพราหมณ์กราบทูลว่า “จริงอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญ”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงได้
ชื่อว่ามีลัทธิถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลง
อาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำเล่า”
สังครวพราหมณ์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บาปกรรมใดที่
ข้าพระองค์ทำเวลากลางวัน ข้าพระองค์ก็ลอยบาปกรรมนั้นด้วยการอาบน้ำเวลาเย็น
บาปกรรมใดที่ข้าพระองค์ทำเวลากลางคืน ข้าพระองค์ก็ลอยบาปกรรมนั้นด้วยการ
อาบน้ำเวลาเช้า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้
ชื่อว่ามีลัทธิถือความบริสุทธ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลง
อาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นประจำ”
[๗๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ บุคคลผู้ถึงเวททั้งหลายนั่นแล
อาบในห้วงน้ำคือธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย มีท่าคือศีล ไม่ขุ่นมัว
อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มีตัวไม่เปียก ย่อมข้ามถึงฝั่ง
[๗๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สังครวพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
สังครวสูตรที่ ๑๑ จบ
บาลี
สงฺครวสุตฺต
[๗๑๙] สาวตฺถีนิทาน ฯ เตน โข ปน สมเยน สงฺครโว
นาม พฺราหฺมโณ สาวตฺถิย ปฏิวสติ อุทกสุทฺธิโก อุทเกน สุทฺธึ ๑
ปจฺเจติ สายปาต อุทโกโรหณานุโยคมนุยุตฺโต วิหรติ ฯ อถ โข
อายสฺมา อานนฺโท ปุพฺพณฺหสมย นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย
สาวตฺถิย ปิณฺฑาย ปาวิสิ สาวตฺถิย ปิณฺฑาย จริตฺวา ปจฺฉาภตฺต
ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา
ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ
[๗๒๐] เอกมนฺต นิสินฺโน โข อายสฺมา อานนฺโท ภควนฺต
เอตทโวจ อิธ ภนฺเต สงฺครโว นาม พฺราหฺมโณ สาวตฺถิย
ปฏิวสติ อุทกสุทฺธิโก อุทเกน สุทฺธึ ปจฺเจติ สายปาต
อุทโกโรหณานุโยคมนุยุตฺโต วิหรติ สาธุ ภนฺเต ภควา เยน
สงฺครวสฺส พฺราหฺมณสฺส นิเวสน เตนุปสงฺกมตุ อนุกมฺป อุปาทายาติ ฯ
อธิวาเสสิ ภควา ตุณฺหีภาเวน ฯ อถ โข ภควา ปุพฺพณฺหสมย
นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย เยน สงฺครวสฺส พฺราหฺมณสฺส นิเวสน
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ปฺตฺเต อาสเน นิสีทิ ฯ
[๗๒๑] อถ โข สงฺครโว พฺราหฺมโณ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควตา สทฺธึ สมฺโมทิ สมฺโมทนีย กถ สาราณีย
วีติสาเรตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ เอกมนฺต นิสินฺน โข สงฺครว
พฺราหฺมณ ภควา เอตทโวจ สจฺจ กิร ตฺว พฺราหฺมณ อุทกสุทฺธิโก
อุทเกน สุทฺธึ ปจฺเจสิ สายปาต อุทโกโรหณานุโยคมนุยุตฺโต
วิหรสีติ ฯ เอว โภ โคตมาติ ฯ กึ ปน ตฺว พฺราหฺมณ
อตฺถวส สมฺปสฺสมาโน อุทกสุทฺธิโก อุทเกน สุทฺธึ ปจฺเจสิ สายปาต
อุทโกโรหณานุโยคมนุยุตฺโต วิหรสีติ ฯ อิธ เม โภ โคตม ย
ทิวา ปาปกมฺม กต โหติ ต สย นฺหาเนน ปวาเหมิ ย
รตฺตึ ปาปกมฺม กต โหติ ต ปาต นฺหาเนน ปวาเหมิ อิม จ
ขฺวาห โภ โคตม อตฺถวส สมฺปสฺสมาโน อุทกสุทฺธิโก อุทเกน
สุทฺธึ ปจฺเจมิ สายปาต อุทโกโรหณานุโยคมนุยุตฺโต วิหรามีติ ฯ
[๗๒๒] ธมฺโม รหโท พฺราหฺมณ สีลติตฺโถ
อนาวิโล สพฺภิ สต ปสตฺโถ
ยตฺถ หเว เวทคุโน สินาตา
อนลฺลคตฺตาว ตรนฺติ ปารนฺติ ฯ
[๗๒๓] เอว วุตฺเต สงฺครโว พฺราหฺมโณ ภควนฺต เอตทโวจ
อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ อุปาสก ม
ภว โคตโม ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปต สรณงฺคตนฺติ ฯ
******************
๑ ม. ปริสุทฺธึ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาสังครวสูตร
ในสังครวสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปจฺเจติ ได้แก่ ย่อมปรารถนา คือ ย่อมต้องการ. คฤหัสถ์
อ้อนวอนอยู่ จึงกล่าวว่า สาธุ ภนฺเต. ได้ยินว่า คฤหัสถ์นั่นเป็นสหายของ
พระเถระ. เพราะฉะนั้น พระเถระทูลขอร้องด้วยคิดว่า ผู้เป็นคนกำพร้าแม้ได้เรา
เป็นสหาย อย่าได้ถือมิจฉาที่ทิฏฐิแออัดอยู่ในอบายเลย. อีกนัยหนึ่ง พระเถระเข้า
ใจอยู่ว่า คฤหัสถ์ผู้นี้ มีบริวารมาก เมื่อเขาเลื่อมใส แล้ว ตระกูล ๕๐๐ ตระกูล
จักประพฤติตามคำสั่งสอน จงได้ทูลขอร้อง. บทว่า อตฺถวสํ ได้แก่ อานิสงส์
ของประโยชน์ คือ เหตุของประโยชน์. บทว่า ปาปํ ได้แก่ อกุศลกรรมมี
ปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า ปวาเหมิ ได้แก่ เราลงน้ำแค่คอแล้วให้ลอยไป
คือ ให้หนีไป. คาถาว่า ธมฺโม มีใจความดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสังครวสูตรที่ ๑๑