15-206 ภิกขกพราหมณ์
พระไตรปิฎก
๑๐. ภิกขกสูตร
ว่าด้วยภิกขกพราหมณ์
[๗๑๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ภิกขกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคนขอ พระองค์ก็
เป็นผู้ขอ ในเรื่องนี้เราจะมีอะไรแตกต่างกัน”
[๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลขอคนเหล่าอื่นอยู่
ย่อมไม่เป็นภิกษุด้วยเหตุมีประมาณเพียงใด
ผู้สมาทานธรรมผิด A ก็ไม่เป็นภิกษุด้วยเหตุมีประมาณเพียงนั้น
ผู้ใดในโลกนี้ละบุญและบาปได้แล้ว
ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการพิจารณา B
ผู้นั้นแลจัดว่าเป็นภิกษุ
[๗๑๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกขกพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ภิกขกสูตรที่ ๑๐ จบ
เชิงอรรถ
A ธรรมผิด ในที่นี้หมายถึงอกุศลธรรม (สํ.ส.อ. ๑/๒๐๖/๒๕๓)
B การพิจารณา ในที่นี้หมายถึงฌาน (สํ.ส.อ. ๑/๒๐๖/๒๕๓)
บาลี
ภิกฺขกสุตฺต
[๗๑๖] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข ภิกฺขโก พฺราหฺมโณ เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควตา สทฺธึ สมฺโมทิ สมฺโมทนีย
กถ สาราณีย วีติสาเรตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ เอกมนฺต นิสินฺโน โข
ภิกฺขโก พฺราหฺมโณ ภควนฺต เอตทโวจ อหมสฺมิ โภ โคตม
ภิกฺขโก ภวมฺปิ ภิกฺขโก อิธ โน กึ นานากรณนฺติ ฯ
[๗๑๗] น เตน ภิกฺขโก โหติ ยาวตา ภิกฺขเต ปเร
วิสฺส ธมฺม สมาทาย ภิกฺขุ โหติ น ตาวตา
โยธ ปฺฺุจ ปาปฺจ ปวาเหตฺวา ๑ พฺรหฺมจริย
สงฺขาย โลเก จรติ ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจตีติ ฯ
[๗๑๘] เอว วุตฺเต ภิกฺขโก พฺราหฺมโณ ภควนฺต เอตทโวจ
อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ อุปาสก ม
ภว โคตโม ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปต สรณงฺคตนฺติ ฯ
******************
๑ ม. ยุ. พาหิตฺวา ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาภิกขกสูตร
ในภิกขกสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิธ ได้แก่ ในความเป็นภิกษุนี้นั่นแล. บทว่า วิสํ ธมฺมํ
ได้แก่ อกุศลธรรมที่มีกลิ่นเหม็น. บทว่า วาเหตฺวา ได้แก่ ละได้ด้วยอรหัต
มรรค. บทว่า สงฺขาย ได้แก่ญาณ. บทว่า ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ ความ
ว่า ผู้นั้นแล ท่านเรียกชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลสแล.
จบอรรถกถาภิกขกสูตรที่ ๑๐