15-205 มาตุโปสกพราหมณ์
พระไตรปิฎก
๙. มาตุโปสกสูตร
ว่าด้วยมาตุโปสกพราหมณ์
[๗๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น มาตุโปสกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์แสวงหาภิกษาโดยธรรม
ได้มาแล้วก็เลี้ยงมารดาและบิดา ข้าพระองค์ทำเช่นนี้ ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำหรือไม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชอบยิ่งนัก พราหมณ์ ท่านทำดังนี้ชื่อว่าได้ทำกิจที่
ควรทำแท้ ด้วยว่าผู้ใดแสวงหาภิกษาโดยธรรมได้มาแล้วก็เลี้ยงมารดาและบิดา ผู้นั้น
ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก”
[๗๑๔] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุคคลใดเลี้ยงมารดาและบิดาโดยชอบธรรม
เพราะการบำรุงเลี้ยงมารดาและบิดาเช่นนี้
บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นขณะที่ยังอยู่ในโลก
ครั้นจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกสวรรค์
[๗๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาตุโปสกพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
มาตุโปสกสูตรที่ ๙ จบ
บาลี
มาตุโปสกสุตฺต
[๗๑๓] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข มาตุโปสโก พฺราหฺมโณ
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควตา สทฺธึ สมฺโมทิ
สมฺโมทนีย กถ สาราณีย วีติสาเรตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ เอกมนฺต
นิสินฺโน โข มาตุโปสโก พฺราหฺมโณ ภควนฺต เอตทโวจ อหฺหิ
โภ โคตม ธมฺเมน ภิกฺข ปริเยสามิ ธมฺเมน ภิกฺข ปริเยสิตฺวา
มาตาปิตโร โปเสมิ กจฺจาห โภ โคตม เอวการี กิจฺจการี
โหมีติ ฯ ตคฺฆ ตฺว พฺราหฺมณ เอวการี กิจฺจการี อโหสิ โย
โข พฺราหฺมณ ธมฺเมน ภิกฺข ปริเยสติ ธมฺเมน ภิกฺข ปริเยสิตฺวา
มาตาปิตโร โปเสติ พหุ โส ปฺุ ปสวตีติ ฯ
[๗๑๔] อิทมโวจ ฯเปฯ
โย มาตร ปิตร วา มจฺโจ ธมฺเมน โปสติ
ตาย น ปาริจริยาย มาตาปิตูสุ ปณฺฑิตา
อิเธว น ปสสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทตีติ ฯ
[๗๑๕] เอว วุตฺเต มาตุโปสโก พฺราหฺมโณ ภควนฺต เอตทโวจ
อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ อุปาสก ม
ภว โคตโม ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปต สรณงฺคตนฺติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถามาตุโปสกสูตร
ในมาตุโปสกสูตรที่ ๙ วินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เปจฺจ ได้แก่ กลับไปจากโลกนี้.
จบอรรถกถามาตุโปสกสูตรที่ ๙