15-201 มานัตถัทธพราหมณ์



พระไตรปิฎก


๕. มานัตถัทธสูตร
ว่าด้วยมานัตถัทธพราหมณ์
[๖๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พราหมณ์ชื่อมานัตถัทธะ(กระด้างเพราะถือตัว) พำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี
เขาไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ และพี่ชายเลย
[๖๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม ทรงแสดงธรรมอยู่
ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้มีบริษัท
หมู่ใหญ่แวดล้อมทรงแสดงธรรมอยู่ ทางที่ดีเราจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ
ถ้าพระสมณโคดมจักทักทายเรา เราก็จักทักทายท่าน ถ้าพระสมณโคดมไม่ทักทายเรา
เราก็จักไม่ทักทายท่าน”
ลำดับนั้น มานัตถัทธพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วยืน
นิ่งอยู่ ณ ที่สมควร ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคไม่ทรงทักทาย มานัตถัทธพราหมณ์
ต้องการจะกลับจากที่นั้นด้วยคิดว่า “พระสมณโคดมนี้ไม่รู้อะไร”
[๖๙๖] ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของมานัตถัทธพราหมณ์ด้วย
พระทัยแล้ว ได้ตรัสกับมานัตถัทธพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
พราหมณ์ ในโลกนี้ใครที่ยังมีมานะไม่ดีเลย
บุคคลมาด้วยประโยชน์ใด พึงเพิ่มพูนประโยชน์นั้นไว้
[๖๙๗] ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์คิดว่า “พระสมณโคดมทรงทราบจิตของเรา”
จึงหมอบลงด้วยศีรษะที่ใกล้พระยุคลบาทพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นเอง จุมพิตพระ
ยุคลบาทพระผู้มีพระภาคและนวดด้วยมือ ประกาศชื่อว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ข้าพระองค์ชื่อมานัตถัทธะ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อมานัตถัทธะ”
ครั้งนั้น บริษัทนั้นเกิดประหลาดใจว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
มานัตถัทธพราหมณ์นี้ไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ และพี่ชาย แต่พระสมณโคดม
ทรงทำคนเช่นนี้ให้ทำการนอบน้อมได้เป็นอย่างดียิ่ง”
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับมานัตถัทธพราหมณ์ว่า “พอละ พราหมณ์
เชิญลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตนเถิด เพราะท่านมีจิตเลื่อมใสในเราแล้ว”
[๖๙๘] ลำดับนั้น มานัตถัทธพราหมณ์นั่งบนที่นั่งของตนแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลไม่ควรทำมานะในใคร
ควรมีความเคารพในใคร พึงยำเกรงในใคร
บูชาใครด้วยดีแล้วจึงจะเป็นการดี
[๖๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลไม่ควรทำมานะในมารดา
บิดา พี่ชาย และในอาจารย์เป็นที่ ๔
พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น
พึงยำเกรงในบุคคลเหล่านั้น
บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดีแล้วจึงเป็นการดี
บุคคลพึงทำลายมานะ
ไม่ควรกระด้าง พึงนอบน้อมพระอรหันต์ ผู้เยือกเย็น
ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่านั้น
[๗๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มานัตถัทธพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระ
โคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จนตลอดชีวิต”
มานัตถัทธสูตรที่ ๕ จบ

บาลี



มานตฺถทฺธสุตฺต
[๖๙๔] สาวตฺถินิทาน ฯ เตน โข ปน สมเยน มานตฺถทฺโธ
นาม พฺราหฺมโณ สาวตฺถิย ปฏิวสติ ฯ โส เนว มาตร อภิวาเทติ
น ปิตร อภิวาเทติ น อาจริย อภิวาเทติ น เชฏฺภาตร อภิวาเทติ ฯ
[๖๙๕] เตน โข ปน สมเยน ภควา มหติยา ปริสาย ปริวุโต
ธมฺม เทเสติ ฯ อถ โข มานตฺถทฺธสฺส พฺราหฺมณสฺส เอตทโหสิ
อย โข สมโณ โคตโม มหติยา ปริสาย ปริวุโต ธมฺม เทเสติ
ยนฺนูนาห เยน สมโณ โคตโม เตนุปสงฺกเมยฺย สเจ ม สมโณ
โคตโม อาลปิสฺสติ อหมฺปิ ต อาลปิสฺสามิ โน เจ ม สมโณ
โคตโม อาลปิสฺสติ อหมฺปิ ต นาลปิสฺสามีติ ฯ อถ โข มานตฺถทฺโธ
พฺราหฺมโณ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ๑
เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ อถ โข ภควา ๒ นาลปติ ฯ อถ โข มานตฺถทฺโธ
พฺราหฺมโณ นาย สมโณ โคตโม กิฺจิ ชานาตีติ ตโตว ปุน
นิวตฺติตุกาโม อโหสิ ฯ
[๖๙๖] อถ โข ภควา มานตฺถทฺธสฺส พฺราหฺมณสฺส เจตสา
เจโตปริวิตกฺกมฺาย มานตฺถทฺธ พฺราหฺมณ คาถาย อชฺฌภาสิ
น มาน พฺราหฺมณ สาธุ อตฺถิ กสฺสีธ พฺราหฺมณ
เยน อตฺเถน อาคฺฉิ ๓ ตเมวมนุพฺรูหเยติ ฯ
[๖๙๗] อถ โข มานตฺถทฺโธ พฺราหฺมโณ จิตฺต เม สมโณ
โคตโม ชานาตีติ ตตฺเถว ภควโต ปาเทสุ สิรสา นิปติตฺวา ภควโต
ปาทานิ มุเขน ปริจุมฺพติ ปาณีหิ จ ปริสมฺพาหติ นาม จ สาเวติ
มานตฺถทฺธาห โภ โคตม มานตฺถทฺธาห โภ โคตมาติ ฯ อถ โข
สา ปริสา อพฺภูตจิตฺตชาตา ๔ อโหสิ อจฺฉริย วต โภ อพฺภูต วต
โภ อยฺหิ มานตฺถทฺโธ พฺราหฺมโณ เนว มาตร อภิวาเทติ น
ปิตร อภิวาเทติ น อาจริย อภิวาเทติ น เชฏฺภาตร อภิวาเทติ
อถ จ ปน สมโณ โคตโม เอวรูป ปรมนิปจฺจการ กโรตีติ ฯ
อถ โข ภควา มานตฺถทฺธ พฺราหฺมณ เอตทโวจ อล พฺราหฺมณ
อุฏฺเหิ สเก อาสเน นิสีท ยโต เต มยิ จิตฺต ปสนฺนนฺติ ฯ
[๖๙๘] อถ โข มานตฺถทฺโธ พฺราหฺมโณ สเก อาสเน นิสีทิตฺวา
ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
เกสุ น มาน กยิราถ กถ สฺวสฺส ๕ สคารโว
กฺยสฺส อปจิตา อสฺสุ กฺยสฺส สาธุ สุปูชิตาติ ฯ
[๖๙๙] มาตรี ปิตริ วาปิ อโถ เชฏฺมฺหิ ภาตริ
อาจริเย จตุตฺถมฺหิ ๖ เตสุ อสฺส สคารโว
ตฺยสฺส อปจิตา อสฺสุ เต จสฺสุ สาธุ ปูชิตา
อรหนฺเต สีตีภูเต กตกิจฺเจ อนาสเว
นิหจฺจ มาน อตฺถทฺโธ เตน อนุสเยน ๗ อนุตฺตเรติ ฯ
[๗๐๐] เอว วุตฺเต มานตฺถทฺโธ พฺราหฺมโณ ภควนฺต เอตทโวจ
อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ อุปาสก ม
ภว โคตโม ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปต สรณงฺคตนฺติ ฯ

******************

โป. ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร ตุณฺหีภูโตติ ทิสฺสติ ฯ ๒ ม. ยุ. ต นาลปิ ฯ
๓ ม. ยุ. อาคจฺฉิ ฯ
๔ ม. อพฺภุตวิตฺตชาตา ฯ ๕ ม. เกสุ จสฺส ฯ ยุ. เกสุ อสฺส ฯ
๖ ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร เตสุ น มาน กยิราถาติ ทิสฺสติ ฯ
๗ ม. เต นมสฺเส ฯ ยุ. นมสฺส ฯ

อรรถกถา


อรรถกถามานัตถัทธสูตร
ในมานัตถัทธสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มานตฺถทฺโธ ความว่า ผู้กระด้างเพราะมานะ เหมือน
ลูกโป่งเต็มไปด้วยลม. บทว่า อาจริยํ ความว่า ในเวลาเรียนศิลปะ อาจารย์
ไม่ให้ศิลปะแก่ผู้ไม่ไหว้. แต่ในกาลอื่น พราหมณ์นั้นไม่ไหว้อาจารย์. แม้
ผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีอยู่ พราหมณ์ก็ไม่รู้. บทว่า นายํ สมโณ ความว่า
พราหมณ์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่พระสมณะนี้ เมื่อพราหมณ์
ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเช่นเรานาถึงเข้า ก็ไม่ทำกิจมาตรว่าปฏิสันถาร ฉะนั้น จึง
ไม่รู้อะไร.
บทว่า อพฺภูตจิตฺตชาตา ได้แก่ประกอบด้วยความยินดี อันไม่
เคยมีก็มามีขึ้น. บทว่า เกสฺ วสฺส ความว่า พึงเคารพในใคร. บทว่า
กฺยสฺส ความว่าพวกไหน เป็นที่เคารพของบุคคลนั้น. บทว่า อปจิตา อสฺสุ
ความว่าพวกไหนพึงเป็นผู้ควรเพื่อแสดงความนบนอบ. ด้วยคาถานี้ว่า อรหนฺเต
เป็นต้น ทรงแสดงปูชนียบุคคล โดยยกพระองค์เป็นตัวอย่าง เพราะพระองค์
เป็นผู้ฉลาดในเทศนา.
จบอรรถกถามานัตถัทธสูตรที่ ๕

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!