15-196 ความสุขเป็นอันมาก



พระไตรปิฎก


๑๐. พหุธิติสูตร
ว่าด้วยความสุขเป็นอันมาก
[๖๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้น
โกศล สมัยนั้น โคพลิพัท ๑๔ ตัวของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่งได้หายไป
[๖๖๘] ครั้งนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรเที่ยวแสวงหาโคพลิพัทเหล่านั้นอยู่ เข้าไปถึง
ราวป่านั้น ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้
เฉพาะหน้า อยู่ในราวป่านั้นแล้วเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กล่าวคาถา
เหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
โคพลิพัท ๑๔ ตัว ของพระสมณะนี้ไม่มีแน่
แต่ของเราหายไปได้ ๖๐ วันเข้าวันนี้
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
ต้นงาทั้งหลายที่ไม่งาม
มีเพียงใบสองใบ ในไร่ของพระสมณะนี้ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
หนูทั้งหลายในฉางข้าวเปล่า ที่รบกวนพระสมณะนี้
ด้วยการยกหูชูหางขึ้นกระโดดโลดเต้นไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
เครื่องลาดของพระสมณะนี้ใช้ตั้งเจ็ดเดือน
ที่จะเกลื่อนกล่นด้วยสัตว์เล็กสัตว์น้อยทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
หญิงหม้ายมีลูกสาว ๗ คน
มีลูกชายหนึ่งคนหรือสองคน
แต่ของพระสมณะนี้ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
แมลงวันตัวลาย ชอบไต่ตอมคนหลับ
ที่จะไต่ตอมพระสมณะนี้ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
ในเวลาใกล้รุ่ง เจ้าหนี้ทั้งหลาย
ที่จะตามทวงหนี้พระสมณะนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้’ ไม่มีแน่
เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงมีความสุข
[๖๖๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระคาถาว่า
พราหมณ์ โคพลิพัท ๑๔ ตัวของเราไม่มีเลย
แต่ของท่านหายไปได้ ๖๐ วันเข้าวันนี้
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
ต้นงาทั้งหลายที่ไม่งาม
มีเพียงใบสองใบ ในไร่ของเราไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
หนูทั้งหลายในฉางข้าวเปล่า ที่จะรบกวนเรา
ด้วยการยกหูชูหางขึ้นกระโดดโลดเต้นไม่มีเลย
พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
เครื่องลาดของเราใช้ตั้งเจ็ดเดือน ที่จะเกลื่อนกล่น
ด้วยสัตว์เล็กสัตว์น้อยทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
หญิงหม้ายมีลูกสาว ๗ คน
มีลูกชายหนึ่งคนหรือสองคน
แต่ของเราไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
แมลงวันตัวลาย ชอบไต่ตอมคนหลับ
ที่จะไต่ตอมเราไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
พราหมณ์ ในเวลาใกล้รุ่ง
เจ้าหนี้ทั้งหลาย ที่จะตามทวงหนี้เราว่า
‘ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้’ ไม่มีเลย
เพราะเหตุนั้น เราจึงมีความสุข
[๖๗๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระสมณโคดม
ผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ”
พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็น
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหม-
จรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
พหุธิติสูตรที่ ๑๐ จบ

บาลี



พหุธิติสุตฺต
[๖๖๗] เอก สมย ภควา โกสเลสุ วิหรติ อฺตรสฺมึ วนสณฺเฑ ฯ
เตน โข ปน สมเยน อฺตรสฺส ภารทฺวาชโคตฺตสฺส
พฺราหฺมณสฺส จตุทฺทส พลิพทฺทา นฏฺา โหนฺติ ฯ
[๖๖๘] อถ โข ภารทฺวาชโคตฺโต พฺราหฺมโณ เต พลิพทฺเท
คเวสนฺโต เยน โส วนสณฺโฑ เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา อทฺทส
ภควนฺต ตสฺมึ วนสณฺเฑ นิสินฺน ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา อุชุ กาย
ปณิธาย ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา ทิสฺวาน เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควโต สนฺติเก อิมา คาถาโย อภาสิ
นห ๑ นูนิมสฺส สมณสฺส พลิพทฺทา จตุทฺทส
อชฺชสฏฺึ น ทิสฺสนฺติ เตนาย สมโณ สุขี
นห นูนิมสฺส สมณสฺส ติลา เขตฺตสฺมิ ปาปิกา
เอกปณฺณา ทุปณฺณา จ เตนาย สมโณ สุขี
นห นูนิมสฺส สมณสฺส ตุจฺฉโกฏฺสฺมิ มูสิกา
อุสฺโสฬฺหิกาย นจฺจนฺติ เตนาย สมโณ สุขี
นห นูนิมสฺส สมณสฺส สนฺถาโร สตฺตมาสิโก
อุปฺปาทเกหิ สฺฉนฺโน เตนาย สมโณ สุขี
นห นูนิมสฺส สมณสฺส วิธวา ปุตฺตธีตโร
เอกปุตฺตา ทุปุตฺตา จ เตนาย สมโณ สุขี
นห นูนิมสฺส สมณสฺส ปิงฺคลา ติลกาหตา
โสตฺต ปาเทน โปเถติ เตนาย สมโณ สุขี
นห นูนิมสฺส สมณสฺส ปจฺจูสมฺหิ อิณายิกา
เทถ เทถาติ โจเทนฺติ เตนาย สมโณ สุขีติ ฯ
[๖๖๙] นห มยฺห พฺราหฺมณ พลิพทฺทา จตุทฺทส
อชฺชสฏฺึ น ทิสฺสนฺติ เตนาห พฺราหฺมณ สุขี
นห มยฺห พฺราหฺมณ ติลา เขตฺตสฺมิ ปาปิกา
เอกปณฺณา ทุปณฺณา จ เตนาห พฺราหฺมณ สุขี
นห มยฺห พฺราหฺมณ ตุจฺฉโกฏฺสฺมิ มูสิกา
อุสฺโสฬฺหิกาย นจฺจนฺติ เตนาห พฺราหฺมณ สุขี
นห มยฺห พฺราหฺมณ สนฺถาโร สตฺตมาสิโก
อุปฺปาทเกหิ สฺฉนฺโน เตนาห พฺราหฺมณ สุขี
นห มยฺห พฺราหฺมณ วิธวา ปุตฺตธีตโร
เอกปุตฺตา ทฺวิปุตฺตา จ เตนาห พฺราหฺมณ สุขี
นห มยฺห พฺราหฺมณ ปิงฺคลา ติลกาหตา
โสตฺต ปาเทน โปเถติ เตนาห พฺราหฺมณ สุขี
นห มยฺห พฺราหฺมณ ปจฺจูสมฺหิ อิณายิกา
เทถ เทถาติ โจเทนฺติ เตนาห พฺราหฺมณ สุขีติ ฯ
[๖๗๐] เอว วุตฺเต ภารทฺวาชโคตฺโต พฺราหฺมโณ ภควนฺต
เอตทโวจ อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม เสยฺยถาปิ
โภ โคตม นิกฺกุชฺชิต วา อุกฺกุชฺเชยฺย ปฏิจฺฉนฺน วา วิวเรยฺย
มูฬฺหสฺส วา มคฺค อาจิกฺเขยฺย อนฺธกาเร วา เตลปชฺโชต ธาเรยฺย
จกฺขุมนฺโต รูปานิ ทกฺขนฺตีติ เอวเมว โภตา โคตเมน อเนกปริยาเยน
ธมฺโม ปกาสิโต เอสาห ภวนฺต โคตม สรณ คจฺฉามิ
ธมฺมฺจ ภิกฺขุสงฺฆฺจ ลเภยฺยาห โภโต โคตมสฺส สนฺติเก
ปพฺพชฺช ลเภยฺย อุปสมฺปทนฺติ ฯ อลตฺถ โข ภารทฺวาชโคตฺโต
พฺราหฺมโณ ภควโต สนฺติเก ปพฺพชฺช อลตฺถ อุปสมฺปท ฯ
อจิรูปสมฺปนฺโน จ ปนายสฺมา ภารทฺวาโช เอโก วูปกฏฺโ
อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต วิหรนฺโต น จิรสฺเสว ยสฺสตฺถาย
กุลปุตฺตา สมฺมเทว อคารสฺมา อนคาริย ปพฺพชนฺติ ตทนุตฺตร
พฺรหฺมจริยปริโยสาน ทิฏฺเว ธมฺเม สย อภิฺา สจฺฉิกตฺวา
อุปสมฺปชฺช วิหาสิ ขีณา ชาติ วุสิต พฺรหฺมจริย กต กรณีย
นาปร อิตฺถตฺตายาติ อพฺภฺาสิ ฯ อฺตโร จ ปนายสฺมา
ภารทฺวาโช อรหต อโหสีติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. สพฺพตฺถ น หีติ ขายติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาพหุธิติสูตรที่ ๑๐
ในพหุธิติสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า อญฺตรสฺมึ วนสณฺเฑ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นธรรมอันเป็นอุปนิสัยพระอรหัตของ
พราหมณ์นั้น ทรงพระดำริที่จะไปสงเคราะห์พราหมณ์จึงเสด็จไปประทับอยู่ใน
ไพรสณฑ์นั้น. บทว่า ปลฺลงฺกํ ได้แก่ นั่งขัดสมาธิ. บทว่า อาภุชิตฺวา
ได้แก่ผูกไว้. บทว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย ความว่า ตั้งกายตอนบนให้ตรง
ให้ปลายกระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อจดกัน บทว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา
ความว่า ตั้งสติมุ่งต่อพระกรรมฐาน หรือทำพระกรรมฐานไว้ใกล้หน้า. ด้วย
เหตุนั้นแล ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า สตินี้ปรากฏแล้ว ตั้งอยู่ด้วยดีแล้ว
ที่ปลายจมูกหรือที่ใบหน้า เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดำรงพระสติเฉพาะพระพักตร์.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริ ได้แก่ อาศัย. บทว่า มุขํ ได้แก่. นำออก. บทว่า
สติ ได้แก่ บำรุง. ก็ในข้อนี้พึงเห็นเนื้อความตามนัยที่กล่าวไว้ในคัมภีร์
ปฏิสัมภิทามรรคว่า เตน วุจฺจติ ปริมุขํ สตึ เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ดำรง
สติเฉพาะหน้า ดังนี้. ในข้อนั้นมีความย่อดังนี้ว่า ทำสติกำหนดธรรมเครื่อง
นำออกจากทุกข์. ก็แลเมื่อประทับนั่งอย่างนี้ ได้ประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมี
ที่หนาทึบ ๖ สี. บทว่า นฏฺฐา โหนฺติ ความว่า โคที่พราหมณ์ใช้ไถนา
แล้วปล่อย เที่ยวไปปากดง หนีไปเมื่อพราหมณ์ไปบริโภคอาหาร. บทว่า.
อุปสงฺกมิ ความว่า พราหมณ์มีความโทมนัสครอบงำเที่ยวไป คิดว่า พระ-
สมณโคดมนี้ประทับนั่งเป็นสุขหนอ ดังนี้เข้าไปเฝ้า. บทว่า อชฺช สฏฐิ น
ทิสฺสนฺติ ความว่า หายไปประมาณ ๖๐ วัน เ ข้าวันนี้. บทว่า ปาปกา ได้แก่
ตอต้นงาที่เลว. ได้ยินว่า เมื่อพราหมณ์นั้นหว่านงาในไร่ ฝนได้ตกลงในวัน
นั้นเอง ทำเมล็ดงาจมลงในดินร่วน ไม่อาจผลิดอกออกผลได้. บนต้นที่เจริญ
งอกงามก็มีแมลงเล็ก ๆ บินมากินใบเป็นต้นเสีย เหลือไว้ต้นละใบสองใบ.
พราหมณ์ไปตรวจดูไร่เห็นดังนั้น จึงคิดว่า เราปลูกงาก็เพื่อหวังผลกำไร แต่งา
เหล่านั้นเสีย เสียแล้ว ได้เกิดโทมนัส เขาถือเอาเรื่องนั้น จึงกล่าวคาถานี้.
บทว่า อุสฺโสฬหิกาย ความว่า หนูทั้งหลายยกหูชูหางเป็นต้นเที่ยว
กระโดดโลดเต้นด้วยอุตสาหะ ได้ยินว่า พราหมณ์นั้น เมื่อโภคะสิ้นลงตาม
ลำดับ มีฉางเปล่าเพราะไม่มีสิ่งที่จะพึงใส่เข้าไป. หนูทั้งหลายมาทางโน้นทางนี้
จาก ๗ หลังคาเรือน เข้าไปในฉางเปล่าของพราหมณ์นั้น กระโดดโลดเต้น
เหมือนเล่นกีฬาในสวน เ ขากำหนดเรื่องนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า อุปฺปาทเกหิ สญฺฉนฺนโน ความว่า ดาดาษไปด้วยสัตว์เล็ก ๆ
ที่เกิดขึ้น ได้ยินว่าเครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าและใบไม้ ที่ปูลาดไว้ให้พราหมณ์
นั้นนอน ไม่มีใคร ๆ ปัดกวาดเป็นครั้งคราวเลย. พราหมณ์ทำงานในป่าตลอด
วัน มาในเวลาเย็น นอนบนเครื่องปูลาดนั้น. ลำดับนั้น แมลงเล็ก ๆ ที่เกิด
ขึ้น ย่อมเกาะกินสรีระของพราหมณ์นั้นเต็มไปหมด เขาถือเอาเรื่องนั้นจึงกล่าว
อย่างนี้
บทว่า วิธวา ได้แก่หญิงสามีตาย. ได้ยินว่า หญิงทั้งหลายแม้เป็น
หม้าย ก็ยังได้อยู่ในตระกูลสามีชั่วเวลาที่ยังมีสมบัติอยู่ในเรือนของพราหมณ์นั้น
แต่เมื่อใดเขาไร้ทรัพย์ เมื่อนั้นหญิงทั้งหลายที่ถูกแม่ผัวพ่อผัวเป็นต้นขับไล่ว่า
จงไปเรือนบิดา ดังนี้ ย่อมมาอยู่เรือนของพราหมณ์นั้นแหละ. ในเวลาพราหมณ์
บริโภค ชนเหล่าใดส่งบุตรไปว่า พวกเจ้าจงไปบริโภคร่วมกับพระผู้เป็นเจ้า
เมื่อชนเหล่านั้นหย่อนมือลงในถาด พราหมณ์ใดไม่ได้โอกาสจะใช้มือ (หยิบ
อาหาร) เขาหมายถึงพราหมณ์นั้นจงกล่าวคาถานี้.
บทว่า ปิงฺคลา ได้แก่มดดำมดแดงมดเหลือง. บทว่า ติลกาหตา
ได้แก่ มีตัวตกกระ มีสีดำและขาวเป็นต้น. บทว่า โสตฺตํ ปาเทน โปเถติ
ได้แก่ ใช้เท้าไต่ตอมปลุกผู้ที่นอนหลับให้ตื่น. ได้ยินว่าพราหมณ์นี้รำคาญด้วย
เสียงหนูและถูกแมลงเล็ก ๆ กัด ไม่ได้หลับตลอดคืน มาหลับได้เมื่อใกล้สว่าง
ลำดับนั้น พราหมณ์พอลืมตาขึ้นเท่านั้น เจ้าหนี้คนหนึ่งก็กล่าวกะพราหมณ์นั้น
ว่าจะทำอย่างไรละพราหมณ์ หนี้ที่ท่านกู้ในภายหลังและเมื่อก่อน ดอกเบี้ยเพิ่ม
พูนขึ้น ท่านยังจะต้องเลี้ยงธิดา ๗ คน บัดนี้ พวกเจ้าหนี้มาล้อมเรือน ท่าน
จงไปทำการงาน ดังนี้แล้ว ใช้เท้าถีบปลุกให้ตื่น เขาหมายเอาเรื่องนั้นจึงกล่าว
คาถานี้.
บทว่า อิณายิกา ได้แก่ผู้มีของให้เขากู้หนี้จากมือ. ได้ยินว่า พราหมณ์
นั้น กู้หนี้จากมือของตนบางคน ๑ กหาปณะ บางคน ๒ กหาปณะ บางคน
๑๐ กหาปณะ บางคน ๑๐๐ กหาปณะ รวมความว่า พราหมณ์ได้กู้หนี้จากมือ
ของคนหลายคน. เจ้าหนี้เหล่านั้นเมื่อไม่เห็นพราหมณ์ตอนกลางวัน คิดจะจับ
เขากำลังออกจากเรือนทีเดียว จึงไปทวงตอนใกล้รุ่ง พราหมณ์หมายเอาเรื่อง
นั้น จึงกล่าวคาถานี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพราหมณ์นั้นพรรณนาความทุกข์ด้วยคาถา ๗
คาถาเหล่านี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า พราหมณ์ ทุกข์ที่ท่านพรรณนามานั้นทั้งหมด
ไม่มีแก่เรา จึงใช้คาถาตอบพราหมณ์ขยายพระธรรมเทศนา. เพื่อจะแสดงว่า
พราหมณ์ฟังพระคาถาเหล่านั้น เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งอยู่ในสรณะ ๓
บวชแล้วบรรลุพระอรหัต. จึงตรัสพระดำรัสว่า เอวํ วุตฺเต ภารทฺวาโช
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลตฺล แปลว่า ได้แล้ว.
ก็แหละพระผู้มีพระภาคเจ้าให้พราหมณ์นั้นบวชแล้ว พาไปยังพระเชต
วันมหาวิหาร ในวันรุ่งขึ้นมีพระเถระนั้น เป็นปัจฉาสมณะได้เสด็จไปยังทวาร
พระราชมณเฑียรของพระเจ้าโกศล. พระราชาทรงสดับว่า พระศาสดาเสด็จมา
จึงเสด็จลงจากปราสาท ถวายบังคมแล้วทรงรับบาตรจากพระหัตถ์ อาราธนา
พระตถาคตให้เสด็จขึ้นบนปราสาท ให้ประทับนั่งเหนือพระแท่น ทรงล้างพระ-
ยุคลบาทด้วยน้ำหอม ทาด้วยน้ำมันที่หุงร้อยครั้ง ให้นำข้าวยาคูมา ทรงถือทัพพี
ทองด้ามเงิน ทรงน้อมเข้าไปถวายพระศาสดา. พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ปิด.
พระราชาทรงหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระตถาคตกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์มีโทษ ขอพระองค์โปรดอดโทษ. พระศาสดาตรัสว่า
ไม่มีโทษดอกมหาบพิตร. พระราชาตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร
พระองค์ไม่รับข้าวยาคู. ปลิโพธความกังวล มีอยู่มหาบพิตร. ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ก็เหตุไรเล่า ผู้ไม่รับข้าวยาคูพึงได้ปลิโพธ ข้าพระองค์สามารถทำ
ปลิโพธหรือ โปรดรับข้าวยาคูเถิดพระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงรับแล้ว แม้
พระเถระแก่หิวมานานจึงดื่มข้าวยาคูตามความต้องการ. พระราชาทรงถวาย
ขาทนียโภชนียะ. ในเวลาเสร็จภัตกิจ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์อุบัติในวงศ์โอกากราช ซึ่งมีมาตามประเพณี
ทรงละสิริราชสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงผนวชบรรลุความเป็นผู้เลิศใน
โลกแล้ว พระองค์ยังจะมีปลิโพธอะไรอีกเล่า พระเจ้าข้า. มหาบพิตร ความ
ปลิโพธของพระเถระผู้แก่รูปนี้ เป็นเช่นปลิโพธของอาตมาเหมือนกัน
พระราชา ทรงไหว้พระเถระตรัสถามว่า ท่านขอรับ ท่านมีปลิโพธ
อะไร. พระเถระถวายพระพรว่า มีความปลิโพธเรื่องหนี้ มหาบพิตร. เท่าไร
ขอรับ. ทรงนับดูเถิด มหาบพิตร. เมื่อพระราชาทรงนับว่า ๑, ๒, ๑๐๐, ๑,๐๐๐
ดังนี้ นิ้วพระหัตถ์ไม่พอ. ลำดับนั้น พระราชาตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่ง
ว่า พนายจงไปตีกลองร้องประกาศในพระนครว่า เจ้าหนี้ของพหุธิติกพราหมณ์
ทั้งหมด จงประชุมกันในพระลานหลวง. พวกมนุษย์ได้ยินเสียงกลองประชุม
กันแล้ว. พระราชาให้นำบัญชีมาจากมือของเจ้าหนี้เหล่านั้น ได้พระราชทาน
ทรัพย์ไม่หย่อนกว่าหนี้ที่กู้มาทั้งหมด. ในที่นั้นทองมีราคาหนึ่งแสน. พระราชา
ตรัสถามอีกว่า ท่านขอรับ ปลิโพธอื่นยังมีอีกไหม. พระเถระถวายพระพรว่า
พระมหาราชสามารถทรงใช้หนี้ให้แล้วตรัสถามจึงกล่าวว่า เด็กหญิง ๗ คนเหล่านี้
เป็นปลิโพธใหญ่ของอาตมา. พระราชาทรงส่งยานไปรับธิดาทั้งหลายของพระเถระ
นั้นมาทรงทำเป็นธิดาของพระองค์ แล้วทรงส่งไปยังเรือนตระกูลสามีนั้น ๆ
แล้วตรัสถามว่า ท่านขอรับ ยังมีปลิโพธอื่นอีกไหม. พระเถระถวายพระพรว่า
นางพราหมณี มหาบพิตร. พระราชาทรงส่งยานไปนำนางพราหมณีมาทรงตั้ง
ไว้ในตำแหน่งพระอัยยิกา แล้วตรัสถามอีกว่า ท่านขอรับ ยังมีปลิโพธอื่นอีก
ไหม. พระเถระถวายพระพรว่า ไม่มี มหาบพิตร. พระราชามีรับสั่งให้
พระราชทานผ้าจีวร ตรัสว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงทราบความเป็นภิกษุของ
ท่านว่าเป็นของข้าพเจ้า. พระเถระถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร
มหาบพิตร. ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า ท่านขอรับ ปัจจัยทุกอย่างมีจีวรเเละ
บิณฑบาตเป็นต้น จักเป็นของของพวกเราจัดถวาย ขอท่านจงยึดถือพระทัย
พระตถาคตบำเพ็ญสมณธรรมเถิด. พระเถระไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม
ตามนั้นทีเดียว ถึงความสิ้นอาสวะต่อกาลไม่นานนักแล.
จบอรรถกถาพหุฐิติสูตรที่ ๑๐

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!