15-187 ธนัญชานีพรหมณี



พระไตรปิฎก


๑. ธนัญชานีสูตร
ว่าด้วยธนัญชานีพราหมณี
[๖๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น นางพราหมณีชื่อธนัญชานี ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร
คนหนึ่ง เป็นผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
[๖๒๗] ครั้งนั้น นางธนัญชานีพราหมณี กำลังนำภัตรเข้าไปเพื่อพราหมณ์
ภารทวาชโคตร ก้าวเท้าพลาดจึงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อนางธนัญชานีพราหมณีกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กล่าว
กับนางธนัญชานีพราหมณีดังนี้ว่า “ก็หญิงถ่อยคนนี้กล่าวคุณของสมณะโล้นนั้น
อย่างนี้ อย่างนี้ ไม่ว่าในที่ไหน ๆ หญิงถ่อย บัดนี้ เราจักยกวาทะของพระศาสดานั้น
ของเจ้าบ้างละ”
นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า “พราหมณ์ ฉันยังไม่เห็นบุคคลผู้จะพึงยก
วาทะของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ท่านจงไป
เถิด ไปแล้วก็จักรู้เอง”
[๖๒๘] ครั้งนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรโกรธ ไม่พอใจ จึงเข้าไปหาพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ
ที่สมควร ได้กล่าวกับพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลกำจัดอะไรได้จึงอยู่เป็นสุข
กำจัดอะไรได้จึงไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม
พระองค์ทรงพอพระทัยการกำจัดธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร
[๖๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลกำจัดความโกรธได้จึงอยู่เป็นสุข
กำจัดความโกรธได้จึงไม่เศร้าโศก พราหมณ์
พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญการกำจัดความโกรธ
ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน
เพราะบุคคลกำจัดความโกรธนั้นได้แล้ว จึงไม่เศร้าโศก
[๖๓๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคล
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท
ในสำนักของพระโคดมผู้เจริญเถิด”
พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว
อนึ่ง ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม
อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ A ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
ต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว B ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ธนัญชานีสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเชิงอรรถข้อ ๑๗๔ หน้า ๒๓๕ ในเล่มนี้
B ดูเชิงอรรถข้อ ๑๗๔ หน้า ๒๓๕ ในเล่มนี้

บาลี



ธนฺชานีสุตฺต
[๖๒๖] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ
เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป ฯ เตน โข ปน สมเยน อฺตรสฺส
ภารทฺวาชโคตฺตสฺส พฺราหฺมณสฺส ธนฺชานี นาม พฺราหฺมณี
อภิปฺปสนฺนา โหติ พุทฺเธ จ ธมฺเม จ สงฺเฆ จ ฯ
[๖๒๗] อถ โข ธนฺชานี พฺราหฺมณี ภารทฺวาชโคตฺตสฺส
พฺราหฺมณสฺส ภตฺต อุปสหรนฺตี อุปกฺกมิตฺวา ๑ ติกฺขตฺตุ อุทาน
อุทาเนสิ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส … นโม
ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสาติ ฯ เอว วุตฺเต
ภารทฺวาชโคตฺโต พฺราหฺมโณ ธนฺชานึ พฺราหฺมณึ เอตทโวจ
เอวเมว ปนาย วสลี ยสฺมึ วา ตสฺมึ วา ตสฺส มุณฺฑกสฺส
สมณสฺส วณฺณ ภาสติ อิทานิ ตฺยาห วสลิ ตสฺส สตฺถุโน
วาท อาโรเปสฺสามีติ ฯ น ขฺวาหนฺต พฺราหฺมณ ปสฺสามิ สเทวเก
โลเก สมารเก สพฺรหฺมเก สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย
โย ตสฺส ภควโต วาท อาโรเปยฺย อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
อปิจ ตฺว พฺราหฺมณ คจฺฉ คนฺตฺวาปิ ชานิสฺสสีติ ฯ
[๖๒๘] อถ โข ภารทฺวาชโคตฺโต พฺราหฺมโณ กุปิโต
อนตฺตมโน เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควตา สทฺธึ
สมฺโมทิ สมฺโมทนีย กถ สาราณีย วีติสาเรตฺวา เอกมนฺต
นิสีทิ ฯ เอกมนฺต นิสินฺโน โข ภารทฺวาชโคตฺโต พฺราหฺมโณ
ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
กึสุ เฉตฺวา สุข เสติ กึสุ เฉตฺวา น โสจติ
กิสฺสสฺส เอกธมฺมสฺส วธ โรเจสิ โคตมาติ ฯ
[๖๒๙] โกธ เฉตฺวา สุข เสติ โกธ เฉตฺวา น โสจติ
โกธสฺส วิสมูลสฺส มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธ อริยา ปสสนฺติ ตฺหิ เฉตฺวา น โสจตีติ ฯ
[๖๓๐] เอว วุตฺเต ภารทฺวาชโคตฺโต พฺราหฺมโณ ภควนฺต
เอตทโวจ อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม เสยฺยถาปิ
โภ โคตม นิกฺกุชฺชิต วา อุกฺกุชฺเชยฺย ปฏิจฺฉนฺน วา วิวเรยฺย
มูฬฺหสฺส วา มคฺค อาจิกฺเขยฺย อนฺธกาเร วา เตลปชฺโชต ธาเรยฺย
จกฺขุมนฺโต รูปานิ ทกฺขนฺตีติ เอวเมว โภตา โคตเมน อเนกปริยาเยน
ธมฺโม ปกาสิโต เอสาห ภวนฺต โคตม สรณ คจฺฉามิ
ธมฺมฺจ ภิกฺขุสงฺฆฺจ ลเภยฺยาห โภโต โคตมสฺส สนฺติเก
ปพฺพชฺช ลเภยฺย อุปสมฺปทนฺติ ฯ อลตฺถ โข ภารทฺวาชโคตฺโต
พฺราหฺมโณ ภควโต สนฺติเก ปพฺพชฺช อลตฺถ อุปสมฺปท ฯ
อจิรูปสมฺปนฺโน โข ปนายสฺมา ภารทฺวาโช เอโก วูปกฏฺโ
อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต วิหรนฺโต น จิรสฺเสว ยสฺสตฺถาย
กุลปุตฺตา สมฺมเทว อคารสฺมา อนคาริย ปพฺพชนฺติ ตทนุตฺตร
พฺรหฺมจริยปริโยสาน ทิฏฺเว ธมฺเม สย อภิฺา สจฺฉิกตฺวา
อุปสมฺปชฺช วิหาสิ ขีณา ชาติ วุสิต พฺรหฺมจริย กต กรณีย
นาปร อิตฺถตฺตายาติ อพฺภฺาสิ ฯ อฺตโร จ ปนายสฺมา
ภารทฺวาโช อรหต อโหสีติ ฯ

******************

๑ โป. ม. อุปกฺขลิตฺวา ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาธนัญชานีสูตร
อรหันตวรรคสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธนญฺชานี ได้แก่ นางพราหมณี สกุลธนัญชานี ได้ยินว่า
นางพราหมณีมีสกุลสูง. เล่ากันมาว่า พวกพราหมณ์นอกนั้นเกิดแต่ปากของ
พรหม. พราหมณ์เหล่านั้นมีลัทธิดังนี้ว่า สกุลธนัญชานีทำลายกระหม่อมออกมา.
บทว่า อุทานํ อุทาเนสิ ความว่า ถามว่าเพราะเหตุไร พราหมณีจึงได้
เปล่งวาจา ได้ยินว่า พราหมณ์สามีนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อนางกล่าวว่า พุทฺโธ
ธมฺโม สงฺโฆ ก็ปิดหูเสีย เป็นคนกระด้างเสมือนตอไม้ตะเคียน ส่วนพราหมณี
เป็นอริยสาวกผู้โสดาบัน. พราหมณ์เมื่อให้ทาน ย่อมให้ข้าวปายาสมีน้ำน้อย
แก่พราหมณ์ ๕๐๐ คน. พราหมณีได้ให้โภชนะมีรสต่าง ๆ แก่หมู่ภิกษุมี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ในวันที่พราหมณ์ให้ทาน พราหมณีได้อังคาสด้วย
มือของตน เพราะอยู่ในอำนาจของพราหมณ์นั้น และเพราะละความตระหนัก
เสียได้. แต่ในวันที่พราหมณีให้ทาน พราหมณ์ก็หนีออกไปจากเรือนแต่เช้าตรู่
ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์จึงปรึกษากับพราหมณี เชิญพราหมณ์ ๕๐๐ มาแล้ว
กล่าวกะพราหมณีว่า แน่ะแม่จำเริญ พรุ่งนี้ พราหมณ์ ๕๐๐ คน จักบริโภคใน
เรือนของเรานะ. นางถามว่า ฉันจะช่วยอะไรได้บ้างละพราหมณ์. พราหมณ์
กล่าวว่า ไม่มีกิจอะไรอื่นที่เจ้าจะต้องช่วยดอก คนเหล่าอื่นจักการทำการหุงต้ม
และอังคาสทั้งหมด ข้อที่เจ้ายืนก็ดี นั่งก็ดี จามก็ดี ไอก็ดี ทำการนอบน้อม
แก่สมณะโล้นนั้นว่า นโม พุทฺธสฺส นั้น พรุ่งนี้ เจ้าอย่าทำสิ่งนั้นสักวันหนึ่งเถิด
ด้วยว่าพราหมณ์ทั้งหลายได้ยินดังนั้นแล้วจะไม่พอใจ เจ้าอย่าทำเราให้แตก
จากพราหมณ์ทั้งหลายเลย. นางกล่าวว่า ท่านจะแตกจากพราหมณ์ก็ดี จาก
เทวดาก็ดี ส่วนฉันระลึกถึงพระศาสดา ไม่นอบน้อม ไม่สามารถที่จะอดกลั้น
อยู่ได้ พราหมณ์กล่าวว่า แน่ะแม่มหาจำเริญ ก่อนอื่น เจ้าต้องพยายามปิด
ประตูบ้านในบ้าน ๑๐๐ ตระกูล เมื่อไม่สามารถจะปิดปากที่จะพึงปิดด้วย
ทั้ง ๒ ชั่วเวลาที่พวกพราหมณ์บริโภค. พราหมณ์นั้นแม้พูดซ้ำซาก อย่างนี้
ก็ไม่อาจห้ามได้ด้วยความรัก จึงถือเอาพระขรรค์ที่วางไว้บนหัวนอนกล่าวว่า
แม่มหาจำเริญ เมื่อพราหมณ์นั่งประชุมกันพรุ่งนี้ ถ้าเจ้านมัสการสมณโล้น
นั้นไซร้ เราจะเอาพระขรรค์เล่มนี้สับเจ้า ตั้งแต่พื้นเท้าจนถึงปลายผม ทำให้
เป็นกองเหมือนหน่อไม้ ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ถ้าเจ้ายังอยู่ในเรือนของเรา ไม่ทำ
ตามสิ่งที่เราปรารถนา ยังจะพูดอยู่ว่า
พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ดังนี้ เราจะเอา
พระขรรค์เล่มนี้บั่นเจ้า ตั้งแต่เท่าจนถึง
ศีรษะ เหมือนบั่นหน่อไม้.
ส่วนพราหมณี ผู้เป็นอริยสาวิกา ไม่มีความหวั่นไหวเหมือนแผ่นดิน
ไม่มีความสะทกสะท้านเหมือนภูเขาสิเนรุ. เพราะฉะนั้น นางจึงกล่าวกะ
พราหมณ์นั้น อย่างนี้ว่า
ท่านพราหมณ์ ถ้าท่านจะตัดอวัยวะ
น้อยใหญ่ของเราก็ตาม เราจะไม่เว้นจาก
ศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐเลย
ท่านไม่อาจห้ามเราจากพระชินเจ้าผู้ทรงคุณ
อันประเสริฐ เป็นที่พึ่งอาศัยของเราได้
ดอก ท่านจะตัดหรือจะต้มเราก็ตามทีเถิด
เราก็ชื่อว่าเป็นธิดาของพระพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐแล้ว.
ธนัญชานีพราหมณี ขู่พราหมณ์ผู้คุกคาม จึงได้กล่าวคาถา ๕๐๐ คาถา
ด้วยประการฉะนี้. พราหมณ์ไม่อาจจับต้องหรือตีพราหมณี กล่าวว่า แม่มหา
จำเริญ เจ้าจงทำตามที่เจ้าชอบใจเถิด แล้วก็โยนพระขรรค์ไปบนที่นอน. ใน
วันรุ่งขึ้น จึงให้สร้างเรือนฉาบด้วยของเขียวสด ให้ประดับด้วยข้าวตอกหม้อ
เต็มด้วยน้ำดอกไม้และของหอมเป็นต้นในที่นั้น ๆ แล้วให้จัดข้าวปายาสมีน้ำน้อย
ปรุงด้วยเนยข้นเนยใสน้ำตาลกรวดและน้ำผึ้ง แล้วให้บอกเวลาแก่พราหมณ์
๕๐๐ คน.
ฝ่ายพราหมณีเองอาบน้ำหอมแต่เช้าตรู่ นุ่งผ้าใหม่มีราคา ๑,๐๐๐ เอา
ผ้ามีราคา ๕๐๐ เฉวียงบ่า ประดับด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ถือทัพพีทอง
อังคาสเลี้ยงดูพวกพราหมณ์ในโรงอาหาร น้อมนำอาหารไปให้พราหมณ์นั้น
ผู้นั่งในแถวเดียวกับพราหมณ์เหล่านั้น ลื่นลงที่กองไม้ที่เขาเก็บไว้ไม่เรียบร้อย.
ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแก่นาง เพราะกระแทกในการลื่นล้มลง. ขณะนั้นนางระลึก
ถึงพระทศพล. แต่เพราะนางสมบูรณ์ด้วยสติ นางก็ไม่ทิ้งถาดข้าวปายาส ค่อยๆ
วางลงที่พื้น ประคองอัญชลีเหนือเศียร ในท่ามกลางพราหมณ์ ๕๐๐ คน
แล้วน้อมอัญชลีไปทางพระวิหารเชตวัน จึงได้เปล่งอุทานนี้.
ก็เวลานั้น บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น บางพวกบริโภคเสร็จแล้ว
บางพวกกำลังบริโภค บางพวกพอลงมือ บางพวกเพียงวางโภชนะไว้ข้างหน้า
พราหมณ์เหล่านั้น พอได้ยินเสียงนั้น เป็นเสมือนถูกฆ้อนเท่าภูเขาสิเนรุฟาดลง
บนศีรษะ และเหมือนถูกหลาวแทงที่หู เสวยทุกข์โทมนัสโกรธว่า พวกเรา
ถูกคนนอกลัทธินี้ ลวงเราให้เข้าไปสู่เรือน จึงทิ้งก้อนข้าว คายสิ่งที่อมไว้
เป็นเหมือนกาเห็นธนู พลางด่าพราหมณ์พากันหลีกไปคนละทิศคนละทาง.
พราหมณ์เห็นพวกพราหมณ์ต่างพากันแยกไปอย่างนั้น มองดูนางพราหมณีตั้ง
แต่ศีรษะ คิดว่า พวกเราเห็นภัยนี้แล จึงขอร้องนางมหาจำเริญตั้งแต่วันวาน
ก็ไม่ได้ จึงด่านางพราหมณีโดยประการต่าง ๆ แล้วได้กล่าวกะนางมีอาทิว่า
เอวเมว ปน ดังนี้.
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า พราหมณ์ไปด้วยคิดว่าพระสมณโคดม
ผู้อันชาวบ้านชาวนิคมและชาวแว่นแคว้นบูชาแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจจะไปว่ากล่าว
คุกคามอย่างใด ๆ ได้ จำเราจักถามปัญหาสักข้อหนึ่ง จึงได้แต่งคาถาว่า กึสุ
ฆตฺวา เป็นต้น แล้วคิดว่า ถ้าพระสมณโคดมจักกล่าวว่า เราชอบใจการฆ่า
บุคคลชื่อโน้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักข่มท่านว่า ท่านปรารถนาจะฆ่าเหล่าชน
ที่ท่านไม่ชอบใจ ท่านเกิดมาเพื่อจะฆ่าโลก ความเป็นสมณะของท่านจะมี
ประโยชน์อะไร ถ้าพระสมณโคดมจักกล่าวว่า เราไม่ชอบใจการฆ่าใคร ๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะข่มท่านว่า ท่านไม่ปรารถนาจะฆ่ากิเลสมีราคะเป็นต้น
เพราะเหตุไร ท่านจึงเป็นสมณะเที่ยวไป ดังนั้น ปัญหา ๒ เงื่อนนี้ พระ-
สมณโคดมก็จะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป. บทว่า สมฺโมทิ
ความว่า พราหมณ์ไม่แสดงความโกรธ เพราะคนเป็นบัณฑิต จึงกล่าวถ้อยคำ
ไพเราะชื่นชมกัน. ท่านกล่าวปัญหาไว้ในเทวตาสังยุต. แม้คำที่เหลือท่านกล่าว
ไว้พิสดารแล้วในหนหลังแล.
จบอรรถกถาธนัญชานีสูตรที่ ๑

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!