15-163 โสมาภิกษุณี
พระไตรปิฎก
๒. โสมาสูตร
ว่าด้วยโสมาภิกษุณี
[๕๒๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า โสมาภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้วจึงนั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้
แห่งหนึ่ง
[๕๒๖] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้โสมาภิกษุณีเกิดความกลัว ความหวาด
สะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหา
โสมาภิกษุณีถึงที่นั่งพักแล้ว ได้กล่าวกับโสมาภิกษุณีด้วยคาถาว่า
ฐานะใดอันประเสริฐอย่างยิ่ง
คือพระอรหัตซึ่งฤาษีทั้งหลายพึงบรรลุ
อันบุคคลเหล่าอื่นให้สำเร็จได้ยาก
ท่านเป็นหญิงมีปัญญาแค่ ๒ นิ้ว A
ไม่สามารถจะบรรลุฐานะนั้นได้ B
[๕๒๗] ลำดับนั้น โสมาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็น
มนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น โสมาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือ
มารผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง
สยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล โสมาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมารผู้มีบาป
ด้วยคาถาว่า
เมื่อจิตตั้งมั่นดี เมื่อญาณเป็นไปอยู่
เมื่อเห็นแจ้งธรรมโดยชอบ
ความเป็นหญิงจะทำอะไรเราได้
ผู้ใดมีความคิดเห็นแน่นอนอย่างนี้ว่า
เราเป็นสตรีหรือว่าเราเป็นบุรุษ
ผู้ที่ยังมีความเกาะเกี่ยวว่าเรา มีอยู่
มารควรจะกล่าวกับผู้นั้นเถิด C
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “โสมาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัวไป
ณ ที่นั้นเอง
โสมาสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A มีปัญญาแค่ ๒ นิ้ว หมายถึงมีปัญญาน้อย คือมีปัญญาแค่ใช้สองนิ้วหยิบปุยฝ้ายกรอด้าย (สํ.ส.อ.
๑/๑๖๓/๑๘๐)
B ดู ขุ.เถรี. (แปล) ๒๖/๖๑/๕๖๕
C ดู ขุ.เถรี. (แปล) ๒๖/๖๑/๕๖๕
บาลี
โสมาสุตฺต
[๕๒๕] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข โสมา ภิกฺขุนี ปุพฺพณฺหสมย
นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย สาวตฺถึ ปิณฺฑาย ปาวิสิ สาวตฺถิย
ปิณฺฑาย จริตฺวา ปจฺฉาภตฺต ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺตา เยน อนฺธวน
เตนุปสงฺกมิ ทิวาวิหาราย อนฺธวน อชฺโฌคเหตฺวา ๑ อฺตรสฺมึ
รุกฺขมูเล ทิวาวิหาร นิสีทิ ฯ
[๕๒๖] อถ โข มาโร ปาปิมา โสมาย ภิกฺขุนิยา ภย ฉมฺภิตตฺต
โลมหส อุปฺปาเทตุกาโม สมาธิมฺหา จาเวตุกาโม เยน โสมา ภิกฺขุนี
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา โสม ภิกฺขุนึ คาถาย อชฺฌภาสิ
ยนฺต อิสีหิ ปตฺตพฺพ าน ทุรภิสมฺภว
น ต ทฺวงฺคุลปฺาย สกฺกา ปปฺโปตุมิตฺถิยาติ ฯ
[๕๒๗] อถ โข โสมาย ภิกฺขุนิยา เอตทโหสิ โก นุ โข อย
มนุสฺโส วา อมนุสฺโส วา คาถ ภาสตีติ ฯ อถ โข โสมาย
ภิกฺขุนิยา เอตทโหสิ มาโร โข อย ปาปิมา มม ภย ฉมฺภิตตฺต
โลมหส อุปฺปาเทตุกาโม สมาธิมฺหา จาเวตุกาโม คาถ ภาสตีติ ฯ
อถ โข โสมา ภิกฺขุนี มาโร อย ปาปิมา อิติ วิทิตฺวา มาร
ปาปิมนฺต คาถาหิ อชฺฌภาสิ
อิตฺถีภาโว กึ กยิรา จิตฺตมฺหิ สุสมาหิเต
าณมฺหิ วตฺตมานมฺหิ สมฺมา ธมฺม วิปสฺสโต
ยสฺส นูน สิยา เอว อิตฺถีห ปุริโสติ วา
กิฺจิ วา ปน อสฺมีติ ต มาโร วตฺตุมรหตีติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ ม โสมา ภิกฺขุนีติ ทุกฺขี ทุมฺมโน
ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
******************
๑ โป. ม. อชฺโฌคาเหตุวา ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาโสมาสูตร
ในโสมาสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฐานํ ได้แก่ พระอรหัต. บทว่า ทุรภิสมฺภวํ ได้แก่
ทนได้ยาก. บทว่า ทฺวงฺคุลปญฺาย ได้แก่ ปัญญาเล็กน้อย อีกอย่างหนึ่ง
หญิงชื่อว่า ทฺวงฺคุลปญฺา เพราะใช้สองนิ้วหยิบปุยฝ้ายกรอด้าย. บทว่า
าณมฺหิ วตฺตมานมฺหิ ความว่า เมื่อญาณในผลสมาบัติเป็นไปอยู่. บทว่า
ธมฺมํ วิปสฺสโต ความว่า ผู้เห็นแจ้งธรรมคือสัจจะ ๔ หรือเห็นเฉพาะ
เบญจขันธ์ อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาในส่วนเบื้องต้น. บทว่า กิญฺจิ วา
ปน อสฺมีติ ความว่า หรือความกังวลอื่น ๆ จะพึงมีแก่ผู้ใดด้วยตัณหามานะ
และทิฐิว่า เป็นเรา ดังนี้.
จบอรรถกถาโสมาสูตรที่ ๒