15-162 อาฬวิกาภิกษุณี
พระไตรปิฎก
๑. อาฬวิกาสูตร
ว่าด้วยอาฬวิกาภิกษุณี
[๕๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า อาฬวิกาภิกษุณีครองอันตรวาสก
ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว ต้องการวิเวก(ความสงัด) จึงเข้าไปในป่าอันธวัน
[๕๒๓] ลำดับนั้นมารผู้มีบาปประสงค์จะให้อาฬวิกาภิกษุณีเกิดความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากวิเวก
จึงเข้าไปหาอาฬวิกาภิกษุณีถึงที่อยู่ได้กล่าวกับอาฬวิกาภิกษุณีด้วยคาถาว่า
ในโลกไม่มีเครื่องสลัดออก(จากทุกข์)
ท่านจักทำอะไรด้วยวิเวกเล่า
ท่านจงเสพความยินดีในกามเถิด
อย่าได้มีความเสียใจในภายหลังเลย
[๕๒๔] ลำดับนั้น อาฬวิกาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา
จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” อาฬวิกาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือมาร
ผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า
และประสงค์จะให้เคลื่อนจากวิเวก จึงกล่าวคาถา” อาฬวิกาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือ
มารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
ในโลกนี้มีเครื่องสลัดออก(จากทุกข์)
เราสัมผัสดีแล้วด้วยปัญญา
มารผู้มีบาป ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท
ท่านไม่รู้จักทางนั้น
กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว
กองกามทั้งหลายนั้นประหนึ่งผีร้าย
ท่านกล่าวความยินดีในกามใด
ความไม่ยินดีนั้นได้มีแล้วแก่เรา
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “อาฬวิกาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัว
ไป ณ ที่นั้นเอง
อาฬวิกาสูตรที่ ๑ จบ
บาลี
อาฬวิกาสุตฺต
[๕๒๒] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาตฺถิย วิหรติ
เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ อถ โข อาฬวิกา ภิกฺขุนี
ปุพฺพณฺหสมย นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย สาวตฺถึ ปิณฺฑาย
ปาวิสิ สาวตฺถิย ปิณฺฑาย จริตฺวา ปจฺฉาภตฺต ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺตา
เยน อนฺธวน เตนุปสงฺกมิ วิเวกตฺถิกินี ๑ ฯ
[๕๒๓] อถ โข มาโร ปาปิมา อาฬวิกาย ภิกฺขุนิยา ภย
ฉมฺภิตตฺต โลมหส อุปฺปาเทตุกาโม วิเวกมฺหา จาเวตุกาโม เยน
อาฬวิกา ภิกฺขุนี เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา อาฬวิก ภิกฺขุนึ
คาถาย อชฺฌภาสิ
นตฺถิ นิสฺสรณ โลเก กึ วิเวเกน กาหสิ
ภฺุชสฺสุ กามรติโย มาหุ ปจฺฉานุตาปินีติ ฯ
[๕๒๔] อถ โข อาฬวิกาย ภิกฺขุนิยา เอตทโหสิ โก นุ โข
อย มนุสฺโส วา อมนุสฺโส วา คาถ ภาสตีติ ฯ อถ โข อาฬวิกาย
ภิกฺขุนิยา เอตทโหสิ มาโร โข อย ปาปิมา มม ภย ฉมฺภิตตฺต
โลมหส อุปฺปาเทตุกาโม วิเวกมฺหา จาเวตุกาโม คาถ ภาสตีติ ฯ
อถ โข อาฬวิกา ภิกฺขุนี มาโร อย ปาปิมา อิติ วิทิตฺวา มาร
ปาปิมนฺต คาถาหิ อชฺฌภาสิ
อตฺถิ นิสฺสรณ โลเก ปฺาย เม สุผุสฺสิต
ปมตฺตพนฺธุ ปาปิม น ตฺว ชานาสิ ต ปท
สตฺติสูลูปมา กามา ขนฺธาส อธิกุฏฺนา
ย ตฺว กามรตึ พฺรูสิ อรติ มยฺห สา อหูติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ ม อาฬวิกา ภิกฺขุนีติ ทุกฺขี
ทุมฺมโน ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
******************
๑ ม. วิเวกตฺถินี ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาอาฬวิกาสูตร
ในภิกขุนีสังยุตอาฬวิกาสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาฬวิกา ความว่า ผู้เกิดในเมืองอาฬวี และออกบวชจากเมือง
อาฬวีนั่นแล. บทว่า อนฺธวนํ ความว่า ป่าที่นับว่าอันธวัน ตั้งแต่เวลาที่
พวกโจร ๕๐๐ คน ควักนัยน์ตาทั้งสองของพระอริยบุคคล (อนาคามี) ผู้กล่าว
ธรรม นามว่ายโสธร ผู้รวบรวมทรัพย์มาเพื่อสร้างพระเจดีย์พระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ตนเองก็ตาแตกอยู่ในที่นั้นนั่นเอง. เขาว่าป่านั้น
เป็นป่าสงวนในเนื้อที่ประมาณคาวุตหนึ่ง ทางด้านทิศทักษิณกรุงสาวัตถี ผู้ที่
ต้องการวิเวกและภิกษุณีทั้งหลายก็พากันไปในป่านั้น. เพราะฉะนั้น แม้ภิกษุณี
อาฬวิกานี้ ก็มีความต้องการวิเวก จึงเข้าไปทางป่านั้น. บทว่า นิสฺสรณํ
ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า ปญฺาย ได้แก่ด้วยปัจจเวกขณญาณ. บทว่า
น ตฺวํ ชานาสิ ตํ ปทํ ความว่า ท่านไม่รู้ทางพระนิพพาน หรือทางสวรรค์
อันไปสู่พระนิพพาน. บทว่า สตฺติสูลูปมา ได้แก่ เสมือนกับหอกและหลาว
เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องทิ่มแทง. บทว่า ขนฺธาสํ อธิกุฏฺฐานา ความว่า
กองกามเหล่านั้นเป็นเหมือนฝีร้าย.
จบอรรถกถาอาฬวิกาสูตรที่ ๑