15-161 ธิดามาร



พระไตรปิฎก


๕. มารธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดามาร
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปครั้นกล่าวคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่าย
เหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงหลีกจากที่นั้นไปนั่งขัดสมาธิที่พื้นดิน
ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค เป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ
ใช้ไม้เขี่ยพื้นดินอยู่
[๕๐๕] ครั้งนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เข้าไปหามาร
ผู้มีบาปถึงที่อยู่แล้ว กล่าวกับมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
ท่านพ่อ ท่านเสียใจด้วยเหตุไร
หรือเศร้าโศกถึงบุรุษคนไหน
พวกดิฉันจักใช้บ่วงคือราคะนำมาถวาย
เหมือนบุคคลคล้องช้างป่านำมา ฉะนั้น
บุรุษนั้นจักตกอยู่ในอำนาจของท่านพ่อ
[๕๐๖] มารกล่าวว่า
บุรุษนั้นเป็นพระอรหันต์
เป็นพระสุคตในโลก ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารได้แล้ว
ใคร ๆ พึงนำมาด้วยราคะไม่ได้ง่าย ๆ
เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก
[๕๐๗] ครั้งนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ พวก
หม่อมฉันจะขอปรนนิบัติพระยุคลบาทของพระองค์”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคไม่ทรงใส่พระทัยถึงคำของธิดามารนั้น เนื่องจาก
พระองค์ทรงหลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
[๕๐๘] ต่อมา ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ
ที่สมควรแล้วปรึกษากันอย่างนี้ว่า “พวกบุรุษมีความประสงค์ต่าง ๆ กัน ทางที่ดี
พวกเราควรเนรมิตเพศเป็นสาววัยรุ่น คนละหนึ่งร้อย”
ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา จึงเนรมิตเพศเป็น
สาววัยรุ่นคนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วกราบทูลดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอปรนนิบัติพระยุคลบาทของพระองค์”
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงใส่พระทัยถึงคำของธิดามารนั้น เนื่องจากพระองค์ทรง
หลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
[๕๐๙] ต่อมา ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ
ที่สมควรแล้วปรึกษากันอย่างนี้ว่า “พวกบุรุษมีความประสงค์ต่าง ๆ กัน ทางที่ดี
พวกเราควรเนรมิตเพศเป็นผู้หญิงที่ยังไม่เคยคลอดบุตรคนละหนึ่งร้อย”
ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เนรมิตเพศ
เป็นหญิงที่ยังไม่เคยคลอดบุตรคนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอปรนนิบัติพระยุคลบาท
ของพระองค์”
แม้ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย เนื่องจากพระองค์
ทรงหลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
[๕๑๐] ฝ่ายนางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ ที่สมควรแล้ว
ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “พวกบุรุษมีความประสงค์ต่าง ๆ กัน ทางที่ดีพวกเราควร
เนรมิตเพศเป็นหญิงคลอดบุตรแล้วคราวเดียวคนละหนึ่งร้อย”
ลำดับนั้น นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงคลอดบุตรแล้วคราวเดียว
คนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรง
หลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
[๕๑๑] ต่อมา นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงที่คลอดบุตรแล้ว ๒ คราว
คนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรง
หลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
[๕๑๒] ลำดับนั้น นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงกลางคนคนละหนึ่งร้อย
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรงหลุดพ้น เพราะ
ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
[๕๑๓] ลำดับนั้น นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงแก่คนละหนึ่งร้อย เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรงหลุดพ้น เพราะธรรม
เป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว
[๕๑๔] ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ
ที่สมควรแล้วพูดกันว่า “เรื่องนี้จริงดังบิดาของเราได้พูดไว้ว่า
บุรุษนั้นเป็นพระอรหันต์
เป็นพระสุคตในโลก ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารได้แล้ว
ใคร ๆ พึงนำมาด้วยราคะไม่ได้ง่าย ๆ
เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก
อนึ่ง ถ้าพวกเราพึงเล้าโลมสมณะหรือพราหมณ์ใดที่ยังไม่หมดราคะ ด้วยความ
พยายามอย่างนี้ หทัยของสมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงแตก โลหิตอุ่น ๆ พึงพุ่งออก
จากปาก หรือเขาพึงบ้า หรือว่ามีจิตฟุ้งซ่าน เหมือนอย่างต้นอ้อสดถูกลมพัดขาด
เหี่ยวเฉาแห้งไป แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงหงอยเหงา ซูบซีดเหี่ยวแห้งไป
ฉันนั้นเหมือนกัน”
[๕๑๕] ครั้นแล้ว ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร นางตัณหาธิดามารยืนอยู่ ณ
ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านถูกความเศร้าโศกทับถมหรือ
จึงมาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้
ท่านเสื่อมจากทรัพย์สมบัติหรือ
หรือว่ากำลังปรารถนาอะไรอยู่
ท่านได้ทำความเสียหายร้ายแรงอะไรไว้ในหมู่บ้านหรือ
เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวงเล่า
หรือว่าท่านเป็นมิตรกับใคร ๆ ไม่ได้ A
[๕๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เราชนะเสนามารคือรูปที่น่ารัก
และรูปที่น่าพอใจแล้ว เพ่งพินิจอยู่ผู้เดียว ได้รู้ความสุข
เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวง
เพราะความเป็นมิตรกับใคร ๆ ไม่สำเร็จประโยชน์แก่เรา
[๕๑๗] ลำดับนั้น นางอรดีธิดามาร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ภิกษุในศาสนานี้มากไปด้วยวิหารธรรมอย่างไหน
จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ B ได้
บัดนี้ ท่านข้ามโอฆะที่ ๖ C ได้แล้วหรือ
บุคคลเพ่งฌานอย่างไหนมาก
กามสัญญาทั้งหลายจับยึดเขาไม่ได้ จึงห่างเหินไป
[๕๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลมีกายอันสงบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอะไร ๆ เป็นเครื่องปรุงแต่ง
มีสติ ไม่มีความอาลัย รู้ทั่วธรรม
มีปกติเพ่งพินิจอยู่ด้วยฌานที่ ๔ อันหาวิตกมิได้
ย่อมไม่กำเริบ ไม่ซ่านไป ไม่เป็นผู้ย่อท้อ
ภิกษุในศาสนานี้มากไปด้วยวิหารธรรมอย่างนี้
จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ ได้
บัดนี้ เธอข้ามโอฆะที่ ๖ ได้แล้ว
ภิกษุผู้เพ่งฌานอย่างนี้มาก
กามสัญญาทั้งหลายจับยึดเธอไม่ได้ จึงห่างเหินไป
[๕๑๙] ลำดับนั้น นางราคาธิดามาร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
พระศาสดาผู้นำหมู่สงฆ์
ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว และชนผู้มีศรัทธาเป็นอันมาก
จักประพฤติตามได้แน่
พระศาสดาพระองค์นี้เป็นผู้ไม่มีความอาลัย
ตัดขาดจากมือมัจจุราชได้แล้ว
จักนำหมู่ชนเป็นอันมากไปสู่ฝั่งได้แน่
[๕๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พระตถาคตทั้งหลายผู้เป็นมหาวีระ
ย่อมนำสัตว์ไปด้วยพระสัทธรรม
เมื่อพระตถาคตนำไปอยู่โดยธรรม
ความริษยาจะมีแก่ท่านผู้รู้ได้อย่างไร
[๕๒๑] ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันเข้าไปหา
มารผู้มีบาปถึงที่อยู่ มารผู้มีบาปเห็นธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา
มาแต่ไกล จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า
พวกเธอช่างโง่เขลา พากันทำลายภูเขาด้วยก้านบัว
ขุดภูเขาด้วยเล็บ เคี้ยวเหล็กด้วยฟัน
พวกเธออาศัยพระโคดมหาที่พึ่ง
จะเป็นดุจคนวางหินไว้บนศีรษะแล้วเจาะหาที่พึ่งในบาดาล ฉะนั้น
พวกเธอเหมือนเอาหนามมายอกอก(พ่อ) จงหลีกไปเสียเถิด
(พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า)
พระศาสดาได้ขับไล่นางตัณหา นางอรดี และนางราคา
ผู้มีรูปน่าทัศนายิ่ง ซึ่งได้มาในที่นั้นให้หนีไป
ดุจลมพัดปุยนุ่น ฉะนั้น
มารธีตุสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบคาถาข้อ ๑๖๐ หน้า ๒๐๘ ในเล่มนี้
B โอฆะทั้ง ๕ ในที่นี้หมายถึงโอฆะคือกิเลสอันเป็นไปทางทวารทั้ง ๕ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย) (สํ.ส.อ.
๑/๑๖๑/๑๗๙)
C โอฆะที่ ๖ หมายถึงโอฆะคือกิเลสอันเป็นไปทางมโนทวาร ได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นในใจ (สํ.ส.อ. ๑/๑๖๑/๑๗๙)

บาลี



มารธีตุสุตฺต
[๕๐๕] อถ โข ตณฺหา จ อรตี จ ราคา จ มารธีตโร
เยน มาโร ปาปิมา เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา มาร ปาปิมนฺต
คาถาย อชฺฌภาสึสุ
เกนาสิ ทุมฺมโน ตาต ปุริส ก นุ โสจสิ
มย ต ราคปาเสน อรฺมิว กุฺชร
พนฺธิตฺวา อานยิสฺสาม วสโค เต ภวิสฺสตีติ ฯ
[๕๐๖] อรห สุคโต โลเก น ราเคน สุวานโย
มารเธยฺย อติกฺกนฺโต ตสฺมา โสจามห ภุสนฺติ ฯ
[๕๐๗] อถ โข ตณฺหา จ อรตี จ ราคา จ มารธีตโร
เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต เอตทโวจุ
ปาเท เต สมณ ปริจาเรมาติ ฯ อถ โข ภควา น มนสากาสิ
ยถาต อนุตฺตเร อุปธิสงฺขเย วิมุตฺโต ฯ
[๕๐๘] อถ โข ตณฺหา จ อรตี จ ราคา จ มารธีตโร
เอกมนฺต อปกฺกมฺม เอว สมจินฺเตสุ อุจฺจาวจา โข ปุริสาน
อธิปฺปายา ยนฺนูน มย เอกสตเอกสต กุมารีวณฺณสต อภินิมฺมิเนยฺยามาติ ฯ
อถ โข ตณฺหา จ อรตี จ ราคา จ มารธีตโร
เอกสตเอกสต กุมารีวณฺณสต อภินิมฺมินิตฺวา เยน ภควา
เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต เอตทโวจุ ปาเท เต สมณ
ปริจาเรมาติ ฯ ตมฺปิ ภควา น มนสากาสิ ยถาต อนุตฺตเร
อุปธิสงฺขเย วิมุตฺโต ฯ
[๕๐๙] อถ โข ตณฺหา จ อรตี จ ราคา จ มารธีตโร
เอกมนฺต อปกฺกมฺม เอว สมจินฺเตสุ อุจฺจาวจา โข ปุริสาน
อธิปฺปายา ยนฺนูน มย เอกสตเอกสต อวิชาตวณฺณสต อภินิมฺมิเนยฺยามาติ ฯ
อถ โข ตณฺหา จ อรตี จ ราคา จ มารธีตโร
เอกสตเอกสต อวิชาตวณฺณสต อภินิมฺมินิตฺวา เยน ภควา
เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต เอตทโวจุ ปาเท เต สมณ
ปริจาเรมาติ ฯ ตมฺปิ ภควา น มนสากาสิ ยถาต อนุตฺตเร
อุปธิสงฺขเย วิมุตฺโต ฯ
[๕๑๐] อถ โข ตณฺหา จ อรตี จ ราคา จ มารธีตโร
เอกมนฺต อปกฺกมฺม เอว สมจินฺเตสุ อุจฺจาวจา โข ปุริสาน
อธิปฺปายา ยนฺนูน มย เอกสตเอกสต สกึ วิชาตวณฺณสต
อภินิมฺมิเนยฺยามาติ ฯ อถ โข ตณฺหา จ ฯเปฯ สกึ วิชาตวณฺณสต
อภินิมฺมินิตฺวา เยน ภควา ฯเปฯ ยถาต อนุตฺตเร อุปธิสงฺขเย
วิมุตฺโต ฯ
[๕๑๑] อถ โข ตณฺหา จ ฯเปฯ ทุวิชาตวณฺณสต
อภินิมฺมินิตฺวา เยน ภควา ฯเปฯ ยถาต อนุตฺตเร อุปธิสงฺขเย
วิมุตฺโต ฯ
[๕๑๒] อถ โข ตณฺหา จ ฯเปฯ มชฺฌิมิตฺถีวณฺณสต
อภินิมฺมิเนยฺยามาติ ฯ อถ โข ตณฺหา จ ฯเปฯ มชฺฌิมิตฺถีวณฺณสต
อภินิมฺมินิตฺวา เยน ภควา ฯเปฯ ยถาต อนุตฺตเร
อุปธิสงฺขเย วิมุตฺโต ฯ
[๕๑๓] อถ โข ตณฺหา จ ฯเปฯ มหิตฺถีวณฺณสต อภินิมฺมิเนยฺยามาติ ฯ
อถ โข ตณฺหา จ ฯเปฯ มหิตฺถีวณฺณสต อภินิมฺมินิตฺวา
เยน ภควา ฯเปฯ ยถาต อนุตฺตเร อุปธิสงฺขเย วิมุตฺโต ฯ
[๕๑๔] อถ โข ตณฺหา จ อรตี จ ราคา จ มารธีตโร
เอกมนฺต อปกฺกมฺม เอตทโวจุ สจฺจ กิร โน ปิตา อโวจ
อรห สุคโต โลเก น ราเคน สุวานโย
มารเธยฺย อติกฺกนฺโต ตสฺมา โสจามห ภุสนฺติ ฯ
ยฺหิ มย สมณ วา พฺราหฺมณ วา อวีตราค อิมินา อุปกฺกเมน
อุปกฺกเมยฺยาม หทย วาสฺส ผเลยฺย อุณฺห วา โลหิต มุขโต
อุคฺคจฺเฉยฺย อุมฺมาท วา ปาปุเณยฺย จิตฺตวิกฺเขป ๑ วา เสยฺยถาปิ
ปน นโฬ หริโต ลุโต อุสฺสุสฺสติ วิสุสฺสติ มิลายติ เอวเมว
อุสฺสุสฺเสยฺย วิสุสฺเสยฺย มิลาเยยฺยาติ ฯ อถ โข ตณฺหา จ
อรตี จ ราคา จ มารธีตโร เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ
อุปสงฺกมิตฺวา เอกมนฺต อฏฺสุ ฯ
[๕๑๕] เอกมนฺต ิตา โข ตณฺหา มารธีตา ภควนฺต คาถาย
อชฺฌภาสิ
โสกาวติณฺโณ นุ วนสฺมึ ฌายสิ
วิตฺต นุ ชินฺโน อุท ปตฺถยาโน
อาคุนฺนุ คามสฺมิมกาสิ กิฺจิ
กสฺมา ชเนน กโรสิ สกฺขึ
สกฺขี น สมฺปชฺชติ เกนจิ เตติ ฯ
[๕๑๖] อตฺถสฺส ปตฺตึ หทยสฺส สนฺตึ
เชตฺวาน เสน ปิยสาตรูป
เอกาห ฌาย สุขมานุโพธฺย
ตสฺมา ชเนน น กโรมิ สกฺขึ
สกฺขี น สมฺปชฺชติ เกนจิ เมติ ฯ
[๕๑๗] อถ โข อรตี มารธีตา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
กถวิหารีพหุโลธ ภิกฺขุ
ปฺโจฆติณฺโณ อตรีธ ฉฏฺ
กถ ฌาย ๒ พหุล กามสฺา
ปริพาหิรา โหนฺติ อลทฺธโย ตนฺติ ฯ
[๕๑๘] ปสฺสทฺธกาโย สุวิมุตฺตจิตฺโต
อสงฺขราโน สติมา อโนโก
อฺาย ธมฺม อวิตกฺกฌายี
น กุปฺปติ น สรติ น ถิโน
เอววิหารีพหุโลธ ภิกฺขุ
ปฺโจฆติณฺโณ อตรีธ ฉฏฺ
เอว ฌาย พหุล กามสฺา
ปริพาหิรา โหนฺติ อลทฺธโย ตนฺติ ฯ
[๕๑๙] อถ โข ราคา มารธีตา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
อจฺเฉชฺช ตณฺห ตณสงฺฆวารี ๓
อทฺธา จริสฺสนฺติ ๔ พหู จ สทฺธา
พหุ วตาย ชนต อโนโก
อจฺเฉชฺช ๕ เนสฺสติ มจฺจุราชสฺส ปารนฺติ ฯ
[๕๒๐] นยนฺติ เว มหาวีรา สทฺธมฺเมน ตถาคตา
ธมฺเมน นยมานาน กา อุสฺสุยา ๖ วิชานตนฺติ ฯ
[๕๒๑] อถ โข ตณฺหา จ อรตี จ ราคา จ มารธีตโร
เยน มาโร ปาปิมา เตนุปสงฺกมึสุ ฯ อทฺทสา โข มาโร ปาปิมา
ตณฺหฺจ อรติฺจ ราคฺจ มารธีตโร ทูรโตว อาคจฺฉนฺติโย
ทิสฺวาน คาถาหิ อชฺฌภาสิ
พาลา กุมุทนาเฬหิ ปพฺพต อภิมตฺถุ
คิรึ นเขน ขนถ อโยทนฺเตภิ ขาทถ
เสลว สิรสิ โอหจฺจ ปาตาเล คาธเมสถ
ขาณณว อุรสาสชฺช นิพฺพิชฺชาเปถ โคตมนฺติ ฯ
ททฺทลฺหมานา ๗ อาคฺฉฉ ตณฺหา จ อรตี ราคา
ตา ตตฺถ ปนุที สตฺถา ตุล ภฏฺว มาลุโตติ ๘ ฯ

******************

๑ โป. ม. จิตฺตกฺเขป ฯ ๒ ม. ยุ. ฌายึ ฯ
๓ ม. คณสงฺฆจารี ฯ ๔ สี. ตริสฺสนฺติ ฯ ๕ ยุ. อจฺฉิชฺช ฯ ๖ ม. ยุ. อุสูยา ฯ
๗ ม. ยุ. ททฺทลฺลมานาติ ทิสฺสติ ฯ ๘ สี. ยุ. มารุโต ฯ

อรรถกถา


อรรถกถามารธีตุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมารธีตุสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
บทว่า อุปสงฺกมึสุ ความว่า ธิดามารเห็นบิดาเอาไม้ขีดพื้นดิน
เหมือนเด็กเลี้ยงโค คิดว่าบิดานั่งเสียใจยิ่งนัก มีเหตุอะไรหนอ จำเราจักถาม
ถึงเหตุ จึงรู้ได้แล้ว จึงเข้าไปหา.
บทว่า โสจสิ ได้แก่คิดแล้ว. บทว่า อรญฺมิว กุญฺฃรํ ความ
ว่า เปรียบเหมือนเหล่าช้างพังอันเป็นช้างต่อที่ควาญช้างส่งไป ประเล้าประโลม
ช้างป่าด้วยการแสดงมายาหญิง ผูกพันนำมาจากป่าฉันใด พวกเราก็จักนำบุรุษ
นั้นมาฉันนั้น. บทว่า มารเธยฺยํ ได้แก่ วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓.
บทว่า อุปสงฺกมึสุ ความว่า ธิดามารปลอบบิดาว่า ท่านจงคอยสัก
หน่อยเถิด พวกเราจักนำบุรุษนั้น มาแล้วจึงเข้าไปเฝ้า. บทว่า อุจฺจาวจา
ได้แก่ต่าง ๆ อย่าง. บทว่า เอกสตเอกสตํ ได้แก่ แปลงตัวเป็นหญิงสาว
หนึ่งร้อย โดยนัยนี้ คือ ธิดาแต่ละคนแปลตัวเป็นหญิงสาวคนล่ะ ๑๐๐ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเฉพาะพระอรหัตเท่านั้น ด้วยสองบทว่า อตฺถสฺส ปตฺตึ
หทยสฺส สนฺตึ. บทว่า เสนํ ได้แก่ กองทัพกิเลส. จริงอยู่กองทัพกิเลสนั้น
ชื่อว่าปิยรูป สาตรูป น่ารักน่าชื่นใจ. บทว่า เอกาหํ ฌายํ ได้แก่ เราเพ่ง
ฌานอยู่ผู้เดียว. บทว่า สุขมานุโพธฺยํ ได้แก่เสวยสุขในพระอรหัตท่านอธิบาย
ไว้ดังนี้ว่า เรารู้จักกองทัพปิยรูปสาตรูปเพ่งฌานอยู่ผู้เดียว เสวยสุขในพระอรหัต
ที่นับได้ว่าบรรลุถึงประโยชน์เป็นธรรมสงบแห่งใจ เพราะฉะนั้น เราจึง
ไม่ทำความชื่นชมฉันมิตรกับชน ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ พยาน [ความเป็นมิตร]
ของเราจึงไม่ถึงพร้อมแม้ด้วยการไม่กระทำ.
บทว่า กถฺ วิหารีพหุโล ได้แก่ อยู่มากด้วยการอยู่อย่างไหน.
บทว่า อลทฺธา แปลว่าไม่ได้แล้ว. บทว่า โย เป็นเพียงนิบาต. ท่านอธิบาย
ไว้ดังนี้ว่า กามสัญญาทั้งหลาย ไม่ได้คือไม่รุมล้อมบุคคลนั้น ผู้เพ่งมากด้วย
ฌานอย่างไหน.
บทว่า ปสฺสทฺธกาโย ได้แก่ ที่ชื่อว่า มีกายสงบแล้วเพราะกายคือ
อัสสาสปัสสาสะงบแล้วด้วยจตุตถฌาน. บทว่า สุวิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่ ชื่อว่า
มีจิตหลุดพ้นด้วยดี ด้วยวิมิตติสัมปยุตด้วยพระอรหัตผล. บทว่า อสงฺขรา-
โน ได้แก่ไม่ปรุงแต่งอภิสังขารคือกรรม ๓. บทว่า อโนโก แปลว่า ไม่มี
ความอาลัย. บทว่า อญฺาย ธมฺมํ ได้แก่รู้ธรรม คือ สัจจะ ๔. บทว่า
อวิตกฺกชฺฌายี ได้แก่เพ่งด้วยจตุตถฌานอันไม่มีวิตก. ในบทว่า น กุปฺปติ
เป็นต้น เมื่อถือเอากิเลสที่เป็นมูล ๓ เหล่านี้คือ ไม่ขุ่นเคือง เพราะโทสะ ไม่
ฟุ้งซ่านเพราะราคะ ไม่หดหู่เพราะโมหะ ก็เป็นอันท่านถือเอากิเลส ๑,๕๐๐
นั่นแล. อีกนัยหนึ่ง ท่านถือเอาพยาบาทนิวรณ์ ด้วยบทว่า ๑. กามฉันทนิวรณ์
ด้วยบทว่า ๒. นิวรณ์ที่เหลือมีถีนะเป็นต้น ด้วยบทที่ ๓ ทรงแสดงพระขีณาสพ
แม้ด้วยการละนิวรณ์นี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ปญฺโจฆติณฺโณ ได้แก่ ข้ามโอฆะคือกิเลสที่เป็นไปในทวาร
ทั้ง ๕. บทว่า ฉฏฺฐํ ได้แก่ ทรงข้ามโอฆะคือกิเลสที่ ๖ แม้ที่เป็นไปในมโน
ทวาร. พึงทราบสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ด้วยปัญโจฆศัพท์ สังโยชน์เบื้องบน ๕
ด้วยฉัฏฐศัพท์. บทว่า คณสงฺฆจารี ความว่า พระศาสดาชื่อว่า คณสังฆ-
จารี เพราะทรงเที่ยวไปในคณะและสงฆ์. บทว่า อทฺธา อจริสฺสนฺติ ได้แก่
ชนผู้มีศรัทธาแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็จักเที่ยวไป โดยส่วนเดียว บทว่า
อยํ ได้แก่ พระศาสดานี้. บทว่า อโนโก แปลว่าไม่อาลัย.
บทว่า อจฺเฉชฺช เนสฺสติ ได้แก่ จักตัดขาดแล้วนำไป ท่านอธิบาย
ว่า จักตัดขาดจากมือพระยามัจจุราชนำไปสู่ฝังคือพระนิพพาน. บทว่า นยมา-
นานํ แก้เป็น นยมาเนสุ คือ เมื่อตถาคจนำไปอยู่.
บทว่า เสลํว สิรสิ โอหจฺจ ปาตาเล คาธเมสถ ความว่า
เหมือนวางหินก้อนใหญ่ขนาดเรือนยอดไว้บนศีรษะแล้วเข้าไปยืนที่บาดาล. บทว่า
ว่า ขาณุํว อุรสาสชฺช ได้แก่ เหมือนเอาตอกระทุ้งอก. บทว่า อเปถ
แปลว่า จงออกไป. ในที่นี้ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จบเทศนาด้วยคำว่า
อิทมโวจ แล้วกล่าวคาถาว่า ททฺทฬฺหมานา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ททฺทฬฺหมานา แปลว่า รุ่งเรื่องงามยิ่งนัก. บทว่า อาคญฺฉุํ ได้แก่
มาแล้ว. บทว่า ปนุทิ แปลว่าขับไล่. บทว่า ตุลํ ภฏฺฐํว มาลุโต
ความว่า ไล่ไปเหมือนลมพัดปุยงิ้วหรือปุยฝ้ายที่แตกออกจากผลพาไป ฉะนั้น.
จบอรรถกถามารธีตุสูตรที่ ๕

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!