15-160 มารหาโอกาสทำลายพระพุทธเจ้าตลอด 7 ปี



พระไตรปิฎก


๔. สัตตวัสสานุพันธสูตร
ว่าด้วยมารหาโอกาสทำลายพระพุทธเจ้าตลอด ๗ ปี
[๔๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น มารผู้มีบาปติดตามพระผู้มีพระภาค คอยหาโอกาส
ตลอด ๗ ปี ก็ยังไม่ได้โอกาส
[๔๙๗] ภายหลังมารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านถูกความเศร้าโศกทับถมหรือ
จึงมาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้
ท่านเสื่อมจากทรัพย์สมบัติหรือ
หรือว่ากำลังปรารถนาอะไรอยู่
ท่านได้ทำความเสียหายร้ายแรงอะไรไว้ในหมู่บ้านหรือ
เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวงเล่า
หรือว่าท่านเป็นมิตรกับใคร ๆ ไม่ได้
[๔๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ท่านผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของบุคคลผู้ประมาท
เราขุดรากของความเศร้าโศกได้หมดแล้ว
ไม่มีความเสียหาย ไม่เศร้าโศก เพ่งพินิจอยู่
เราตัดความติดแน่นคือความโลภในภพทั้งปวง
ไม่มีอาสวะ เพ่งพินิจอยู่
[๔๙๙] มารกราบทูลว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า ‘นี้ของเรา’
ทั้งยังกล่าวว่า ‘ของเรา’
ถ้าใจของท่านยังฝังอยู่ในสิ่งนั้น
สมณะ ท่านก็จะไม่พ้นจากเราไปได้ A
[๕๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา
มารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้
ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา B
[๕๐๑] มารกราบทูลว่า
ถ้าท่านรู้จักทางอันปลอดภัย
เป็นที่ให้ถึงอมตะ ก็จงจากไปคนเดียวเถิด
จะต้องพร่ำสอนคนอื่นทำไมเล่า
[๕๐๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดเป็นผู้มุ่งไปสู่ฝั่ง
ชนเหล่านั้นย่อมถามถึงนิพพานอันมิใช่ที่อยู่ของมาร
เราถูกชนเหล่านั้นถามก็จักบอกเขาว่า
สิ่งใดเป็นความจริง สิ่งนั้นไม่มีอุปธิ
[๕๐๓] มารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสระโบกขรณีในที่ไม่ไกลบ้านหรือ
นิคม ในสระนั้นมีปูอยู่ ครั้งนั้น เด็กชายหรือเด็กหญิงจำนวนมากออกจากบ้านหรือ
นิคมนั้นแล้ว เข้าไปยังสระโบกขรณีนั้น จับปูนั้นขึ้นจากน้ำวางไว้บนบก ปูนั้นก็ชูก้าม
ทั้งสองออก เด็กชายหรือเด็กหญิงเหล่านั้นพึงริด พึงหัก พึงทำลายก้ามนั้นทุก ๆ
ก้ามด้วยไม้หรือก้อนหิน ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ปูนั้นถูกริดก้าม ถูกหักก้าม ถูกทำลาย
ก้ามหมดแล้ว ย่อมไม่อาจไต่ลงไปสู่สระโบกขรณีนั้นเหมือนแต่ก่อน ฉันใด อารมณ์
แม้ทุกชนิดอันเป็นวิสัยของมาร ที่ทำให้สัตว์เสพติด ทำให้สัตว์ดิ้นรน อารมณ์นั้น
ทั้งหมดอันพระผู้มีพระภาคตัดรอน หักราน ย่ำยีหมดแล้ว บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้
คอยหาโอกาส ย่อมไม่อาจเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคได้อีก ฉันนั้น”
[๕๐๔] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้ภาษิตคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่ายเหล่านี้
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
กาเห็นก้อนหินมีสีเหมือนมันข้น
จึงบินโฉบลงด้วยคิดว่า
‘เราพึงได้อาหารโอชะในที่นี้เป็นแน่’
ความยินดีพึงเกิดขึ้นโดยแท้
กาไม่ได้ความยินดีในที่นั้น
จึงโผบินไปจากที่นั้น ข้าแต่พระโคดม
ข้าพระองค์ ก็เหมือนกามาพบก้อนหิน ฉะนั้น
ขอจากไปก่อน
สัตตวัสสานุพันธสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบคาถาข้อ ๑๕๕ หน้า ๑๙๘ ในเล่มนี้
B ดูเทียบคาถาข้อ ๑๕๕ หน้า ๑๙๘ ในเล่มนี้

บาลี



สตฺตวสฺสสุตฺต
[๔๙๖] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา อุรุเวลาย วิหรติ
นชฺชา เนรฺชราย ตีเร อชปาลนิโคฺรเธ ฯ เตน โข ปน สมเยน
มาโร ปาปิมา สตฺต วสฺสานิ ภควนฺต อนุพนฺโธ โหติ โอตาราเปกฺโข
โอตาร อลภมาโน ฯ
[๔๙๗] อถ โข มาโร ปาปิมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
โสกาวติณฺโณ นุ วนสฺมึ ฌายสิ
วิตฺต นุ ชินฺโน อุท ปตฺถยาโน
อาคุนฺนุ คามสฺมิมกาสิ กิฺจิ
กสฺมา ชเนน ๑ กโรสิ สกฺขึ
สกฺขี น สมฺปชฺชติ เกนจิ เตติ ฯ
[๔๙๘] โสกสฺส มูล ปลิขาย สพฺพ
อนาคุ ฌายามิ อโสจมาโน
เชตฺวาน สพฺพ ภวโลภชปฺป
อนาสโว ฌายามิ ปมตฺตพนฺธูติ ฯ
[๔๙๙] ย วทนฺติ มมยิทนฺติ เย วทนฺติ มมนฺติ จ
เอตฺถ เจเต มโน อตฺถิ น เม สมณ โมกฺขสีติ ฯ
[๕๐๐] ย วทนฺติ น ต มยฺห เย วทนฺติ น เต อห
เอว ปาปิม ชานาหิ น เม มคฺคมฺปิ ทกฺขสีติ ฯ
[๕๐๑] สเจ มคฺค อนุพุทฺธ เขม อมตคามินึ ๒
อเปหิ คจฺฉ ตฺวเมโก ๓ กิมฺมนุสาสสีติ ฯ
[๕๐๒] อมจฺจุเธยฺย มุฺจนฺติ เย ชนา ปารคามิโน
เตสาห ปุฏฺโ อกฺขามิ ย สจฺจ ต นิรูปธินฺติ ฯ
[๕๐๓] เสยฺยถาปิ ภนฺเต คามสฺส วา นิคมสฺส วา อวิทูเร
โปกฺขรณี ตตฺรสฺส กกฺกฏโก อถ โข ภนฺเต สมฺพหุลา
กุมารกา วา กุมาริกาโย วา ตมฺหา คามา วา นิคมา วา
นิกฺขมิตฺวา เยน สา โปกฺขรณี เตนุปสงฺกเมยฺยุ อุปสงฺกมิตฺวา
ต กกฺกฏก อุทกา อุทฺธริตฺวา ถเล ปติฏฺาเปยฺยุ ย ยเทว หิ
โส ภนฺเต กกฺกฏโก อฬ อภินินฺนาเมยฺย ต ตเทว เต กุมารกา
วา กุมาริกาโย วา กฏฺเน วา กลาย วา สฺฉินฺเทยฺยุ
สมฺภฺเชยฺยุ สมฺปลิภฺเชยฺยุ เอว หิ โส ภนฺเต กกฺกฏโก สพฺเพหิ
อเฬหิ สฺฉินฺเนหิ สมฺภคฺเคหิ สมฺปลิภคฺเคหิ อภพฺโพ ต โปกฺขรณึ
ปุน โอตริตุ เสยฺยถาปิ ๔ ปุพฺเพ เอวเมว โข ภนฺเต ยานิกานิจิ
วิสูกายิตานิ ๕ วิเสวิตานิ วิปฺผนฺทิตานิ สพฺพานิ ตานิ ภควตา
ปจฺฉินฺนานิ ๖ สมฺภคฺคานิ สมฺปลิภคฺคานิ อภพฺโพทานาห ภนฺเต
ปุน ภควนฺต อุปสงฺกมิตุ ยทิท โอตาราเปกฺโขติ ฯ
[๕๐๔] อถ โข มาโร ปาปิมา ภควโต สนฺติเก อิมา
นิพฺเพชนียา คาถาโย อภาสิ
เมทวณฺณฺจ ปาสาณ วายโส อนุปริยคา
อเปตฺถ มุทุ วินฺเทม อปิ อสฺสาทนา สิยา
อลทฺธา ตตฺถ อสฺสาท วายมนฺโต ๗ อปกฺกเม
กาโกว เสล อาสชฺช นิพฺพิชฺชาเปม โคตมาติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ภควโต สนฺติเก อิมา นิพฺเพชนียา
คาถาโย ภาสิตฺวา ๘ ตมฺหา านา อปกฺกมฺม ภควโต อวิทูเร
ปวิย ปลฺลงฺเกน นิสีทิ ตุณฺหีภูโต มงฺกุภูโต ปตฺตกฺขนฺโธ อโธมุโข
ปชฺฌายนฺโต อปฺปฏิภาโณ กฏฺเน ภูมึ วิลิขนฺโต ฯ

******************

๑ ม. ยุ. ชเน ฯ ๒ โป. ม. ยุ. อมตคามิน ฯ ๓ ม. ตวเมเวโก ฯ
๔ ม. เสยฺยถาปิ ปุพฺเพติ ปาทฺวย นตฺถิ ฯ ๕ โป. ม. วิสูกายิกานิ. ยุ.
#สุกายิกานิ ฯ ๖ ม. ยุ. สฺฉินฺนานิ ฯ ๗ ม. ยุ. วายเสตฺโต ฯ ๘ ม. ยุ. อภาสิตฺวา ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาสัตตวัสสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสัตตวัสสสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-
บทว่า สตฺต วสฺสานิ ได้แก่ ก่อนตรัสรู้ ๖ ปี หลังตรัสรู้ ๑ ปี.
บทว่า โอตาราเปกฺโข ได้แก่ มารจ้องอยู่นาน อย่างนี้ว่า ถ้าเราเห็นกาย
ทวารเป็นต้น บางทวารของพระสมณโคดมไม่เหมาะสม เราก็จะท้วงเธอ ดังนี้.
บทว่า อลภมาโน ได้แก่ ไม่เห็นความผิดพลาดแม้เพียงละอองธุลี. ด้วย
เหตุนั้น พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวว่า มารผู้มีบาปติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทุกฝีก้าวอายุ ๗ ปี ก็ไม่พบความผิดพลาดของพระสัมพุทธเจ้าผู้มีสิริ. บทว่า
อุปสงฺกมิ ความว่า มารเข้าไปหาด้วยคิดว่า วันนี้ เราจักมาอภิวาทพระสมณ-
โคดม. ด้วยบทว่า ฌายสิ มารกล่าวว่า ท่านนั่งซบเซาอยู่. บทว่า วิตฺตํ
นุ ชินฺโน ความว่า ท่านเสื่อมเสียทรัพย์ไปร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง. บทว่า
อาคุนฺนุ คามสฺมึ ความว่า ได้กระทำกรรมชั่วไว้นับไม่ถ้วนภายในบ้าน
ท่านไม่อาจมองหน้าของคนอื่น ๆ ได้แต่นั่งซบเซา เที่ยวอยู่แต่ในป่าหรือ.
บทว่า สกฺขึ ได้แก่ ความเป็นมิตร.
บทว่า ปลิขาย แปลว่า ขุดแล้ว. บทว่า ภวโลภชปฺปํ ได้แก่
ตัณหา กล่าวคือความอยากได้ภพ. บทว่า อนาสโว ฌายามิ ความว่า เรา
ไม่มีตัณหา เพ่งอยู่ด้วยฌานทั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกมารว่า
ปมัตตพันธุ จริงอยู่ มารนั้นเป็นพวกพ้องของตนบางพวกที่มัวเมาอยู่ในโลก.
บทว่า สเจ มคฺคํ อนุพุทฺธํ ความว่า ผิว่า ท่านตรัสรู้ตามมรรคไซร้.
บทว่า อเปหิ ได้แก่ จงไปเสีย. บทว่า อมจฺจุเธยฺยํ ได้แก่ พระนิพพาน
อันไม่เป็นโอกาสแห่งมัจจุราช. บทว่า ปารคามิโน ความว่า ทั้งคนที่ถึง
ฝั่งแล้ว ทั้งคนที่ประสงค์จะไปสู่ฝั่ง ก็ชื่อว่า ปารคามิโน.
บทว่า วิสกายิกานิ ได้แก่ อันเป็นไปในส่วนลึกของมาร. บทว่า
วิเสวิตานิ ได้แก่ อันบุคคลเสพผิด คือมีเหตุอันกลับกันเสีย เป็นต้นว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อายุของเหล่ามนุษย์น้อย วันและคืนย่อมล่วง
ไป ๆ มารกลับกล่าวเสียว่า อายุของเหล่ามนุษย์ยืนยาว วันและคืนไม่ล่วงไป ๆ.
บทว่า วิปฺผนฺทิตานิ ได้แก่ แสดงเพศเป็นพระยาช้างและเพศพระยางู เป็นต้น
ในกาลนั้น. บทว่า นิพฺเพชนียา ได้แก่ ควรเล่าเรียน.
ในคำว่า อนุปริยคา เป็นต้น ท่านทำเป็นคำอดีต ก็จริง ถึงอย่างนั้น
ก็ควรทราบความ โดยกำหนดแน่นอน [ปัจจุบัน]. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า
กาเห็นก้อนหินสีเหมือนมันข้น จึงเข้าไปใกล้ก้อนหินนั้น ด้วยคิดว่า พวกเรา
พบของอ่อนเข้าแล้ว คงจะมีรสอร่อย ครั้นแล้ว กานั้นก็ไม่ได้รสอร่อยที่ก้อน-
หินนั้น จึงหลีกจากที่นั้น คือต้องหลีกไปเสียจากก้อนหินนั้น ฉันใด แม้พวก
ข้าพระเจ้า กระทบพระโคดมแล้ว ก็เหมือนกานั้นกระทบก้อนหิน เมื่อไม่ได้
ความยินดีหรือความชื่นชม ก็เบื่อหน่ายพระโคดม หลีกไปเสีย ฉันนั้น. อ
อักษรในคำว่า อภาสิตฺวา นี้ เป็นเพียงนิบาต ใจความว่ากล่าวแล้ว. ปาฐะว่า
ภาสิตฺวา ก็มี.
จบอรรถกถาสัตตวัสสสูตรที่ ๔

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!