15-159 พระโคธิกะ
พระไตรปิฎก
๓. โคธิกสูตร
ว่าด้วยพระโคธิกะ
[๔๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระโคธิกะอยู่ที่วิหารกาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ
[๔๘๙] ครั้งนั้น ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว A ภายหลังท่านพระโคธิกะเสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว แม้ครั้งที่ ๒ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว แม้ในครั้งที่ ๓ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๔ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว
แม้ในครั้งที่ ๔ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๕ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว
แม้ในครั้งที่ ๕ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๖ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราว แม้ในครั้งที่ ๖ ท่านก็เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้น
แม้ครั้งที่ ๗ ท่านพระโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
ก็ได้บรรลุเจโตวิมุตติชั่วคราวนั้นอีก
ครั้งนั้น ท่านพระโคธิกะได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราได้เสื่อมจากเจโตวิมุตติชั่วคราว
๖ ครั้งแล้ว ทางที่ดีเราพึงนำศัสตรามา B ”
[๔๙๐] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปทราบความคิดคำนึงของท่านพระโคธิกะด้วยใจแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ข้าแต่พระมหาวีระผู้มีปัญญามาก
ผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และยศ
ผู้ก้าวล่วงเวรและภัยทั้งปวง ผู้มีพระจักษุ
ข้าพระองค์ขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท
ข้าแต่พระมหาวีระผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง
สาวกของพระองค์ถูกมรณะครอบงำแล้ว
มุ่งหวังความตายอยู่
ขอพระองค์จงทรงห้ามสาวกของพระองค์นั้นเถิด
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้ปรากฏในหมู่ชน
สาวกของพระองค์ยินดีในพระศาสนา
มีใจยังไม่ได้บรรลุ C ยังเป็นพระเสขะอยู่
จะพึงมรณะได้อย่างไร
ขณะนั้น ท่านพระโคธิกะได้นำศัสตรามา
[๔๙๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า
“นี้คือมารผู้มีบาป” จึงได้ตรัสกับมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
นักปราชญ์ทั้งหลายทำอย่างนี้แล
ย่อมไม่ห่วงใยชีวิต
พระโคธิกะถอนตัณหาพร้อมทั้งราก
ปรินิพพานแล้ว
[๔๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุ
ทั้งหลาย เราจักไปยังวิหารกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเป็นสถานที่ที่โคธิกกุลบุตร
นำศัสตรามา” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังวิหารกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พร้อม
ด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระโคธิกะนอนคอบิดอยู่บนเตียง
แต่ไกลเทียว ก็สมัยนั้น กลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง
[๔๙๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายเห็นกลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียงหรือไม่” เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นั่นแลคือมารผู้มีบาป ค้นหาวิญญาณ D
ของโคธิกกุลบุตรด้วยคิดว่า ‘วิญญาณของโคธิกกุลบุตรสถิตอยู่ ณ ที่ไหน’ ภิกษุ
ทั้งหลาย โคธิกกุลบุตรไม่มีวิญญาณสถิตอยู่ ปรินิพพานแล้ว”
[๔๙๔] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปถือพิณสีเหลืองเหมือนผลมะตูมสุก เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ข้าพระองค์ค้นหาทั้งทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องขวาง
คือทั้งทิศใหญ่และทิศเฉียง ก็ไม่พบ
ท่านพระโคธิกะนั้นไป ณ ที่ไหนเล่า
[๔๙๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยปัญญา
มีปกติเพ่งพินิจ ยินดีในฌานทุกเมื่อ
พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่เสียดายชีวิต
ชนะกองทัพมัจจุแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพใหม่
นักปราชญ์นั้น คือโคธิกกุลบุตร
ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก ปรินิพพานแล้ว
พิณได้พลัดตกจากรักแร้
ของมารผู้มีความเศร้าโศก
ในลำดับนั้น มารผู้เป็นยักษ์นั้นเสียใจ
จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
โคธิกสูตรที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ
A เจโตวิมุตติชั่วคราว หมายถึงโลกิยสมาบัติ (สํ.ส.อ. ๑/๑๕๙/๑๗๔)
B นำศัสตรามา หมายถึงนำศัสตรามาฆ่าตัวตาย คือตัดก้านคอ (สํ.ข.อ. ๒/๘๗/๓๔๓,สํ.สฬา.อ. ๓/๘๗/๒๒)
C มีใจยังไม่ได้บรรลุ ในที่นี้หมายถึงยังไม่ได้บรรลุพระอรหัต (สํ.ส.อ. ๑/๑๕๙/๑๗๕)
D วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงปฏิสนธิจิต (สํ.ส.อ. ๑/๑๕๙/๑๗๖)
บาลี
โคธิกสุตฺต
[๔๘๘] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ
เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป ฯ เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา โคธิโก
อิสิคิลิปสฺเส วิหรติ กาฬสิลาย ฯ
[๔๘๙] อถ โข อายสฺมา โคธิโก อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต
วิหรนฺโต สามายิก ๑ เจโตวิมุตฺตึ ผุสิ ฯ อถ โข อายสฺมา
โคธิโก ตมฺหา สามายิกาย เจโตวิมุตฺติยา ปริหายิ ฯ ทุติยมฺปิ
โข อายสฺมา โคธิโก อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต วิหรนฺโต
สามายิก เจโตวิมุตฺตึ ผุสิ ฯ ทุติยมฺปิ โข อายสฺมา โคธิโก
ตมฺหา สามายิกาย เจโตวิมุตฺติยา ปริหายิ ฯ ตติยมฺปิ โข อายสฺมา
โคธิโก อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต วิหรนฺโต สามายิก เจโตวิมุตฺตึ
ผุสิ ฯ ตติยมฺปิ โข อายสฺมา โคธิโก ตมฺหา ฯเปฯ
ปริหายิ ฯ จตุตฺถมฺปิ โข อายสฺมา โคธิโก อปฺปมตฺโต ฯเปฯ
ผุสิ ฯ จตุตฺถมฺปิ โข อายสฺมา โคธิโก ตมฺหา ฯเปฯ ปริหายิ ฯ
ปฺจมมฺปิ โข อายสฺมา โคธิโก ฯเปฯ ผุสิ ฯ ปฺจมมฺปิ
โข อายสฺมา โคธิโก ฯเปฯ ปริหายิ ฯ ฉฏฺมฺปิ โข อายสฺมา
โคธิโก อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต วิหรนฺโต สามายิก เจโตวิมุตฺตึ
ผุสิ ฯ ฉฏฺมฺปิ โข อายสฺมา โคธิโก ตมฺหา สามายิกาย
เจโตวิมุตฺติยา ปริหายิ ฯ สตฺตมมฺปิ โข อายสฺมา โคธิโก อปฺปมตฺโต
อาตาปี ปหิตตฺโต วิหรนฺโต สามายิก เจโตวิมุตฺตึ ผุสิ ฯ
อถ โข อายสฺมโต โคธิกสฺส เอตทโหสิ ยาว ฉฏฺ ขฺวาห
สามายิกาย เจโตวิมุตฺติยา ปริหีโน ยนฺนูนาห สตฺถ อาหเรยฺยนฺติ ฯ
[๔๙๐] อถ โข มาโร ปาปิมา อายสฺมโต โคธิกสฺส เจตสา
เจโตปริวิตกฺกมฺาย เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา
ภควนฺต คาถาหิ อชฺฌภาสิ
มหาวีร มหาปฺ อิทฺธิยา ยสสา ชล
สพฺพเวรภยาตีต ปาเท วนฺทามิ จกฺขุม
สาวโก เต มหาวีร มรณ มรณาภิภู
อากงฺขติ เจตยติ ต นิเสธ ชุตินฺธร
กถฺหิ ภควา ตุยฺห สาวโก สาสเน รโต
อปฺปตฺตมานโส เสโข กาล กยิรา ชเนสุตาติ ฯ
เตน โข ปน สมเยน อายสฺมตา โคธิเกน สตฺถ อาหริต โหติ ฯ
[๔๙๑] อถ โข ภควา มาโร อย ปาปิมา อิติ วิทิตฺวา
มาร ปาปิมนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
เอว หิ ธีรา กุพฺพนฺติ นาวกงฺขนฺติ ชีวิต
สมูล ตณฺห อพฺพุยฺห โคธิโก ปรินิพฺพุโตติ ฯ
[๔๙๒] อถ โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ อายาม ภิกฺขเว
เยน อิสิคิลิปสฺส กาฬสิลา เตนุปสงฺกมิสฺสาม ยตฺถ โคธิเกน
กุลปุตฺเตน สตฺถ อาหริตนฺติ ฯ เอว ภนฺเตติ โข เต ภิกฺขู
ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ อถ โข ภควา สมฺพหุเลหิ ภิกฺขูหิ สทฺธึ
เยน อิสิคิลิปสฺส กาฬสิลา เตนุปสงฺกมิ ฯ อทฺทสา โข ภควา
อายสฺมนฺต โคธิก ทูรโตว มฺจเก วิวตฺตกฺขนฺธ เสยฺยมาน ๒ ฯ
เตน โข ปน สมเยน ธูมายิตตฺต ติมิรายิตตฺต คจฺฉเตว ปุริม
ทิส คจฺฉติ ปจฺฉิม ทิส คจฺฉติ อุตฺตร ทิส คจฺฉติ ทกฺขิณ
ทิส คจฺฉติ อุทฺธ คจฺฉติ อโธ คจฺฉติ อนุทิส ฯ
[๔๙๓] อถ โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ปสฺสถ โน ตุเมฺห
ภิกฺขเว เอต ธูมายิตตฺต ติมิรายิตตฺต คจฺฉเตว ปุริม ทิส คจฺฉติ
ปจฺฉิม ทิส คจฺฉติ อุตฺตร ทิส คจฺฉติ ทกฺขิณ ทิส คจฺฉติ อุทฺธ
คจฺฉติ อโธ คจฺฉติ อนุทิสนฺติ ฯ เอว ภนฺเตติ ฯ เอโส โข
ภิกฺขเว มาโร ปาปิมา โคธิกสฺส กุลปุตฺตสฺส วิฺาณ สมเนฺวสติ
กตฺถ โคธิกสฺส กุลปุตฺตสฺส วิฺาณ ปติฏฺิตนฺติ อปฺปติฏฺิเตน
จ ภิกฺขเว วิฺาเณน โคธิโก กุลปุตฺโต ปรินิพฺพุโตติ ฯ
[๔๙๔] อถ โข มาโร ปาปิมา เวฬุวปณฺฑุวีณ ๓ อาทาย เยน
ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
อุทฺธ อโธ จ ติริย ทิสาอนุทิสาสฺวห
อเนฺวส นาธิคจฺฉามิ โคธิโก โส กุหึ คโตติ ฯ
[๔๙๕] โย ๔ ธีโร ธิติสมฺปนฺโน ฌายี ฌานรโต สทา
อโหรตฺตมนุยฺุช ชีวิต อนิกามย
เชตฺวาน มจฺจุโน เสน อนาคนฺตฺวา ปุนพฺภว
สมูล ตณฺห อพฺพุยฺห โคธิโก ปรินิพฺพุโตติ ฯ
ตสฺส โสกปเรตสฺส วีณา กจฺฉกา ๕ อภสฺสถ
ตโต โส ทุมฺมโน ยกฺโข ตตฺเถวนฺตรธายิถาติ ๖ ฯ
******************
๑ ยุ. สามาธิก ฯ ม. สามยิก ฯ
๒ สี. ม. ยุ. เสมาน ฯ
๓ ม. ยุ. เพลุวปณฺฑุวีณ ฯ ๔ ยุ. โส ฯ ๕ โป. ม. ยุ. กจฺฉา ฯ ๖ ม. ยุ.
#ตตฺเถวนฺตรธายถาติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาโคธิกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโคธิกสูตรที่ ๓ ต่อไป :-
บทว่า อิสิคิลิปสฺเส ได้แก่ ข้างภูเขาชื่อ อิสิคิลิ. บทว่า กาฬสิลายํ
ได้แก่ ก้อนหินสีดำ. บทว่า สามายิกํ เจโตวิมุตฺติ ความว่า สมาบัติฝ่าย
โกลิกะ ชื่อว่า สามายิกาเจโตวิมุตติ เพราะจิตหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึก
ในขณะที่จิตแนวแน่แนบแน่น และน้อมไปในอารมณ์. บทว่า ผุสิ ได้แก่
กลับได้. ในบทว่า ปริหายิ ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านโคธิกะ จึงเสื่อมถึง
๖ ครั้ง. ตอบว่า เพราะท่านมีอาพาธ. ได้ยินว่า พระเถระมีอาพาธเรื้อรัง
[ประจำตัว] โดยเป็นโรคลมน้ำดีและเสมหะ. ด้วยอาพาธนั้น พระเถระจึงไม่
อาจบำเพ็ญอุปการธรรมให้เป็นสัปปายะของสมาธิได้ จึงเสื่อมจากสมาบัติที่แน่ว
แน่แนบแน่นไปเสีย.
บทว่า ยนฺนูนาหํ สตฺถํ อาหเรยฺยํ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระ
คิดจะฆ่าตัวตาย. ผู้มีฌานเสื่อมการทำกาละ. [ตาย] คติไม่แน่นอน. ผู้มีฌาน
ไม่เสื่อม คติแน่นอนคือย่อมบังเกิดในพรหมโลก เพราะฉะนั้น พระเถระจึง
ประสงค์จะฆ่าตัวตายเสีย. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า สมณะนี้
ประสงค์จะฆ่าตัวตาย ก็ขึ้นชื่อว่า การฆ่าตัวตายนี้ ย่อมมีแก่ผู้ไม่เยื่อใยในร่างกาย
และชีวิต สมณะนั้นพิจารณามูลกัมมัฏฐานแล้ว ย่อมสามารถยึดแม้พระอรหัต
ไว้ได้ ถึงเราห้ามปราม เธอคงไม่ละเว้น ต่อพระศาสดาทรงห้ามปราม จึงจะ
เว้น ดังนี้ จึงทำเหมือนหวังดีต่อพระเถระ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
บทว่า ชลํ แปลว่า รุ่งเรืองอยู่. บทว่า ปาเท วนฺทามิ จกฺขุม
ความว่า ท่านผู้มีจักษุด้วยจักษุทั้ง ๕ ข้าพระองค์ขอไหว้พระบาทของพระองค์.
บทว่า ชุตินฺธร ได้แก่ ผู้ทรงอานุภาพ. บทว่า อปฺปตฺตมานโส ได้แก่
ผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัต. บทว่า เสกฺโข ได้แก่ผู้กำลังศึกษาศีลเป็นต้นชื่อว่า
ผู้ยังมีกิจที่จะต้องทำ. บทว่า ชเน สุตา ได้แก่ ผู้ปรากฏในหมู่ชน. บทว่า
สตฺถํ อาหริตํ โหติ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า เราจะมีประโยชน์
อะไรด้วยชีวิตนี้ จึงนอนหงายเอามีดตัดหลอดคอ. ทุกขเวทนาทั้งหลายก็เกิก
ขึ้น. พระเถระข่มเวทนาแล้วกำหนดเวทนานั้นนั่นแหละเป็นอารมณ์ตั้งสติมั่น
พิจารณามูลกัมมัฏฐานก็บรรลุพระอรหัต เป็นสมสีสี ปรินิพพานแล้ว. ก็ชื่อ
ว่าสมสีสีมี ๓ ประเภท คืออิริยาปถสมสีสี โรคสมสีสี ชีวิตสมสีสี.
บรรดาพระอรหันต์ ๓ ประเภทนั้น พระอริยะรูปใดอธิษฐานอิริยาบถ
ทั้งหลายมียืนเป็นต้น อิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง ตั้งวิปัสสนาไว้มั่นด้วยหมาย
จะไม่เปลี่ยนอิริยาบถนี้แล้ว บรรลุพระอรหัต เมื่อเป็นดังนั้น พระอริยะรูปนั้น
บรรลุพระอรหัตและไม่เปลี่ยนอิริยาบถพร้อมคราวเดียวกัน พระอริยะรูปนี้
ชื่อว่าอิริยาปถสมสีสี. อนึ่ง พระอริยะรูปใดเมื่อบรรดาโรคทั้งหลายมีโรคตาเป็น
ต้น อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่ ตั้งวิปัสสนาไว้มั่นว่า ถึงไม่หายจากโรคนี้ ก็จัก
บรรลุพระอรหัต เมื่อเป็นดังนั้น พระอริยะรูปนั้นบรรลุพระหัต และหายโรค
พร้อมคราวเดียวกัน พระอริยะรูปนี้ชื่อว่า โรคสมสีสี. แต่อาจารย์บางพวก
บัญญัติพระอรหันต์นั้นเป็นสมสีสีในข้อนี้ โดยปรินิพพาน ในเพราะอิริยาบถ
นั้นนั่นแหละ และในเพราะโรคนั้นนั่นแหละ. อนึ่ง พระอริยรูปใด สิ้น
อาสวะและสิ้นชีพ พร้อมคราวเดียวกัน พระอริยะรูปนี้ ชื่อว่าชีวิตสมสีสี
สมจริงดังที่ที่ในกล่าวไว้ว่า บุคคลใดสิ้นอาสวะและสิ้นชีพไม่ก่อนไม่หลัง บุคคล
นี้ เรียกว่า สมสีสี.
ก็ในคำว่า สมสีสี นี้ สีสะมี ๒ คือ ปวัตตสีสะและกิเลสสีสะ. บรรดา
สีสะทั้ง ๒ นั้น ชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า ปวัตตสีสะ อวิชชาชื่อว่า กิเลสสีสะ. บรรดา
ชีวิตินทรีย์และอวิชชานั้น จุติจิตย่อมทำชีวิตินทรีย์ให้สิ้นไป มรรคจิต ทำ
อวิชชาทั้งหลายให้สิ้นไป. จิตสองดวงย่อมไม่เกิดพร้อมคราวเดียวกัน . แต่ผล
จิตเกิดในลำดับมรรคจิต ภวังคจิตเกิดในลำดับผลจิต ออกจากภวังคจิต ปัจจ-
เวกขณจิตก็เกิด. ปัจจเวกขณจิตนั้นบริบูรณ์บ้างไม่บริบูรณ์บ้าง. จริงอยู่แม้
เอาดาบอันคมกริบตัดศีรษะ ปัจจเวกขณจิตย่อมเกิดขึ้น ๑ วาระ หรือ ๒ วาระ
โดยแท้ แต่เพราะจิตทั้งหลายเป็นไปเร็ว การสิ้นอาสวะและการสิ้นชีพจึงปรากฏ
เหมือนมีในขณะเดียวกันนั่นเทียว.
บทว่า สมูลํ ตณฺหํ อพฺภุยฺห ได้แก่เพิกถอนตัณหาพร้อมทั้งมูล
โดยมูลคืออวิชชาเสียด้วยพระอรหัตมรรค. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสปรินิพพาน.
บทว่า วิวตฺตกฺขนฺธํ ได้แก่ พลิกตัว. บทว่า เสยฺยมานํ ได้แก่
นอนหงาย. ก็พระเถระนอนหงายก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น ศีรษะของท่านก็เปลี่ยน
ไปอยู่ข้างขวา เพราะนอนคุ้นแต่ข้างขวา. บทว่า ธุมายิตตฺตํ ได้แก่ ภาวะที่
เป็นควัน . จริงอยู่ ขณะนั้น เหมือนฝนควันและฝนมืดปรากฏขึ้นมา. บทว่า
วิญฺาณํ สมนฺเวสติ ได้แก่ มารแสวงหาปฏิสนธิจิต. บทว่า อปฺปติฏฺฐิเตน
ได้แก่มีปฏิสนธิวิญญา มิได้ตั้งอยู่แล้ว อธิบายว่ามีเหตุแห่งปฏิสนธิวิญญาณ
ไม่ตั้งอยู่แล้ว. บทว่า เวฬุวปณฺฑุ วีณํ ได้แก่ พิณเหลืองเหมือนผลมะตูมสุก
คือพิณใหญ่สีเหมือนทอง. บทว่า อาทาย ได้แก่หนีบรักแร้. บทว่า อุปสงฺกมิ
ความว่า มารคิดว่า เราไม่รู้ที่เกิดของพระโคธิกเถระ ต้องถามพระสมณโคดม
จึงจะหมดสงสัย แล้วแปลงเพศเป็นเด็กเล็กเข้าไปเฝ้า. บทว่า นาธิคจฺฉามิ
ได้แก่ไม่เห็น. บทว่า โสลปเรตสฺส ได้แก่ถูกความโศกกระทบแล้ว. บทว่า
อภสฺสถ ได้แก่ ตกไปที่หลังเท้า.
จบอรรถกถาโคธิกสูตรที่ ๓