15-152 เรื่องบาตร
พระไตรปิฎก
๖. ปัตตสูตร
ว่าด้วยเรื่องบาตร
[๔๖๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ที่เกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมา
ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่เกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุเหล่านั้น
ต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ทางที่
ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อให้บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด”
[๔๖๒] สมัยนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้วางบาตรส่วนใหญ่ไว้ในที่กลางแจ้ง ลำดับนั้น มาร
ผู้มีบาปแปลงกายเป็นโคพลิพัทเดินไปยังที่วางบาตร ภิกษุรูปหนึ่งจึงบอกกับภิกษุ
อีกรูปหนึ่งว่า “ภิกษุ ภิกษุ โคพลิพัทนั่นกำลังจะทำบาตรแตก” เมื่อภิกษุนั้นพูด
อย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “นั่นไม่ใช่โคพลิพัท นั่นคือมารผู้มีบาป
มาเพื่อลวงให้เธอหลงเข้าใจผิด”
[๔๖๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
อริยสาวกย่อมเบื่อหน่ายรูป
เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
อย่างนี้ว่า ‘เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ของเรา’
แม้มารและเสนามารแสวงหาอยู่ในที่ทุกแห่ง
ก็ไม่พบอริยสาวกผู้เบื่อหน่ายแล้วอย่างนี้
ผู้มีอัตภาพอันเกษม และล่วงพ้นสังโยชน์ทั้งปวง
ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปัตตสูตรที่ ๖ จบ
บาลี
ปตฺตสุตฺต
[๔๖๑] สาวตฺถิย อาราเม … เตน โข ปน สมเยน ภควา
ปฺจนฺน อุปาทานกฺขนฺธาน อุปาทาย ภิกฺขู ๑ ธมฺมิยา กถาย
สนฺทสฺเสติ สมาทเปติ สมุตฺเตเชติ สมฺปหเสติ ฯ เต จ ภิกฺขู
อฏฺิกตฺวา ๒ มนสิกตฺวา สพฺพเจตโส ๓ สมนฺนาหริตฺวา โอหิตโสตา ธมฺม
สุณนฺติ ฯ อถ โข มารสฺส ปาปิมโต เอตทโหสิ อย โข สมโณ
โคตโม ปฺจนฺน อุปาทานกฺขนฺธาน อุปาทาย ภิกฺขู ๔ ธมฺมิยา กถาย
สนฺทสฺเสติ สมาทเปติ สมุตฺเตเชติ สมฺปหเสติ เต จ ภิกฺขู
อฏฺิกตฺวา ๕ มนสิกตฺวา สพฺพเจตโส ๖ สมนฺนาหริตฺวา โอหิตโสตา
ธมฺม สุณนฺติ ยนฺนูนาห เยน สมโณ โคตโม เตนุปสงฺกเมยฺย
วิจกฺขุกมฺมายาติ ฯ เตน โข ปน สมเยน สมฺพหุลา ปตฺตา
อชฺโฌกาเส นิกฺขิตฺตา โหนฺติ ฯ
[๔๖๒] อถ โข มาโร ปาปิมา พลิพทฺทวณฺณ อภินิมฺมินิตฺวาี
เยน เต ปตฺตา เตนุปสงฺกมิ ฯ อถ โข อฺตโร ภิกฺขุ อฺตร
ภิกฺขุ เอตทโวจ ภิกฺขุ ภิกฺขุ เอโส พลิพทฺโท ปตฺเต ภินฺเทยฺยาติ ฯ
เอว วุตฺเต ภควา ต ภิกฺขุ เอตทโวจ เนโส ๗ ภิกฺขุ พลิพทฺโท
มาโร เอโส ปาปิมา ตุมฺหาก วิจกฺขุกมฺมาย อาคโตติ ฯ
[๔๖๓] อถ โข ภควา มาโร อย ปาปิมา อิติ วิทิตฺวา
มาร ปาปิมนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
รูป เวทยิต สฺ ๘ วิฺาณ ยฺจ สงฺขต
เนโสหมสฺมิ เนต เม เอว ตตฺถ วิรชฺชติ
เอว วิรตฺต เขมตฺต สพฺพสฺโชนาติต ๙
อเนฺวส สพฺพาเนสุ มารเสนาปิ นาชฺฌคาติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ฯเปฯ ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
******************
๑-๔ ม. ภิกฺขูน ฯ ๒-๕ ม. อฏฺึกตฺวา ฯ ๓-๖ ม … เจตสา ฯ
๗ ม. ยุ. น โส ฯ ๘ ม. สฺา ฯ ๙ สพฺพสฺโชนาติค ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาปัตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปัตตสูตรที่ ๖ ต่อไป :-
บทว่า ปญฺจนฺนํ อุปาทานกฺขนฺธานํ อุปาทาย ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงถือเอาอุปาทานขันธ์ ๕ ขึ้นจำแนกแสดง โดยประการต่างๆ
ด้วยอำนาจสภาวะและสามัญลักษณะ. บทว่า สนฺทสฺเสติ ได้แก่ ทรงแสดง
สภาวะและลักษณะเป็นต้นของขันธ์ทั้งหลาย. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่
ทรงให้ถือไว้. บทว่า สมุตฺเตเชติ ได้แก่ ทรงให้เกิดอุตสาหะในการสมาทาน
ถือเอา. บทว่า สมฺปหํเสติ ได้แก่ ทรงให้ผ่องแผ้ว ให้สว่างด้วยคุณที่
แทงตลอดแล้ว. บทว่า อฏฺฐิกตฺวา แปลว่า ทำให้เป็นประโยชน์ ได้แก่
กำหนดอย่างนี้ว่า เราพึงได้ประโยชน์นี้ แล้วมีความต้องการด้วยเทศนานั้น.
บทว่า มนสิกริตฺวา ได้แก่ ตั้งไว้ในจิต. บทว่า สพฺพโส สมนฺนาหริตฺวา
ได้แก่ รวบรวมไว้ด้วยจิตที่ทำการนั้นทั้งหมด. บทว่า โอหิตโสตา ได้แก่
ตั้งโสตไว้. บทว่า อชฺโฌกาเส นิกฺขิตฺตา ได้แก่ บาตรที่เหล่าภิกษุวางไว้
กลางแจ้งเพื่อผึ่งแดด.
บทว่า รูปํ เวทยิตํ สญฺํ ได้แก่ ขันธ์ ๓ มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น
ทรงถือเอาสังขารขันธ์ ด้วยบทนี้ว่า ยญฺจ สงฺขตํ. บทว่า เอวํ ตตฺถ วิรชฺชติ
ได้แก่ พระอริยสาวกเมื่อเห็นว่า เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ของเรา ย่อม
เบื่อหน่ายในขันธ์เหล่านั้นอย่างนี้. บทว่า เขมตฺตํ ได้แก่ อัตภาพที่มี
ความเกษม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขณะแห่งผลจิต ด้วยบทนี้. บทว่า
อนฺเวสํ ได้แก่ แสวงหาในที่ทั้งปวง กล่าวคือ ภพ กำเนิด คติ ฐิติและ
สัตตาวาส. บทว่า นาชฺฌคา ได้แก่ ไม่เห็น.
จบอรรถกถาปัตตสูตรที่ ๖