15-150 สิ่งที่สมควร



พระไตรปิฎก


๔. ปฏิรูปสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่สมควร
[๔๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกสาลา
แคว้นโกศล สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม
ทรงแสดงธรรมอยู่ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า
“พระสมณโคดมนี้มีคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม แสดงธรรมอยู่
ทางที่ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ
เพื่อให้บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด”
[๔๕๖] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านพร่ำสอนธรรมใดแก่ผู้อื่น
ธรรมนั้นไม่สมควรแก่ท่านเลย
เมื่อท่านกล่าวสอนธรรมนั้น
อย่าได้ข้องในความยินดียินร้าย
[๔๕๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พระสัมพุทธเจ้าทรงมีจิตเกื้อกูลอนุเคราะห์
ทรงพร่ำสอนธรรมใดแก่ผู้อื่น
ตถาคตหลุดพ้นจากความยินดียินร้ายในธรรมนั้นแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา
พระสุคตทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปฏิรูปสูตรที่ ๔ จบ

บาลี



ปฏิรูปสุตฺต
[๔๕๕] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา โกสเลสุ วิหรติ
เอกสาลาย พฺราหฺมณคาเม ฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา
มหติยา คิหิปริสาย ปริวุโต ธมฺม เทเสติ ฯ อถ โข มารสฺส
ปาปิมโต เอตทโหสิ อย โข สมโณ โคตโม มหติยา คิหิปริสาย
ปริวุโต ธมฺม เทเสติ ยนฺนูนาห เยน สมโณ โคตโม เตนุสงฺกเมยฺย
วิจกฺขุกมฺมายาติ ฯ
[๔๕๖] อถ โข มาโร ปาปิมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌาภาสิ
เนต ตว ปฏิรูป ยทฺมนุสาสสิ
อนุโรธวิโรเธสุ มา สชฺชิตฺถ ๑ ตทาจรนฺติ ฯ
[๔๕๗] หิตานุกมฺปี สมฺพุทฺโธ ยทฺมนุสาสติ
อนุโรธวิโรเธหิ วิปฺปมุตฺโต ตถาคโตติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ ม ภควา ชานาติ ม สุคโตติ
ทุกฺขี ทุมฺมโน ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. สชฺชิตฺโถ ฯก

อรรถกถา


อรรถกถาปฏิรูปสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฏิรูปสูตรที่ ๔ ต่อไป :-
บทว่า อนุโรธวิโรเธสุ ได้แก่ ในความยินดียินร้าย. บทว่า มา
สชฺชิตฺถ ตทาจรํ ได้แก่ อย่ามัวยึดการกล่าวธรรมติดอยู่เลย. ด้วยว่า เมื่อ
ท่านกล่าวธรรมกถาอยู่ คนบางพวกถวายสาธุการ ก็เกิดความยินดีในคนพวก
นั้น คนบางพวกฟังไม่เคารพ ก็เกิดความยินร้ายในคนพวกนั้น ดังนั้น
พระธรรมกถึก ชื่อว่า ข้องอยู่ในความยินดียินร้าย ขอท่านอย่าข้องอย่างนั้นแล
มารกล่าวดังนี้. บทว่า ยทญฺมนุสาสติ แปลว่า ย่อมสั่งสอนคนอื่นใด.
พระสัมพุทธะ ย่อมอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ชื่อว่า หิตานุกมฺปี ผู้
อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ก็เพราะเหตุที่ทรงอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์
เกื้อกูล ฉะนั้น พระตถาคตจึงทรงหลุดพ้นจากความยินดียินร้ายแล.
จบอรรถกถาปฏิรูปสูตรที่ ๔

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!