15-148 ราชสีห์



พระไตรปิฎก


๒. สีหสูตร
ว่าด้วยราชสีห์
[๔๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีบริษัทหมู่ใหญ่
แวดล้อม ทรงแสดงธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ มีบริษัทหมู่ใหญ่
แวดล้อม แสดงธรรมอยู่ ทางที่ดีเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับ เพื่อให้
บริษัทหลงเข้าใจผิดเถิด”
[๔๕๐] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูล
ผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ทำไมท่านจึงกล้าบันลือดุจราชสีห์
ในท่ามกลางบริษัท
คนที่พอจะต่อสู้กับท่านได้ก็ยังมี
ท่านเข้าใจว่า เป็นผู้ชนะแล้วหรือ
[๔๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า
พระตถาคตทั้งหลาย
ผู้เป็นมหาวีระ บรรลุทสพลญาณ A
ข้ามตัณหาอันเป็นเหตุซ่านไปในโลกได้แล้ว
จึงกล้าบันลือในท่ามกลางบริษัท
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
สีหสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A ทสพลญาณ หมายถึงพระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ที่ทำให้พระองค์บันลือสีหนาท
ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง คือ (๑) ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้น
ของสิ่งทั้งหลาย (๒) กัมมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม (๓) สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชา
หยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่ข้อปฏิบัติทั้งปวงหรือสู่ประโยชน์ทั้งปวง (๔) นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้สภาวะ
ของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ เป็นอเนก (๕) นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยเป็นต้นของ
สัตว์ทั้งหลาย (๖) อินทริยปโรปริยัตตญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์
ทั้งหลาย (๗) ญาณาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ควมผ่องแผ้วเป็นต้น (๘) ปุพเพ-
นิวาสานุสสติญาณ ปรีชาหยั่งรู้ภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ (๙) จุตูปปาตญาณ ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติ
ของสัตว์ทั้งหลาย (๑๐) อาสวักขยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (องฺ.ทสก. (แปล)
๒๔/๒๑/๔๓-๔๗)

บาลี



สีหสุตฺต
[๔๔๙] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส
ปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา มหติยา
ปริสาย ปริวุโต ธมฺม เทเสติ ฯ อถ โข มารสฺส ปาปิมโต
เอตทโหสิ อย โข สมโณ โคตโม มหติยา ปริสาย ปริวุโต
ธมฺม เทเสติ ยนฺนูนาห เยน สมโณ โคตโม เตนุปสงฺกเมยฺย
วิจกฺขุกมฺมายาติ ฯ
[๔๕๐] อถ โข มาโร ปาปิมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
กึ นุ สีโหว นทสิ ปริสาย วิสารโท
ปฏิมลฺโล หิ เต อตฺถิ วิชิตาวี นุ มฺสีติ ฯ
[๔๕๑] นทนฺติ เว มหาวีรา ปริสาสุ วิสารทา
ตถาคตา พลปฺปตฺตา ติณฺณา โลเก วิสฺสตฺติกนฺติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ ม ภควา ชานาติ ม สุคโตติ
ทุกฺขี ทุมฺมโน ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาสีหสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสีหสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า วิจกฺขุกมฺมาย ได้แก่ เพื่อประสงค์จะทำปัญญาจักษุของ
บริษัทให้เสีย. แต่มารนั้น ไม่อาจทำปัญญาจักษุของพระพุทธะทั้งหลายให้เสียได้
ได้แต่ประกาศหรือสำแดงอารมณ์ที่น่ากลัวแก่บริษัท. บทว่า วิชิตาวี นุ
มญฺสิ ความว่า ท่านยังสำคัญว่า เราเป็นผู้ชนะอยู่หรือหนอ ท่านอย่าสำคัญ
อย่างนี้ ความชนะของท่านไม่มีดอก. บทว่า ปริสาสุ ได้แก่ ในบริษัท ๘.
บทว่า พลปฺปตฺตา ได้แก่ ผู้บรรลุทศพลญาณ.
จบอรรถกถาสีหสูตรที่ ๒

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!