15-141 บ่วงแห่งมาร สูตรที่ 2



พระไตรปิฎก


๕. ทุติยมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงแห่งมาร สูตรที่ ๒
[๔๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของ
มนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
พวกเธอจงจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พวกเธออย่าได้
ไปโดยทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามใน
ท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ
พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในตาน้อยมีอยู่
ย่อมเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม จักมีผู้รู้ธรรม ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็จักไปยังตำบล
อุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม”
[๔๒๙] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านได้ถูกบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ คล้องไว้แล้ว
ท่านได้ถูกเครื่องพันธนาการมากมายผูกไว้แล้ว
สมณะ ท่านไม่พ้นจากเราไปได้
[๔๓๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
เราได้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เราได้พ้นแล้วจากเครื่องพันธนาการมากมาย
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว A
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ทุติยมารปาสสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๓๒-๓๓/๔๐-๔๑

บาลี



ทุติยปาสสุตฺต
[๔๒๘] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา พาราณสิย วิหรติ
อิสิปตเน มิคทาเย ฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ ฯ
ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ ภควา เอตทโวจ
มุตฺตาห ๑ ภิกฺขเว สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา เย จ มานุสา ตุเมฺหปิ
ภิกฺขเว มุตฺตา สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา เย จ มานุสา จรถ
ภิกฺขเว จาริก พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย
หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสาน มา เอเกน เทฺว อคมิตฺถ ๒ เทเสถ
ภิกฺขเว ธมฺม อาทิกลฺยาณ มชฺเฌกลฺยาณ ปริโยสานกลฺยาณ
สาตฺถ สพฺยฺชน เกวลปริปุณฺณ ปริสุทฺธ พฺรหฺมจริย ปกาเสถ
สนฺติ สตฺตา อปฺปรชกฺขชาติกา อสฺสวนตา ธมฺมสฺส ปริหายนฺติ
ภวิสฺสนฺติ ธมฺมสฺส อฺาตาโร อหมฺปิ ภิกฺขเว เยน อุรุเวลา
เสนานิคโม ๓ เตนุปสงฺกมิสฺสามิ ธมฺมเทสนายาติ ฯ
[๔๒๙] อถ โข มาโร ปาปิมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
พนฺโธสิ ๔ สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา เย จ มานุสา
มหาพนฺธนพนฺโธสิ น เม สมณ โมกฺขสีติ ฯ
[๔๓๐] มุตฺโตห สพฺพปาเสหิ เย ทิพฺพา เย จ มานุสา
มหาพนฺธนมุตฺโตมฺหิ นิหโต ตฺวมสิ อนฺตกาติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ฯเปฯ ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. มุตฺโตห ฯ ๒ ยุ. อคเมตฺถ ฯ
๓ วินยโปตฺถเก เยน อุรุเวลา เยน เสนานิคโมติ อีทิโส ปาโ
ทิสฺสติ ฯ ๔ ม. ยุ. พทฺโธสิ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาทุติยปาสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปาสสูตรที่ ๕ ต่อไป:-
บทว่า มุตฺตาหํ แปลว่า เราพ้นแล้ว. สูตรต้นตรัสภายในพรรษา
ส่วนสูตรนี้ ตรัสในเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว. บทว่า จาริกํ ได้แก่
จาริกไปตามลำดับ. ตรัสว่า พวกเธอจงจาริกไปวันละหนึ่งโยชน์เป็นอย่างยิ่ง.
บทว่า มา เอเกน เทฺว แปลว่า อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป. ด้วยว่า เมื่อ
ไปทางเดียวกัน ๒ รูป เมื่อรูปหนึ่งกล่าวธรรม อีกรูปหนึ่ง ก็จำต้องยืนนิ่ง
เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า กลฺยาณํ ในบทว่า อาทิกลฺยาณํ เป็นต้น แปลว่า ดี เจริญ
ในเบื้องต้น ในท่ามกลางและในที่สุดก็เหมือนกัน ก็ชื่อว่า เบื้องต้นท่ามกลาง
และที่สุดนี้มี ๒ คือ ศาสนาและเทศนา. ใน ๒ อย่างนั้น ศีล เป็นเบื้องต้น
ของศาสนา สมถวิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผลนิพพานเป็นที่สุด. อีก
นัยหนึ่ง ศีล และสมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาและมรรคเป็นท่ามกลาง ผล
นิพพานเป็นที่สุด อีกนัยหนึ่ง ศีลสมาธิวิปัสสนา เป็นเบื้องต้น มรรคเป็นท่ามกลาง
ผลนิพพานเป็นที่สุด. ส่วนเทศนา สำหรับคาถา ๔ บทก่อน บทที่ ๑ เป็น
เบื้องต้น บทที่ ๒-๓ เป็นท่ามกลาง บทที่ ๔ เป็นที่สุด สำหรับ ๕ บท
หรือ ๖ บท บทแรกเป็นเบื้องต้น บทสุดท้ายเป็นที่สุด ที่เหลือเป็นท่ามกลาง.
สำหรับพระสูตรมีอนุสนธิเดียว คำนิทานเริ่มต้นเป็นเบื้องต้น. คำนิคมลงท้าย
ว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด คำที่เหลือเป็นท่ามกลาง. สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิ
มาก แม้จะมากตรงกลาง ก็จัดเป็นอนุสนธิเดียวเท่านั้น คำนิทานเป็นเบื้องต้น
คำลงท้ายว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด.
บทว่า สาตฺถํ ได้แก่ แสดงให้พร้อมอรรถ. บทว่า สพฺยญฺชนํ
ได้แก่ จงแสดงให้บริบูรณ์ด้วยพยัญชนะและบท. บทว่า เกวลปริปุณฺณํ
แปลว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง. บทว่า ปริสุทฺธํ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า
พฺรหฺมจริยํ ได้แก่ ศาสนาพรหมจรรย์ที่สงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓. บทว่า
ปกาเสถ ได้แก่ กระทำให้แจ้ง.
บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ได้แก่มีสภาพธุลี คือกิเลสน้อย ใน
จักษุคือปัญญา อธิบายว่า เหล่าสัตว์ที่สามารถบรรลุพระอรหัต เมื่อจบคาถา
๔ บท ประหนึ่งปิดไว้ด้วยม่านผ้าเนื้อละเอียด มีอยู่. บทว่า อสฺสวนตา แปลว่า
เพราะไม่ได้ฟังธรรม. บทว่า ปริหายนฺติ ได้แก่ ย่อมเสื่อมจากธรรม โดย
ไม่เสื่อมจากลาภ. บทว่า เสนานิคโม ได้แก่ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในโอกาสที่ตั้ง
กองทัพของเหล่ามนุษย์ต้นกัป อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ หมู่บ้านเสนานิคมของ .
บิดานางสุชาดา. บทว่า เตนุปสงฺกมิสฺสามิ ความว่า เราส่งพวกเธอไป
ให้สร้างสถานที่มีบริเวณเป็นต้น ถูกพวกอุปัฏฐากเป็นต้น บำเรออยู่หามิได้.
แต่เราครั้นแสดงยมกปาฏิหาริย์ ๑,๕๐๐ แก่ชฏิลสามพี่น้องแล้วเข้าไปก็เพื่อ
แสดงธรรมอย่างเดียว. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า มารคิดว่า พระสมณ
โคดมนี้ ส่งพระภิกษุ ๖๐ รูปไปด้วยกล่าวว่า พวกเธออย่าไปทางเดียวกัน ๒
รูป จงแสดงธรรม ประหนึ่งทำการรบใหญ่ ก็เมื่อพระสมณโคดมนี้แม้องค์
เดียวแสดงธรรมอยู่ เรายังไม่มีความสบายใจเลย เมื่อภิกษุเป็นอันมากแสดง
อยู่อย่างนี้ เราจักมีความสบายใจได้แค่ไหนเล่า จำเราจักห้ามกัน พระสมณโคดม
นั้นเสีย ดังนี้แล้วจึงเข้าไปเฝ้า.
จบอรรถกถาทุติยปาสสูตรที่ ๕

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!