15-140 บ่วงแห่งมาร สูตรที่ 1
พระไตรปิฎก
๔. ปฐมมารปาสสูตร
ว่าด้วยบ่วงแห่งมาร สูตรที่ ๑
[๔๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย วิมุตติ(ความหลุดพ้น) อันยอดเยี่ยมเราบรรลุแล้ว วิมุตติอัน
ยอดเยี่ยมเรากระทำให้แจ้งแล้ว เพราะมนสิการโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรไว้
ชอบโดยแยบคาย แม้เธอทั้งหลายก็จงบรรลุวิมุตติอันยอดเยี่ยม จงกระทำวิมุตติ
อันยอดเยี่ยมให้แจ้ง เพราะมนสิการโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรไว้ชอบโดย
แยบคายเถิด”
[๔๒๖] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านได้ถูกบ่วงแห่งมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ คล้องไว้แล้ว
ท่านได้ถูกเครื่องผูกของมารผูกไว้แล้ว
สมณะ ท่านไม่พ้นจากเราไปได้
[๔๒๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
เราได้พ้นแล้วจากบ่วงแห่งมาร
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์
เราได้พ้นแล้วจากเครื่องผูกของมาร
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปฐมมารปาสสูตรที่ ๔ จบ
บาลี
ปมปาสสุตฺต
[๔๒๕] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา พาราณสิย วิหรติ
อิสิปตเน มิคทาเย ฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ ฯ
ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ ภควา เอตทโวจ
มยฺห โข ภิกฺขเว โยนิโสมนสิการา โยนิโสสมฺมปฺปธานา อนุตฺตรา
วิมุตฺติ อนุปฺปตฺตา อนุตฺตรา วิมุตฺติ สจฺฉิกตา ตุเมฺหปิ ภิกฺขเว
โยนิโสมนสิการา โยนิโสสมฺมปฺปธานา อนุตฺตร วิมุตฺตึ อนุปาปุณาถ
อนุตฺตร วิมุตฺตึ สจฺฉิกโรถาติ ฯ
[๔๒๖] อถ โข มาโร ปาปิมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
พนฺโธสิ ๑ มารปาเสน เย ทิพฺพา เย จ มานุสา
มารพนฺธนพนฺโธสิ น เม สมณ โมกฺขสีติ ฯ
[๔๒๗] มุตฺตาห ๒ มารปาเสน เย ทิพฺพา เย จ มานุสา
มารพนฺธนมุตฺโตมฺหิ นิหโต ตฺวมสิ อนฺตกาติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ฯเปฯ ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
******************
๑ สี. ยุ. พทฺโธสิ ฯ ๒ ม. ยุ. มุตฺโตห ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาปฐมปาสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปาสสูตรที่ ๔ ต่อไป :-
บทว่า โยนิโสมนสิการา ได้แก่ เพราะกระทำไว้ในใจโดยอุบาย.
บทว่า โยนิโสสมฺมปฺปธานา ได้แก่ เพราะความเพียรโดยอุบาย เพราะความ
เพียรโดยเหตุ. บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติที่สัมปยุทด้วยอรหัตผล.
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า มารคิดว่า พระสมณโคดมนี้ ทำความเพียร
แม้ตนเองบรรลุพระอรหัตแล้วก็ไม่สะใจ บัดนี้ก็ทำความอุตสาหะให้คนอื่น ๆ
ว่า พวกท่านจงพากันบรรลุพระอรหัต จำเราจักกำจัดเธอเสีย ดังนี้ จึงได้
กล่าวอย่างนั้น.
บทว่า มารปาเสน ได้แก่ บ่วงกิเลส. ด้วยบทว่า เย ทิพฺพา เย
จ มานุสา มารกล่าวว่า ชื่อว่าบ่วงมารเหล่าใด กล่าวคือ กามคุณที่เป็นทิพย์
และกล่าวคือกามคุณที่เป็นของมนุษย์มีอยู่ ท่านถูกบ่วงมารเหล่านั้น ผูกไว้แล้ว.
บทว่า มารพนฺธนพนฺโธ แปลว่า ถูกบ่วงมารผูกไว้ หรือติดบ่วงมาร.
บทว่า น เม สมณ โมกฺขสิ ความว่า ดูก่อนสมณะ ท่านจักไม่หลุดพ้น
จากวิสัยของเราไปได้.
จบอรรถกถาปฐมปาสสูตรที่ ๔