15-136 ชราและมรณะเป็นประดุจภูเขา



พระไตรปิฎก


๕. ปัพพโตปมสูตร
ว่าด้วยชราและมรณะเป็นประดุจภูเขา
[๔๑๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแต่
ยังวัน ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้า
ปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์เสด็จ
มาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าประเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตราธิราชผู้ได้
มูรธาภิเษกแล้ว มัวเมาเพราะความเป็นใหญ่ ถูกความกำหนัดในกามกลุ้มรุมแล้ว
ผู้ถึงซึ่งความมั่นคงในชนบท ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่ มีราช-
กรณียกิจอันใด บัดนี้ ข้าพระองค์ก็ขวนขวายในราชกรณียกิจอันนั้น”
[๔๑๒] “มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้ ราชบุรุษ
ของพระองค์ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้า
พระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์
มาจากทิศตะวันออก ณ ที่นั้นได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียมเมฆกำลังกลิ้งบดสัตว์ทั้งปวง
พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกระทำสิ่งที่พึงกระทำเถิด”
ลำดับนั้น บุรุษคนที่ ๒ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศ
ตะวันตก ฯลฯ
ต่อจากนั้น บุรุษคนที่ ๓ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศเหนือ
ฯลฯ
ต่อจากนั้น บุรุษคนที่ ๔ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน มาจากทิศใต้
เข้ามาเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระองค์
มาจากทิศใต้ ณ ที่นั้น ได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียมเมฆกำลังกลิ้งบดสัตว์ทั้งปวง
พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงกระทำสิ่งที่พึงกระทำเถิด’ เมื่อมหาภัยร้ายกาจ ที่จะทำ
ให้มนุษย์สิ้นชีวิต อันใหญ่หลวงเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์ อะไรเล่าจะเป็น
กิจที่พระองค์ควรกระทำในฐานะเป็นมนุษย์ที่หาได้ยาก”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อมหาภัยร้ายกาจ ที่จะทำให้มนุษย์สิ้นชีวิต อันใหญ่
หลวงเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ
ในฐานะเป็นมนุษย์ที่หาได้ยาก นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย สร้างบุญ
กุศลเอาไว้”
[๔๑๓] “มหาบพิตร อาตมภาพขอถวายพระพรให้ทรงทราบ ชราและมรณะย่อม
ครอบงำพระองค์ เมื่อชราและมรณะครอบงำพระองค์อยู่ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่พระองค์
ควรกระทำ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อชราและมรณะครอบงำข้าพระองค์อยู่ อะไรเล่า
จะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย
สร้างบุญกุศลเอาไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตราธิราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว มัวเมา
เพราะความเป็นใหญ่ ถูกความกำหนัดในกามกลุ้มรุมแล้ว ผู้ถึงความมั่นคงในชนบท
ผู้ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่ ทรงทำการรบด้วยพลช้างเหล่าใด เมื่อชรา
และมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วยพลช้างแม้เหล่านั้น
กษัตราธิราชผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว ฯลฯ ผู้ชนะปฐพีมณฑลใหญ่แล้วครอบครองอยู่
ทรงทำการรบด้วยพลม้าเหล่าใด ฯลฯ รบด้วยพลรถเหล่าใด ฯลฯ รบด้วยพลเดิน
เท้าแม้เหล่าใด เมื่อชราและมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบ
ด้วยพลเดินเท้าแม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในราชตระกูลนี้ มหาอำมาตย์
ผู้มีมนตร์ ซึ่งสามารถจะใช้มนตร์ทำลายข้าศึกที่ยกทัพมา ก็มีอยู่เหมือนกัน แต่เมื่อ
ชราและมรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วยมนตร์แม้เหล่านั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง ในราชตระกูลนี้ เงินทองทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ใน
อากาศซึ่งพวกข้าพระองค์สามารถจะใช้เป็นเครื่องมือยุแหย่ให้ข้าศึกที่ยกทัพมาแตกกัน
ก็มีอยู่เป็นอันมาก แต่เมื่อชราและมรณะครอบงำก็ไม่ใช่คติ ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบ
ด้วยทรัพย์แม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แลเมื่อชราและมรณะครอบงำอยู่
อะไรเล่าจะเป็นกิจที่ข้าพระองค์ควรกระทำ นอกจากปฏิบัติธรรมให้เสมอต้นเสมอปลาย
สร้างบุญกุศลเอาไว้”
[๔๑๔] “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ก็เมื่อชราและ
มรณะครอบงำอยู่ อะไรเล่าจะเป็นกิจที่พระองค์ควรกระทำนอกจากปฏิบัติธรรมให้
เสมอต้นเสมอปลาย สร้างบุญกุศลเอาไว้”
[๔๑๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ภูเขาใหญ่ล้วนแล้วด้วยศิลา สูงจดท้องฟ้า
กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ แม้ฉันใด
ชราและมรณะก็ฉันนั้น
ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือ พวกกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะ
ไม่เว้นใคร ๆ ไว้เลย ย่อมย่ำยีเหล่าสัตว์ทั้งสิ้น
ณ ที่นั้น ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลช้าง
(พลม้า) พลรถ พลเดินเท้า
และไม่อาจจะเอาชนะแม้ด้วยมนตร์หรือด้วยทรัพย์
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา
เมื่อเห็นประโยชน์ตน พึงตั้งศรัทธาไว้ในพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์
ผู้ใดมีปกติประพฤติธรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้โดยแท้
ผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
ปัพพโตปมสูตรที่ ๕ จบ

บาลี



ปพฺพโตปมสุตฺต
[๔๑๑] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล
ทิวาทิวสฺส เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
เอกมนฺต นิสีทิ ฯ เอกมนฺต นิสินฺน โข ราชาน ปเสนทิโกสล
ภควา เอตทโวจ หนฺท กุโต นุ ตฺว มหาราช อาคจฺฉสิ
ทิวาทิวสฺสาติ ฯ ยานิ ตานิ ภนฺเต รฺ ขตฺติยาน มุทฺธาวสิตฺตาน
อิสฺสริยมทมตฺตาน กามเคธปริยุฏฺิตาน ชนปทตฺถาวริยปฺปตฺตาน
มหนฺต ปวีมณฺฑล อภิวิชิย อชฺฌาวสนฺตาน ราชกรณียานิ
ภวนฺติ เตสฺวาห เอตรหิ อุสฺสุกฺก อาปนฺโนติ ฯ
[๔๑๒] ต กึ มฺสิ มหาราช อิธ เต ปุริโส อาคจฺเฉยฺย
ปุรตฺถิมาย ทิสาย สทฺธายิโก ปจฺจยิโก โส ต อุปสงฺกมิตฺวา
เอว วเทยฺย ยคฺเฆ มหาราช ชาเนยฺย อห อาคจฺฉามิ ปุรตฺถิมาย
ทิสาย ตตฺถทฺทส มหนฺต ปพฺพต อพฺภสม สพฺเพ ปาเณ
นิปฺโปเถนฺโต อาคจฺฉติ ยนฺเต มหาราช กรณีย ต กโรหีติ ฯ
อถ ทุติโย ปุริโส อาคจฺเฉยฺย ทกฺขิณาย ทิสาย ฯเปฯ อถ
ตติโย ปุริโส อาคจฺเฉยฺย ปจฺฉิมาย ทิสาย ฯเปฯ อถ จตุตฺโถ
ปุริโส อาคจฺเฉยฺย อุตฺตราย ทิสาย สทฺธายิโก ปจฺจยิโก โส
ต อุปสงฺกมิตฺวา เอว วเทยฺย ยคฺเฆ มหาราช ชาเนยฺย อห
อาคจฺฉามิ อุตฺตราย ทิสาย ตตฺถทฺทส มหนฺต ปพฺพต อพฺภสม
สพฺเพ ปาเณ นิปฺโปเถนฺโต อาคจฺฉติ ยนฺเต มหาราช กรณีย
ต กโรหีติ ฯ เอวรูเป เต มหาราช มหติ มหพฺภเย สมุปฺปนฺเน
ทารุเณ มนุสฺสกฺขเย ทุลฺลเภ มนุสฺสตฺเต กิมสฺส กรณียนฺติ ฯ
เอวรูเป เม ภนฺเต มหติ มหพฺภเย สมุปฺปนฺเน ทารุเณ มนุสฺสกฺขเย
ทุลฺลเภ มนุสฺสตฺเต กิมสฺส กรณีย อฺตฺร ธมฺมจริยาย อฺตฺร
สมจริยาย อฺตฺร กุสลกิริยาย อฺตฺร ปุฺกิริยายาติ ฯ
[๔๑๓] อาโรเจมิ โข เต มหาราช ปฏิเวเทมิ โข เต
มหาราช อธิวตฺตติ โข ต มหาราช ชรามรณ อธิวตฺตมาเน จ
เต มหาราช ชรามรเณ กิมสฺส กรณียนฺติ ฯ อธิวตฺตมาเน จ
เม ภนฺเต ชรามรเณ กิมสฺส กรณีย อฺตฺร ธมฺมจริยาย
อฺตฺร สมจริยาย อฺตฺร กุสลกิริยาย อฺตฺร ปุฺกิริยาย๏
ยานิ ตานิ ภนฺเต รฺ ขตฺติยาน มุทฺธาวสิตฺตาน อิสฺสริยมทมตฺตาน
กามเคธปริยุฏฺิตาน ชนปทตฺถาวริยปฺปตฺตาน มหนฺต ปวีมณฺฑล
อภิวิชิย อชฺฌาวสนฺตาน หตฺถิยุทฺธานิ ภวนฺติ เตสมฺปิ
ภนฺเต หตฺถิยุทฺธาน นตฺถิ คติ นตฺถิ วิสโย อธิวตฺตมาเน
ชรามรเณ ยานิปิ ตานิ ภนฺเต รฺ ขตฺติยาน มุทฺธาวสิตฺตาน
ฯเปฯ อชฺฌาวสนฺตาน อสฺสยุทฺธานิ ภวนฺติ ฯเปฯ รถยุทฺธานิ
ภวนฺติ ฯเปฯ ปตฺติยุทฺธานิ ภวนฺติ เตสมฺปิ ภนฺเต ปตฺติยุทฺธาน
นตฺถิ คติ นตฺถิ วิสโย อธิวตฺตมาเน ชรามรเณ สนฺติ โข
ปน ภนฺเต อิมสฺมึ ราชกุเล มนฺติโน มหามตฺตา เย ปโหนฺติ
อาคเต ปจฺจตฺถิเก มนฺเตหิ เภทยิตุ เตสมฺปิ ภนฺเต มนฺตยุทฺธาน
นตฺถิ คติ นตฺถิ วิสโย อธิวตฺตมาเน ชรามรเณ สวิชฺชติ โข
ปน ภนฺเต อิมสฺมึ ราชกุเล ปหูต หิรฺสุวณฺณ ภูมิคตฺเจว
เวหาสฏฺฺจ เยน มย ปโหม อาคเต ปจฺจตฺถิเก ธเนน อุปลาเปตุ
เตสมฺปิ ภนฺเต ธนยุทฺธาน นตฺถิ คติ นตฺถิ วิสโย อธิวตฺตมาเน
ชรามรเณ อธิวตฺตมาเน จ เม ภนฺเต ชรามรเณ กิมสฺส กรณีย
อฺตฺร ธมฺมจริยาย อฺตฺร สมจริยาย อฺตฺร กุสลกิริยาย
อฺตฺร ปุฺกิริยายาติ ฯ
[๔๑๔] เอวเมต มหาราช เอวเมต อธิวตฺตมาเน จ เต
ชรามรเณ กิมสฺส กรณีย อฺตฺร ธมฺมจริยาย อฺตฺร สมจริยาย
อฺตฺร กุสลกิริยาย อฺตฺร ปุฺกิริยายาติ ฯ
[๔๑๕] อิทมโวจ ภควา ฯเปฯ สตฺถา
ยถาปิ เสลา วิปุลา นภ อาหจฺจ ปพฺพตา
สมนฺตา อนุปริเยยฺยุ นิปฺโปเถนฺตา จตุทฺทิสา
เอว ชรา จ มจฺจุ จ อธิวตฺตนฺติ ปาณิโน
ขตฺติเย พฺราหฺมเณ เวสฺเส สุทฺเท จณฺฑาลปุกฺกุเส
น กิฺจิ ๑ ปริวชฺเชติ สพฺพเมวาภิมทฺทติ
น ตตฺถ หตฺถีน ภูมิ น รถาน น ปตฺติยา
น จาปิ มนฺตยุทฺเธน สกฺกา เชตุ ธเนน วา
ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส สมฺปสฺส อตฺถมตฺตโน
พุทฺเธ ธมฺเม จ สงฺเฆ จ ธีโร สทฺธ นิเวสเย
โย ธมฺมจารี ๒ กาเยน วาจาย อุท เจตสา
อิเธว น ปสสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทตีติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาปัพพโตปมสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปัพพโตปมสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
บทว่า มุทฺธาวสิตานํ ได้แก่ ผู้อันเขารดน้ำแล้วบนพระเศียรด้วย
อภิเษกเป็นกษัตริย์ ชื่อว่าผู้อันเขาทำการอภิเษกแล้ว. บทว่า กามเคธปริยุฏฺฐิตานํ
แปลว่า ผู้อันความกำหนัดในกามทั้งหลายกลุ้มรุม คือครอบงำแล้ว.
บทว่า ชนปทถาวริยปฺปตฺตานํ แปลว่า ผู้ถึงความมั่นคงในชนบท. บท
ว่า ราชกรณียานิ แปลว่า การงานของพระราชา คือกิจที่พระราชาพึงทรง
กระทำ. บทว่า เตสฺวาหํ ตัดเป็น เตสุ อหํ. บทว่า อุสฺสุกํ อาปนฺโน
แปลว่า ถึงความขวนขวาย ได้ยินว่า พระราชานั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
วันละ ๓ ครั้ง เสด็จไประหว่างนั้น ก็หลายครั้ง เมื่อท้าวเธอเสด็จไปเป็น
ประจำ หมู่ทหารก็มากบ้าง น้อยบ้าง ต่อมาวันหนึ่ง โจร ๕๐๐ คิดกันว่า
พระราชาพระองค์นี้ เสด็จไปเฝ้าพระสมณโคดม โดยหมู่พลจำนวนน้อย ใน
เวลาไม่สมควร จำเราจักดักระหว่างทางยึดสมบัติ. โจรเหล่านั้นก็พากันไปซุ่ม
ซ่อนอยู่ในป่าอันธวัน. ก็ธรรมดาพระราชาทั้งหลายย่อมเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก.
ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่งออกไปจากกลุ่มโจรเหล่านั้นนั่นแหละ กราบทูลแด่พระราชา.
พระราชาก็พาหมู่ทหารจำนวนมาก ไปล้อมป่าอันธวัน จับโจรเหล่านั้นได้หมด
โปรดให้ปักหลาวไว้ใกล้สองข้างทางตั้งแต่อันธวันจนถึงประตูพระนคร ให้เหล่า
โจรหวาดเสียวที่หลาวทั้งหลาย โดยประการที่เหล่าโจรได้แต่เอาตาจดจ้องมอง
ตากันและกัน พระราชาทรงหมายถึงเรื่องนี้ จึงตรัสอย่างนั้น.
ครั้งนั้นพระศาสดาทรงพระดำริว่า ถ้าเราจะกล่าวว่า ถวายพระพร
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเราอยู่ ณ วิหารใกล้ ๆ กรรมอันทารุณที่มหา-
บพิตรทรงทำแล้ว ไม่สมควรมหาบพิตรก็ทรงทำเสียแล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นดังนั้น
พระราชาพระองค์นี้ ก็จะทรงเก้อเขิน ไม่อาจเหนี่ยวรั้งพระทัยได้ เมื่อเรากำลัง
กล่าวธรรมโดยปริยายก็จักทรงกำหนดไม่ได้ เมื่อทรงเริ่มพระธรรมเทศนา จึง
ตรัสว่า ตํ กึ มญฺสิ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธายิโก
ความว่า ผู้ที่ท่านพึงเชื่อฟังคำ. คำว่า ปจฺจยิโก เป็นไวพจน์ของคำว่า
สทฺธายิโก นั้นนั่นแหละ อธิบายว่า ผู้ที่ท่านพึงเธอถือคำ. บทว่า อพฺภสมํ
ได้แก่ เสมออากาศ. บทว่า นิปฺโปเถนฺโต อาคจฺฉติ ความว่า ภูเขา
ใหญ่สูงเทียมเมฆ กลิ้งมาตั้งแต่พื้นแผ่นดินจดอกนิฎฐพรหมโลก บดสัตว์ทั้ง
สิ้นทำให้แหลกละเอียดเหมือนผงงา.
บทว่า อญฺตฺร ธมฺมจริยาย ความว่า เว้นธรรมจริยา การ
ประพฤติธรรมเสีย ก็ไม่มีกรรมอย่างอื่นที่ควรทำ การประพฤติธรรมกล่าวคือ
กุศลกรรมบถ ๑๐ เท่านั้น ควรทำพระเจ้าข้า. บทว่า สมจริยา เป็นต้นเป็น
ไวพจน์ของบทว่า ธมฺมจริยา นั้นนั่นแหละ. บทว่า อาโรเจมิ แปลว่า
บอก. บทว่า ปฏิเวทยามิ ได้แก่ ให้รู้. บทว่า อธิวตฺตติ ได้แก่
ท่วมทับ. บทว่า หตฺถิยุทฺธานิ ได้แก่ กิจที่ควรขึ้นช้างที่ประดับศีรษะด้วย
ข่ายทอง เช่นช้างนาฬาคิรีแล้วรบ. บทว่า คติ ได้แก่ ความสำเร็จ. บทว่า
วิสโย ได้แก่โอกาสหรือสมรรถภาพ จริงอยู่ใคร ๆ ก็ไม่อาจต่อต้านชรามรณะ
ด้วยทัพเหล่านั้นได้. บทว่า มนฺติโน มหามตฺตา ได้แก่มหาอำมาตย์ เช่น
มโหสถบัณฑิตและวิธุรบัณฑิต ผู้พรั่งพร้อมด้วยปัญญา. บทว่า ภูมิคตํ ได้
แก่เงินทองที่เขาบรรจุหม้อเหล็กใหญ่วางไว้บนดิน. บทว่า เวหาสฏฺฐํ ได้แก่
ที่เขาบรรจุในกระสอบหนังแขวนไว้ที่ขื่อและจันทันเป็นต้น และที่บรรจุวางไว้
ที่หอคอยเป็นต้น. บทว่า อุปลาเปตุํ ได้แก่เพื่อทำลายกันและกัน คือเพื่อทำ
โดยอาการที่คนสองคนไม่ไปทางเดียวกัน.
บทว่า นภํ อาหจฺจ ได้แก่ เต็มอากาศ. บทว่า เอวํ ชรา จ
มจฺจุ จ ในสูตรนี้ ทรงถือเอาภูเขา ๒ เท่านั้น ส่วนในราโชวาท ภูเขามา ๔
ลูกคือ ชรา มรณะ พยาธิ วิบัติ อย่างนี้ว่า ชรามาถึงแล้วก็ปล้นวัยหนุ่มสาว
เสียสั้น. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ ก็เพราะเหตุที่ใคร ๆ ก็ไม่สามารถเอาชนะชรา
มรณะได้ด้วยการต่อยุทธ์ด้วยทัพช้างเป็นต้น ฉะนั้น. บทว่า สทฺธํ นิเวสเย
ได้แก่ พึงดำรงพึงตั้งไว้ซึ่งศรัทธา.
จบอรรถกถาปัพพโตปมสูตรที่ ๕

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!