15-135 ทานที่ประกอบด้วยองค์ 5 มีผลมาก



พระไตรปิฎก


๔. อิสสัตถสูตร
ว่าด้วยทานที่ประกอบด้วยองค์ ๕ มีผลมาก
[๔๐๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลควรให้ทาน ณ ที่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร จิตเลื่อมใสในที่ใดล่ะ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานที่ให้ในที่ไหนจึงมีผลมาก”
[๔๐๖] “มหาบพิตร บุคคลควรให้ทานในที่ไหน นั่นประการหนึ่ง และทานที่ให้ในที่ไหน
จึงมีผลมาก นั่นประการหนึ่ง ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก ทานที่ให้ในผู้ทุศีลไม่มีผลมาก
ด้วยเหตุนั้น อาตมภาพจักย้อนถามพระองค์ในปัญหาข้อนั้นบ้าง พระองค์พอพระทัย
อย่างใดพึงชี้แจงอย่างนั้น
[๔๐๗] พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้
การยุทธ์พึงปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้ากษัตริย์
หนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ฝึกปรือ ไม่มีความชำนาญ ไม่ได้ประลองการยิง เป็นคน
ขลาด หวาดสะดุ้ง มักวิ่งหนี มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์
พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์
ไม่ต้องการคนเช่นนั้นเลย”
“ถ้าพราหมณ์หนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าแพศย์หนุ่มเป็น
ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าศูทรหนุ่มเป็นผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ มาอาสา
พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์
ไม่ต้องการคนเช่นนั้นเลย”
[๔๐๘] “มหาบพิตร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้การยุทธ์
พึงปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้ากษัตริย์หนุ่มเป็น
ผู้ศึกษาดีแล้ว ได้ฝึกปรือแล้ว มีความชำนาญ ได้ฝึกการยิงมาแล้ว ไม่เป็นคน
ขลาด ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่หลบหนี มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ
และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้น และข้าพระองค์พึง
ต้องการคนเช่นนั้น”
“ถ้าพราหมณ์หนุ่มเป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าแพศย์หนุ่ม
เป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ มาอาสา ฯลฯ ถ้าศูทรหนุ่มเป็นผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ
มาอาสา พระองค์พึงชุบเลี้ยงคนนั้นหรือ และพระองค์พึงต้องการคนเช่นนั้นหรือ”
[๔๐๙] “ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร แม้หากว่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
จากตระกูลใด และกุลบุตรนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ทานที่ให้
แล้วในกุลบุตรนั้นจากตระกูลนั้น ย่อมมีผลมาก”
องค์ ๕ อะไรบ้างอันกุลบุตรนั้นละได้ คือ
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) อันกุลบุตรนั้นละได้
๒. พยาบาท (ความคิดปองร้าย) อันกุลบุตรนั้นละได้
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อันกุลบุตรนั้นละได้
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) อันกุลบุตรนั้นละได้
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) อันกุลบุตรนั้นละได้
องค์ ๕ นี้แลอันกุลบุตรนั้นละได้
กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อะไรบ้าง
คือ กุลบุตรนั้น
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ของพระอเสขะ
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ของพระอเสขะ
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ของพระอเสขะ
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ของพระอเสขะ
๕. เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ของพระอเสขะ
กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรผู้ละองค์ ๕
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมมีผลมาก”
[๔๑๐] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ศิลปะธนู กำลัง และความเพียร A มีอยู่ในชายใด
พระราชาผู้ทรงการยุทธ์พึงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้เช่นนั้น
ไม่พึงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้ไม่กล้าหาญ
เพราะเหตุแห่งชาติ ฉันใด
ธรรมคือขันติและโสรัจจะ B ตั้งอยู่ในบุคคลใด
บุคคลพึงบูชาบุคคลนั้นผู้มีปัญญา
มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ
แม้มีชาติตระกูลต่ำ ฉันนั้นเหมือนกัน
บุคคลพึงสร้างอาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์
อาราธนาพระพหูสูตทั้งหลายให้อยู่ ณ ที่นั้น
พึงสร้างบ่อน้ำไว้ในป่าที่กันดารน้ำ
และสร้างสะพานในที่เป็นหล่ม
พึงถวายข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้าและเสนาสนะ
ในท่านผู้ซื่อตรงทั้งหลาย ด้วยใจอันเลื่อมใส
เมฆมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ
มียอดตั้งร้อย คำรามอยู่ ตกรดแผ่นดิน
ทำที่ดอนและที่ลุ่มให้เต็ม แม้ฉันใด
ทายกผู้มีศรัทธา เป็นบัณฑิตได้ฟังแล้ว
ตกแต่งโภชนาหาร เลี้ยงวณิพกด้วยข้าวน้ำให้อิ่มหนำ
เที่ยวไปในโรงทาน สั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้
และทายกนั้นบันลือเสียงเหมือนเมฆคำราม
เมื่อฝนกำลังตก สายธารแห่งบุญอันไพบูลย์นั้น
ย่อมหลั่งรดทายกผู้ให้ ฉันนั้น
อิสสัตถสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A ความเพียร ในที่นี้หมายถึงความเพียรทางกายและทางจิต (สํ.ส.อ. ๑/๑๓๕/๑๕๘)
B ขันติ ในที่นี้หมายถึงอธิวาสนขันติ โสรัจจะ ในที่นี้หมายถึงพระอรหัต (สํ.ส.อ.๑/๑๓๕/๑๕๘)

บาลี



อิสฺสตฺถสุตฺต
[๔๐๕] สาวตฺถิย … เอกมนฺต นิสินฺโน โข ราชา ปเสนทิโกสโล
ภควนฺต เอตทโวจ กตฺถ นุ ๑ โข ภนฺเต ทาน ทาตพฺพนฺติ ฯ
ยตฺถ โข มหาราช จิตฺต ปสีทตีติ ฯ กตฺถ ปน ภนฺเต ทินฺน
มหปฺผลนฺติ ฯ
[๔๐๖] อฺ โข เอต มหาราช กตฺถ ทาน ทาตพฺพ อฺ
ปเนต กตฺถ ทินฺน มหปฺผลนฺติ สีลวโต โข มหาราช ทินฺน
มหปฺผล โน ตถา ทุสฺสีเล ฯ เตน หิ มหาราช ตฺเเวตฺถ
ปฏิปุจฺฉิสฺสามิ ยถา เต ขเมยฺย ตถา น พฺยากเรยฺยาสิ ฯ
[๔๐๗] ต กึ มฺสิ มหาราช อิธ ตฺยสฺส ยุทฺธ ปจฺจุปฏฺิต
สงฺคาโม สมุปพฺยูโฬฺห อถ อาคจฺเฉยฺย ขตฺติยกุมาโร อสิกฺขิโต
อกตหตฺโถ อกตโยคฺโค อกตุปาสโน ภีรุ ฉมฺภี อุตฺราสี ปลายี
ภเรยฺยาสิ ต ปุริส อตฺโถ จ เต ตาทิเสน ปุริเสนาติ ฯ นาห
ภนฺเต ภเรยฺย ต ปุริส น จ เม อตฺโถ ตาทิเสน ปุริเสนาติ ฯ
อถ อาคจฺเฉยฺย พฺราหฺมณกุมาโร อสิกฺขิโต ฯเปฯ อถ อาคจฺเฉยฺย
เวสฺสกุมาโร อสิกฺขิโต ฯเปฯ อถ อาคจฺเฉยฺย สุทฺทกุมาโร อสิกฺขิโต
ฯเปฯ น จ เม อตฺโถ ตาทิเสน ปุริเสนาติ ฯ
[๔๐๘] ต กึ มฺสิ มหาราช อิธ ตฺยสฺส ยุทฺธ ปจฺจุปฏฺิต
สงฺคาโม สมุปพฺยูโฬฺห อถ อาคจฺเฉยฺย ขตฺติยกุมาโร สุสิกฺขิโต
กตหตฺโถ กตโยคฺโค กตุปาสโน อภีรุ อจฺฉมฺภี อนุตฺราสี อปลายี
ภเรยฺยาสิ ต ปุริส อตฺโถ จ เต ตาทิเสน ปุริเสนาติ ฯ
ภเรยฺยาห ภนฺเต ต ปุริส อตฺโถ จ เม ตาทิเสน ปุริเสนาติ ฯ
อถ อาคจฺเฉยฺย พฺราหฺมณกุมาโร ฯเปฯ อถ อาคจฺเฉยฺย เวสฺสกุมาโร
ฯเปฯ อถ อาคจฺเฉยฺย สุทฺทกุมาโร สุสิกฺขิโต กตหตฺโถ
กตโยคฺโค กตุปาสโน อภีรุ อจฺฉมฺภี อนุตฺราสี อปลายี ภเรยฺยาสิ
ต ปุริส อตฺโถ จ เต ตาทิเสน ปุริเสนาติ ฯ ภเรยฺยาห ภนฺเต ต
ปุริส อตฺโถ จ เม ตาทิเสน ปุริเสนาติ ฯ
[๔๐๙] เอวเมว โข มหาราช ยสฺมา ๒ เจปิ กุลา อคารสฺมา
อนคาริย ปพฺพชิโต โหติ โส จ โหติ ปฺจงฺควิปฺปหีโน ปฺจงฺค-
สมนฺนาคโต ตสฺมึ ทินฺน มหปฺผล โหติ ฯ กตมานิ ปฺจงฺคานิ
ปหีนานิ โหนฺติ ฯ กามจฺฉนฺโท ปหีโน โหติ พฺยาปาโท ปหีโน
โหติ ถีนมิทฺธ ปหีน โหติ อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจ ปหีน โหติ วิจิกิจฺฉา
ปหีนา โหติ ฯ อิมานิ ปฺจงฺคานิ ปหีนานิ โหนฺติ ฯ กตเมหิ
ปฺจหงฺเคหิ สมนฺนาคโต โหติ ฯ อเสกฺเขน สีลกฺขนฺเธน สมนฺนาคโต
โหติ อเสกฺเขน สมาธิกฺขนฺเธน สมนฺนาคโต โหติ อเสกฺเขน
ปฺากฺขนฺเธน สมนฺนาคโต โหติ อเสกฺเขน วิมุตฺติกฺขนฺเธน
สมนฺนาคโต โหติ อเสกฺเขน วิมุตฺติาณทสฺสนกฺขนฺเธน
สมนฺนาคโต โหติ ฯ อิเมหิ ปฺจหงฺเคหิ สมนฺนาคโต โหติ ฯ
อิติ ปฺจงฺควิปฺปหีเน ปฺจงฺคสมนฺนาคเต ทินฺน มหปฺผลนฺติ ฯ
[๔๑๐] อิทมโวจ ภควา ฯเปฯ สตฺถา
อิสฺสตฺถ พลวิริยฺจ ยสฺมึ วิชฺเชถ มาณเว
ต ยุทฺธตฺโถ ภเร ราชา นาสูร ชาติปจฺจยา
ตเถว ขนฺติโสรจฺจ ธมฺมา ยสฺมึ ปติฏฺิตา
ตมริยวุตฺติ ๓ เมธาวึ หีนชจฺจมฺปิ ปูชเย
การเย อสฺสเม รมฺเม วาสเยตฺถ พหุสฺสุเต
ปปฺจวิวเน กยิรา ทุคฺเค สงฺกมนานิ จ
อนฺน ปาน ขาทนีย วตฺถเสนาสนานิ จ
ทเทยฺย อุชุภูเตสุ วิปฺปสนฺเนน เจตสา
ยถาปิ ๔ เมโฆ ถนย วิชฺชุมาลี สตกฺกุกุ ๕
ถล นินฺนฺจ ปูเรติ อภิวสฺส วสุนฺธร
ตเถว สทฺโธ สุตวา อภิสงฺขจฺจ โภชน
วณิพฺพเก ตปฺปยติ อนฺนปาเนน ปณฺฑิโต
อนุโมทมาโน ปกิเรติ เทถ เทถาติ ภาสติ
ตฺหิสฺส ตชฺชิต ๖ โหติ เทวสฺเสว ปวสฺสโต
สา ปุฺธารา วิปุลา ทาตาร อภิวสฺสตีติ ฯ

******************

๑ สี. กถนฺนูติ ปาโ ฯ ๒ ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร กสฺมาติ ทิสฺสติ ฯ
๓ ม. อริยวุตฺตึ เมธาวึ ฯ ยุ. ตมริยวุตฺตึ ฯ ๔ ม. ยุ. ยถาหิ ฯ
๕ ม. ยุ. สตกฺกกุ ฯ ๖ โป. ม. ยุ. คชฺชิต ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาอิสสัตถสูตร
การตั้งขึ้นแห่งอิสสัตถสูตรที่ ๔ มีอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องดังนี้ :-
ได้ยินว่า ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์มีลาภ
สักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก. เหล่าเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ ก็เที่ยวพูดไปใน
ตระกูลทั้งหลาย อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวอย่างนี้ว่า พึงให้ทานแก่เรา
เท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่พวกอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่พึง
ให้ทานแก่เหล่าสาวกของพวกอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้
แก่พวกอื่น ไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น มีผลมาก ทานที่ให้
แก่เหล่าสาวกของพวกอื่น ไม่มีผลมาก. แม้ทั้งที่ตนเองก็ยังอาศัยภิกขาจาร
ควรละหรือที่มาทำอันตรายแก่ปัจจัย ๔ ของพวกอื่น ซึ่งก็อาศัยภิกขาจาร
เหมือนกัน พระสมณโคดมทำไม่ถูก ไม่สมควรเลย ถ้อยคำนั้นก็แผ่กระจาย
ไปถึงราชสกุล. พระราชาทรงสดับแล้ว ทรงพระดำริว่า มิใช่ฐานะเลย (เป็น
ไปไม่ได้) ที่พระตถาคตจะพึงทรงทำอันตรายแก่สาวกของตนพวกอื่น มีแต่
คนอื่นเหล่านั้น กระเสือกกระสน เพื่อไม่ให้มีลาภ เพื่อไม่ให้มียศแก่พระตถาคต
ถ้าเรายังอยู่ในที่นี้นี่แหละ ก็จะพึงพูดว่า พวกท่านอย่าพูดอย่างนี้ พระศาสดา
ย่อมไม่ตรัสอย่างนั้น ถ้อยคำนั้น ไม่พึงถึงความไม่มีมลทินโทษ เราจักทำ
ถ้อยคำนั้นให้หมดมลทิน ในเวลาที่มหาชนนี้ชุมนุมกัน จึงทรงนิ่งรอคอยวัน
มหรสพวันหนึ่งอยู่.
สมัยต่อมา เมื่อมหาชนชุมนุมกัน พระราชาทรงพระดำริว่า เวลานี้
เป็นกาลแห่งมหรสพนี้ แล้วโปรดให้ตีกลองประกาศไปในพระนครว่า คน
ทั้งหลายไม่ว่ามีศรัทธาหรือไม่มีศรัทธา เป็นสัมมาทิฏฐิ หรือมิจฉาทิฏฐิ ยกเว้น
เด็กหรือสตรีเฝ้าเรือน ต้องไปยังพระวิหาร ผู้ใดไม่ไปจะต้องถูกปรับไหม
๕๐ กหาปณะ แม้พระองค์เอง ก็ทรงสรงสนานแต่เช้าตรู่ เสวยพระกระยาหาร
เช้าแล้ว ทรงประดับพระองค์ด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง แล้วได้เสด็จไปยัง
พระวิหาร พร้อมด้วยหมู่ทหารหมู่ใหญ่ เมื่อกำลังเสด็จ ทรงพระดำริว่า
เราจักทูลถามปัญหาที่ไม่ควรจะถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เขาว่า
พระองค์ตรัสว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ ทานที่ให้แก่เหล่าสาวกของ
คนพวกอื่น ไม่มีผลมาก ดังนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบปัญหาของเรา
ก็จักทรงทำลายวาทะของเหล่าเดียรถีย์ได้ในที่สุด ท้าวเธอเมื่อทรงทูลถามปัญหา
จึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลควรให้ทานในที่ไหนหนอ. บทว่า
ยตฺถ ความว่า จิตเลื่อมใสในบุคคลใด พึงให้ทานในบุคคลนั้น หรือพึงให้
แก่บุคคลนั้น.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ พระราชาก็ทอดพระเนตรดูเหล่า
ผู้คนที่บอกกล่าวคำของเหล่าเดียรถีย์. ผู้คนเหล่านั้นพอสบพระเนตรพระราชา
ก็เก้อเขิน ก้มหน้ายืนเอาหัวนิ้วเท้าขุดพื้นดิน. พระราชาเมื่อจะทรงประกาศ
แก่มหาชน ก็ได้ตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดัง บทเดียวเท่านั้นว่า พวกเดียรถีย์ถูก
ขจัดแล้ว ครั้นตรัสพระดำรัสอย่างนี้แล้ว จึงทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ขึ้นชื่อว่า จิตย่อมเลื่อมใสในเหล่านิครนถ์อเจลกและปริพาชกเป็นต้น
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ทานที่ให้แล้วในคนพวกไหนเล่ามีผลมาก. บทว่า อญฺํ
โข เอตํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร มหาบพิตรตรัสถาม
ครั้งแรกอย่างหนึ่ง ครั้งหลังก็ทรงกำหนดอีกอย่างหนึ่ง แม้การตอบปัญหานี้
ก็เป็นภาระหน้าที่ของอาตมภาพ จึงตรัสว่า สีลวโต โข เป็นต้น. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า อิธ ตฺยสฺส แยกเป็น อิธ เต อสฺส การยุทธ์พึงปรากฏ
ต่อมหาบพิตรในที่นี้. บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห แปลว่า ปะทะกันเป็นกลุ่ม ๆ
บทว่า อสิกฺขิโต ได้แก่ ไม่ศึกษาในธนูศิลป์. บทว่า อกตหตฺโถ ได้แก่
มีมือยังไม่พร้อม โดยการพันมือเป็นต้น. บทว่า อกตโยคฺโค ได้แก่ ยังฝึก
ไม่ชำนาญ ในการกองหญ้ากองดินเป็นต้น. บทว่า อกตุปาสโน ได้แก่
ฝีมือยิงธนูยังมิได้แสดง [ประลอง] ต่อพระราชาและมหาอมาตย์ของพระราชา.
บทว่า ฉมฺภี ได้แก่ มีกายสั่นเทา.
ในบทว่า กามฉนฺโท ปหีโน เป็นต้น กามฉันทะ เป็นอันละได้
ด้วยพระอรหัตมรรค. พยาบาท ละได้ด้วยอนาคามิมรรค. ถีนมิทธะและ
อุทธัจจะ ก็ละได้ด้วยอรหัตมรรคเหมือนกัน กุกกุจจะ ละได้ด้วยมรรคที่ ๓
เหมือนกัน วิจิกิจฉา เป็นอันละได้ด้วยมรรคแรก. บทว่า อเสกฺเขน สีลกฺ-
ขนฺเธน ความว่า สีลขันธ์ของพระอเสกขะ ชื่อว่า สีลขันธ์ ฝ่ายอเสกขะ.
ในบททุกบท ก็นัยนี้. ก็บรรดาบทเหล่านั้น สีลสมาธิปัญญาและวิมุตติ ทั้ง
โลกิยะและโลกุตระ ท่านกล่าวด้วย ๔ บทต้น วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมเป็น
ปัจจเวกขณญาณ ปัจจเวกขณญาณนั้น เป็นโลกิยะเท่านั้น.
บทว่า อิสฺสตฺถํ ได้แก่ ธนูศิลป์. ในบทว่า พลวิริยํ นี้ วาโยธาตุ
ชื่อว่า พละ วิริยะก็คือความเพียรทางกายทางจิต. บทว่า ภเร แปลว่า พึงเลี้ยง.
บทว่า นาสูรํ ชาติปจฺจยา ความว่า ไม่พึงเลี้ยงคนไม่กล้า เพราะถือชาติ
เป็นเหตุ อย่างนี้ว่า ผู้นี้สมบูรณ์ด้วยชาติ.
อธิวาสนขันติ ชื่อว่า ขันติ ในคำว่า ขนฺติโสรจฺจํ นี้. บทว่า
โสรจฺจํ ได้แก่ พระอรหัต. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งสองนี้. บทว่า
อสฺสเม แปลว่า ที่อยู่. บทว่า วิวเน แปลว่า ที่เป็นป่า อธิบายว่า พึง
สร้างสระโบกขรณี ๔ เหลี่ยมเป็นต้นในป่าที่ไม่มีน้ำ. บทว่า ทุคฺเค ได้แก่
ในที่ขลุขละ. บทว่า สงฺกมนานิ ความว่า พึงทำทางเดิน มีทรายสะอาด
เกลี่ยเรียบ ๕๐-๖๐ ศอก.
บัดนี้ เมื่อจะตรัสบอกธรรมเนียมภิกขาจาร ของเหล่าภิกษุผู้อยู่ใน
เสนาสนะป่าเหล่านั้น จึงตรัสว่า อนฺนปานํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า เสนาสนานิ ได้แก่ เตียงและตั่งเป็นต้น. บทว่า วิปฺปสนฺเนน
ความว่า แม้เมื่อจะถวายแก่พระขีณาสพ ไม่ถวายด้วยจิตมีความสงสัย มีมลทิน
คือกิเลส พึงถวายด้วยจิตที่ผ่องใสเท่านั้น. บทว่า ถนยํ ได้แก่ คำราม.
บทว่า สตกฺกุกฺกุ ได้แก่ มีปลายร้อยหนึ่ง อธิบายว่า มียอดเป็นอันมาก.
บทว่า อภิสงฺขจฺจ ได้แก่ ปรุงแต่ง คือรวบรวมทำเป็นอาหาร.
บทว่า อนุโมทมาโน ได้แก่ เป็นผู้มีใจยินดี. บทว่า ปกิเรติ
ได้แก่ เที่ยวในโรงทาน หรือประหนึ่งโปรยให้ทาน. บทว่า ปุญฺธรา ได้แก่
ธารแห่งบุญที่สำเร็จมาแต่ทานเจตนามิใช่น้อย. บทว่า ทาตารํ อภิวสฺสติ
ความว่า สายน้ำที่หลั่งออกจากเมฆ ซึ่งตั้งในในอากาศ ย่อมตกรดแผ่นดิน
เปียกชุ่ม ฉันใด ธารแห่งบุญที่เกิดในภายในทายกแม้นี้ ก็หลั่งรดภายในทายก
นั้นให้ชุ่มเต็มเปี่ยม ฉันนั้นเหมือนกัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ทาตารํ อภิวสฺสติ.
จบอรรถกถาอิสสัตถสูตรที่ ๔

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!