15-129 ความไม่ประมาทสูตรที่ 2



พระไตรปิฎก


๘. ทุติยอัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท สูตรที่ ๒
[๓๘๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคิดคำนึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้หลีกเร้นอยู่
ในที่สงัดอย่างนี้ว่า “ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วนั่นแล เป็นธรรมสำหรับ
ผู้มีมิตรดี A มีสหายดี B มีเพื่อนดี C ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรเลว มีสหายเลว มีเพื่อนเลว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น ธรรมที่อาตมภาพกล่าวไว้ดีแล้วนั่นแล เป็นธรรมสำหรับผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรเลว มีสหายเลว มีเพื่อนเลว
[๓๘๒] มหาบพิตรครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมของหมู่เจ้าศากยะ ชื่อว่านครกะ
ในแคว้นสักกะ ครั้งนั้น ภิกษุอานนท์เข้าไปหาอาตมภาพถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร มหาบพิตรได้กล่าวกับอาตมภาพว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ กึ่งหนึ่ง”
อาตมภาพกล่าวว่า “อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์
ที่จริง ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ D ทั้งหมดทีเดียว
อานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค
มีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก
[๓๘๓] ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มาก อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก (ความสงัด) อาศัยวิราคะ (ความ
คลายกำหนัด) อาศัยนิโรธ (ความดับ) น้อมไปในโวสสัคคะ (ความ
สละ)
๒. เจริญสัมมาสังกัปปะ …
๓. เจริญสัมมาวาจา …
๔. เจริญสัมมากัมมันตะ …
๕. เจริญสัมมาอาชีวะ …
๖. เจริญสัมมาวายามะ …
๗. เจริญสัมมาสติ …
๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป
ในโวสสัคคะ
ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรค
มีองค์ ๘ ให้มากอย่างนี้แล
อนึ่ง ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้ ด้วยว่า เหล่าสัตว์ผู้มีชาติ(ความเกิด)
เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชาติ ผู้มีชรา(ความแก่)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชรา
ผู้มีมรณะ(ความตาย)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ(ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส
(ความคับแค้นใจ)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
เพราะอาศัยเราผู้เป็นมิตรดี
อานนท์ ข้อที่ว่าความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์
ทั้งหมดทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้ E แล’
[๓๘๔] เพราะเหตุนั้นแล มหาบพิตร พระองค์พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักเป็นผู้
มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พระองค์ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงอาศัย
ธรรมอย่างหนึ่งนี้ คือความไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่เถิด
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ นางสนมผู้
ตามเสด็จจักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่
เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่’
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้พระบรม-
วงศานุวงศ์ ผู้ตามเสด็จจักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัย
ความไม่ประมาทอยู่ เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่
ประมาทอยู่’
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้กองทัพ
ก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่
เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่’
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้ชาวนิคม
ชาวชนบทก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่
ประมาทอยู่ เอาเถิด แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่’
มหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาทอยู่ แม้พระองค์
เองก็จักเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง รักษาแล้ว แม้ท้องพระคลังก็จักเป็นอันได้รับการ
คุ้มครอง รักษาแล้ว”
[๓๘๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เมื่อปรารถนาโภคะยิ่ง ๆ ขึ้นไป
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมบรรลุประโยชน์ทั้งสอง
ธีรชนท่านเรียกว่า บัณฑิต
เพราะบรรลุประโยชน์ทั้งสอง คือ
ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์ในภายหน้า
ทุติยอัปปมาทสูตรที่ ๘ จบ
เชิงอรรถ
A มิตรดี หมายถึงมิตรที่มีคุณธรรม คือศีลเป็นต้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓/๓๐๐)
B สหายดี หมายถึงเพื่อนร่วมงานที่ดี (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
C เพื่อนดี หมายถึงเพื่อนที่รักใคร่สนิทสนมรู้ใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒)
D พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ ผล ๔ วิชชา ๓ และอภิญญา ๖ (สํ.ส.อ. ๑/๑๒๙/๑๔๙)
E ดู สํ.ม. (แปล) ๑๙/๒/๓

บาลี



ทุติยอปฺปมาทสุตฺต
[๓๘๑] สาวตฺถิย วิหรติ … เอกมนฺต นิสีทิ ฯ เอกมนฺต
นิสินฺโน โข ราชา ปเสนทิโกสโล ภควนฺต เอตทโวจ อิธ
มยฺห ภนฺเต รโหคตสฺส ปฏิสลฺลีนสฺส เอวฺเจตโส ปริวิตกฺโก
อุทปาทิ สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม โส จ โข กลฺยาณมิตฺตสฺส
กลฺยาณสหายสฺส กลฺยาณสมฺปวงฺกสฺส โน ปาปมิตฺตสฺส โน
ปาปสหายสฺส โน ปาปสมฺปวงฺกสฺสาติ ฯ เอวเมต มหาราช
เอวเมต มหาราช สฺวากฺขาโต มหาราช มยา ธมฺโม โส จ
โข กลฺยาณมิตฺตสฺส กลฺยาณสหายสฺส กลฺยาณสมฺปวงฺกสฺส โน
ปาปมิตฺตสฺส โน ปาปสหายสฺส โน ปาปสมฺปวงฺกสฺสาติ ฯ
[๓๘๒] เอกมิทาห มหาราช สมย สกฺเกสุ วิหรามิ นครก นาม ๑
สกฺยาน นิคโม ฯ อถ โข มหาราช อานนฺโท ภิกฺขุ เยนาห
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ม อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ
เอกมนฺต นิสินฺโน โข มหาราช อานนฺโท ภิกฺขุ ม เอตทโวจ
อุปฑฺฒมิท ภนฺเต พฺรหฺมจริยสฺส ยทิท กลฺยาณมิตฺตตา กลฺยาณสหายตา
กลฺยาณสมฺปวงฺกตาติ ฯ เอว วุตฺตาห มหาราช อานนฺท
ภิกฺขุ เอตทโวจ มา เหว อานนฺท สกลเมว หิท อานนฺท
พฺรหฺมจริย ยทิท กลฺยาณมิตฺตตา กลฺยาณสหายตา กลฺยาณสมฺปวงฺกตา
กลฺยาณมิตฺตสฺเสต ๒ อานนฺท ภิกฺขุโน ปาฏิกงฺข กลฺยาณมิตฺตสฺส
กลฺยาณสหายสฺส กลฺยาณสมฺปวงฺกสฺส อริย อฏฺงฺคิก มคฺค
ภาเวสฺสติ อริย อฏฺงฺคิก มคฺค พหุลีกริสฺสตีติ ฯ
[๓๘๓] กถฺจ อานนฺท ภิกฺขุ กลฺยาณมิตฺโต กลฺยาณสหาโย
กลฺยาณสมฺปวงฺโก อริย อฏฺงฺคิก มคฺค ภาเวติ อริย อฏฺงฺคิก
มคฺค พหุลีกโรติ ฯ อิธานนฺท ภิกฺขุ สมฺมาทิฏฺึ ภาเวติ วิเวกนิสฺสิต
วิราคนิสฺสิต นิโรธนิสฺสิต โวสฺสคฺคปริณามึ สมฺมาสงฺกปฺป ภาเวติ …
สมฺมาวาจ ภาเวติ … สมฺมากมฺมนฺต ภาเวติ … สมฺมาอาชีว ภาเวติ
… สมฺมาวายาม ภาเวติ … สมฺมาสตึ ภาเวติ … สมฺมาสมาธึ
ภาเวติ วิเวกนิสฺสิต วิราคนิสฺสิต นิโรธนิสฺสิต โวสฺสคฺคปริณามึ ฯ เอว
โข อานนฺท ภิกฺขุ กลฺยาณมิตฺโต กลฺยาณสหาโย กลฺยาณสมฺปวงฺโก
อริย อฏฺงฺคิก มคฺค ภาเวติ อริย อฏฺงฺคิก มคฺค
พหุลีกโรติ ฯ ตทิมินาเปต อานนฺท ปริยาเยน เวทิตพฺพ
ยถา สกลเมวิท พฺรหฺมจริย ยทิท กลฺยาณมิตฺตตา กลฺยาณสหายตา
กลฺยาณสมฺปวงฺกตาติ ฯ มมฺหิ อานนฺท กลฺยาณมิตฺต อาคมฺม
ชาติธมฺมา สตฺตา ชาติยา ปริมุจฺจนฺติ ชราธมฺมา สตฺตา ชราย
ปริมุจฺจนฺติ พฺยาธิธมฺมา สตฺตา พฺยาธิโต ปริมุจฺจนฺติ มรณธมฺมา
สตฺตา มรเณน ปริมุจฺจนฺติ โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสธมฺมา
สตฺตา โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาเสหิ ปริมุจฺจนฺตีติ ๓ ฯ
อิมินา โข เอต อานนฺท ปริยาเยน เวทิตพฺพ ยถา
สกลเมวิท พฺรหฺมจริย ยทิท กลฺยาณมิตฺตตา กลฺยาณสหายตา
กลฺยาณสมฺปวงฺกตาติ ฯ
[๓๘๔] ตสฺมาติห เต มหาราช เอว สิกฺขิตพฺพ กลฺยาณมิตฺโต
ภวิสฺสามิ กลฺยาณสหาโย กลฺยาณสมฺปวงฺโกติ ฯ เอว หิ
เต มหาราช สิกฺขิตพฺพ ฯ กลฺยาณมิตฺตสฺส เต มหาราช
กลฺยาณสหายสฺส กลฺยาณสมฺปวงฺกสฺส อย เอโก ธมฺโม อุปนิสฺสาย
วิหาตพฺโพ อปฺปมาโท กุสเลสุ ธมฺเมสุ ฯ อปฺปมตฺตสฺส เต
มหาราช วิหรโต อปฺปมาท อุปนิสฺสาย อิตฺถาคารสฺส อนุยายนฺตสฺส
เอว ภวิสฺสติ ราชา โข อปฺปมตฺโต วิหรติ อปฺปมาท อุปนิสฺสาย
หนฺท มยปิ อปฺปมตฺตา วิหราม อปฺปมาท อุปนิสฺสายาติ ฯ
อปฺปมตฺตสฺส เต มหาราช วิหรโต อปฺปมาท อุปนิสฺสาย ขตฺติยานมฺปิ
อนุยนฺตาน เอว ภวิสฺสติ ราชา โข อปฺปมตฺโต วิหรติ
อปฺปมาท อุปนิสฺสาย หนฺท มยปิ อปฺปมตฺตา วิหราม อปฺปมาท
อุปนิสฺสายาติ ฯ อปฺปมตฺตสฺส เต มหาราช วิหรโต อปฺปมาท
อุปนิสฺสาย พลกายสฺสปิ เอว ภวิสฺสติ ราชา โข อปฺปมตฺโต
วิหรติ อปฺปมาท อุปนิสฺสาย หนฺท มยปิ อปฺปมตฺตา วิหราม
อปฺปมาท อุปนิสฺสายาติ ฯ อปฺปมตฺตสฺส เต มหาราช วิหรโต
อปฺปมาท อุปนิสฺสาย เนคม ชานปทสฺสาปิ เอว ภวิสฺสติ ราชา
โข อปฺปมตฺโต วิหรติ อปฺปมาท อุปนิสฺสาย หนฺท มยปิ
อปฺปมตฺตา วิหราม อปฺปมาท อุปนิสฺสายาติ ฯ อปฺปมตฺตสฺส เต
มหาราช วิหรโต อปฺปมาท อุปนิสฺสาย อตฺตาปิ คุตฺโต รกฺขิโต
ภวิสฺสติ อิตฺถาคารมฺปิ คุตฺต รกฺขิต ภวิสฺสติ โกสโกฏฺาคารมฺปิ
คุตฺต รกฺขิต ภวิสฺสตีติ ฯ
[๓๘๕] อิทมโวจ ฯเปฯ
โภเค ปตฺถยมาเนน อุฬาเร อปราปเร
อปฺปมาท ปสสนฺติ ปุฺกิริยาสุ ปณฺฑิตา
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณฺหาติ ปณฺฑิโต
ทิฏฺเ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจตีติ ฯ

******************

สกฺกร นามาติ ปาเน ภวิตพฺพ ฯ ๒ สี. กลฺยาณมิตฺตสฺสิท ฯ
๓ โป. ม. ยุ. อิติสทฺโท น ทิสฺสติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาทุติยอัปปมาทสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในที่อัปปมาทสูตรที่ ๘ ต่อไป :-
บทว่า โส จ โข กลฺยาณมิตฺตสฺส ความว่า ก็ธรรมนี้นั้น ย่อม
ชื่อว่า สวากขาตธรรมของผู้มีมิตรดีเท่านั้น หาใช่สวากขาตธรรมของผู้มีมิตร
ชั่วไม่ จริงอยู่. ธรรมเป็นสวากขาตธรรม แม้ของทุกคนก็จริง ถึงอย่างนั้น
ย่อมทำประโยชน์ให้เต็มแก่ผู้มีมิตรดี ผู้ตั้งใจฟังด้วยดี ผู้เชื่อถือ เหมือนยา
เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ หาเป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่ใช้ไม่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ พึงทราบว่าเทศนาธรรมในคำว่า ธมฺโม นี้.
บทว่า อุปฑฺฒมิทํ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระเจ้าไปในที่ลับคิด
ว่า เมื่อมิตรดีผู้โอวาทพร่ำสอนมีอยู่ สมณธรรมนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ตั้ง
อยู่ในความพยายามเฉพาะตัว ดังนั้น พรหมจรรย์กึ่งหนึ่งมาจากมิตรดี กึ่งหนึ่ง
มาจากความพยายามเฉพาะตัว. ครั้งนั้น พระเถระดำริว่า เราอยู่ในปเทสญาณ
(ญาณในธรรมบางส่วน) รู้บางส่วน ไม่อาจคิดได้หมดทุกส่วน จำต้องทูลถาม
พระศาสดา จึงจักหมดสงสัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว
กล่าวอย่างนั้น.
บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส ได้แก่ อริยมรรค. บทว่า ยทิทํ กลฺยาณ-
มิตฺตตา ความว่า ความเป็นผู้มีมิตรดีที่ได้ ย่อมมาสู่พรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง
จากพรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง. ดังนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า อริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็น
ต้นครึ่งหนึ่ง ย่อมมาจากความเป็นผู้มีมิตรดี อีกครั้งหนึ่ง ย่อมมาจากความ
พยายามเฉพาะตัว. ก็จริงอยู่ นี้เป็นความปรารถนาของพระเถระ แท้จริง
แม้ในที่นี้ ธรรมที่แบ่งแยกไม่ได้นี้ ก็ไม่อาจแบ่งแยกได้ว่า บรรดาอริยมรรค
มีสัมมาสัมทิฏฐิเป็นต้น เท่านี้เกิดจากความมีมิตรดี เท่านี้เกิดจากความพยายาม
เฉพาะตน เปรียบเหมือนเมื่อคนมากคนยกเสาหิน ก็แบ่งแยกไม่ได้ว่า ที่เท่านี้
คนโน้นยก ที่เท่านี้คนโน้นยก และเหมือนอย่างว่า เมื่อบุตรอาศัยมารดาบิดา
เกิดขึ้น ก็แบ่งแยกไม่ได้ว่าเกิดจากมารดาเท่านี้ เกิดจากบิดาเท่านี้ ฉะนั้น. ถึง
กระนั้น พรหมจรรย์ชื่อว่ากึ่งหนึ่ง ตามอัธยาศัยของพระเถระว่า เพราะเป็นผู้
มีมิตรดี ก็ได้คุณกึ่งหนึ่ง พรหมจรรย์ชื่อว่าทั้งสิ้น ตามอัธยาศัยของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าว่า ก็ได้คุณทั้งสิ้น. ก็ดีว่า กลฺยาณมิตฺตตา นี้ท่านถือว่า ชื่อว่า
ได้คุณที่เป็นส่วนเบื้องต้น ว่าโดยใจความ ก็ได้แก่ขันธ์ ๔ คือ ศีลขันธ์ สมาธิ
ขันธ์ วิปัสสนาขันธ์ อันอาศัยกัลยาณมิตรได้มา อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
สังขารขันธ์ก็มี.
บทว่า มา เหวํ อานนฺท ความว่า อยู่าพูดอย่างนี้ เธอเป็นพหูสูต
บรรลุปฏิสัมภิทาฝ่ายเสขะ รับพร ๘ ประการแล้วอุปัฏฐากเรา เธอผู้ประกอบ
ด้วยอัจฉริยัพภูตธรรม ๔ ประการ ไม่ควรกล่าวอย่างนี้ แก่บุคคลเช่นนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดำนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ความมีมิตรดี ความมีสหายดี
ความมีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ดังนี้ ทรงหมายว่า มรรค ๔ ผล ๔
วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ทั้งหมด มีมิตรดีเป็นมูลทั้งนั้น. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
เหตุ โดยการเปล่งพระวาจานั่นแล จึงตรัสดำว่า กลฺยาณมิตฺตสฺเสตํ เป็น
ต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิกงฺขํ ความว่า พึงหวัง พึงปรารถนา
ว่ามีอยู่แท้. บทว่า อิธ เเปลว่า ในศาสนานี้. ก่อนอื่น อาทิบททั้ง ๘ ใน
คำว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ภาเวติ เป็นต้น มีพรรณนาสังเขปดังนี้. สัมมาทิฏฐิมี
ลักษณะเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ มีลักษณะยกสหชาตธรรมขึ้นสู่อารมณ์ชอบ
สัมมาวาจา มีลักษณะกำหนดอารมณ์ชอบ สัมมากัมมันตะ มีลักษณะตั้งตนไว้
ชอบ. สัมมาอาชีวะ มีลักษณะทำอารมณ์ให้ผ่องแผ้วชอบ. สัมมาวายามะ มี
ลักษณะประคองชอบ สัมมาสติ มีลักษณะปรากฏชอบ สัมมาสมาธิ มีลักษณะ
ตั้งมั่นชอบ บรรดามรรคมีองค์ ๘ นั้น มรรคองค์หนึ่ง ๆ มีกิจ ๓ คือ ก่อนอื่น
สัมมาทิฏฐิ ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ พร้อมกับเหล่ากิเลสที่เป็นข้าสึกของตนอย่างอื่นๆ ๑
ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ๑ และเห็นสัมปยุตธรรมเพราะไม่ลุ่มหลง โดยกำจัด
โมหะอันปกปิดสัมปยุตธรรมนั้น ๑ แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ก็ละมิจฉาสัง-
กัปปะเป็นต้น และทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน แต่โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะ ย่อมยกอารมณ์ขึ้นสู่สหชาต-
ธรรม.
สัมมาวาจา ย่อมกำหนดถือเอาชอบ สัมมากัมมันตะ ย่อมตั้งตนไว้
ชอบ สัมมาอาชีวะ ย่อมผ่องแผ้วชอบ สัมมาวายามะ ย่อมประคองความ
เพียรๆ ชอบ สัมมาสติ ย่อมตั้งไว้ชอบ สัมมาสมาธิ ย่อมตั้งมั่นชอบ.
อนึ่งเล่า ธรรดาสัมมาทิฏฐินี้ ในส่วนเบื้องต้น ย่อมมีขณะต่าง ๆ มี
อารมณ์ต่าง ๆ แต่ในขณะมรรคจิตมีขณะอันเดียว มีอารมณ์อย่างเดียว. แต่
ว่าโดยกิจ ย่อมได้ชื่อ ๔ ชื่อ มี ทุกฺเข าณํ รู้ในทุกข์ดังนี้เป็นต้น แม้
สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้น ก็มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน แต่
ในขณะแห่งมรรคจิต ย่อมมีขณะอันเดียว มีอารมณ์อย่างเดียว. ในมรรคมี
องค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะว่าโดยกิจ ย่อมได้ชื่อ ๓ ชื่อ มีเนกขัมมสังกัปปะ
เป็นต้น. สัมมาวาจาเป็นต้น ย่อมเป็นวิรัติ ๓ บ้าง เป็นเจตนาเป็นต้นบ้าง
แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ก็เป็นวิรัติเท่านั้น.
สัมมาวายามะและสัมมาสติทั้งสองดังว่ามานี้ ว่าโดยกิจ ก็ได้ชื่อ ๔ ชื่อโดย
สัมมัปปธาน ๔ สติปัฏฐาน ๔. ส่วนสัมมาสมาธิ ทั้งในส่วนเบื้องต้น ทั้งในขณะ
แห่งมรรคจิต ก็สมาธิอย่างเดียว. ครั้นทราบการพรรณนาอาทิบททั้ง ๘ ที่ท่าน
กล่าวโดยนัยว่า สมฺมทิฏฺฐิ ดังนี้เป็นต้นอย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ พึงทราบ
ความ ในคำว่า ภาเวติ วิเวกนิสฺสิตํ เป็นต้น ดังนี้. บทว่า ภาเวติ
แปลว่าเจริญ. อธิบายว่า ทำให้เกิด บังเกิดในจิตสันดานของตน. บทว่า
วิเวกนิสฺสิตํ แปลว่า อาศัยวิเวก. บทว่า วิเวโก ได้แก่ ความเป็นผู้สงัด
พึงทราบความดังนี้ว่า ความเป็นผู้สงัดนี้ ได้แก่ วิเวก ๕ อย่างคือ ตทังค-
วิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจุเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก.
วิเวกมี ๕ อย่างดังนี้. บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ ก็ได้แก่ เจริญสัมมาทิฏฐิ ที่อาศัย
ตทังควิเวก อาศัยสมุจเฉทวิเวก และอาศัยนิสสรณจะวก อนึ่งเล่า พระโยคี
[โยคาวจร] ผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอริยมรรคภาวนานี้ ในขณะเจริญวิปัสสนา
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ที่อาศัยตทังควิเวก โดยกิจ ที่อาศัยนิสสรณวิเวกโดย
อัธยาศัย แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยสมุจเฉทวิเวกโดย
กิจ ที่อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์ ในบทว่าที่อาศัยวิราคะเป็นต้น ก็นัยนี้.
ก็วิราคะเป็นต้น ก็มีวิเวกความสงัดเป็นอรรถนั่นแหละ ก็ในที่นี้อย่าง
เดียว โวสสัคคะ มี ๒ อย่างคือ ปริจาคโวสสัคคะ และปักขันทนโวสสัคคะ.
บรรดาโวสสัคคะ ๒ อย่างนั้น การละกิเลสด้วยอำนาจตทังคปหานในขณะเจริญ
วิปัสสนา และการละกิเลสด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน ในขณะแห่งมรรคจิตชื่อ
ว่าปริจาคโวสสัคคะ. ในขณะเจริญวิปัสสนา ก็แล่นไปสู่พระนิพพานด้วยความ
เป็นผู้น้อมไปในพระนิพพานนั้น แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ก็แล่นไปสู่พระ-
นิพพาน ด้วยการทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่าปักขันทนโวสสัคคะ.
โวสสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ย่อมควรในอรรถกถานัย ที่ผสมทั้งโลกิยะและโลกุตระ
นี้. จริงอย่างนั้น สัมมาทิฏฐินี้ ย่อมสละกิเลสและแล่นไปสู่พระนิพพาน โดย
ประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ ท่านอธิบายไว้
ดังนี้ว่า กำลังน้อมไปและน้อมไปแล้ว กำลังบ่มและบ่มสุกแล้ว เพื่อโวสสัคคะ.
จริงอยู่ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอริยมรรคภาวนานี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ
โดยอาการที่สัมมาทิฏฐินั้น กำลังบ่มเพื่อโวสสัคคะคือการสละกิเลส และเพื่อ
โวสสัคคะ คือการแล่นไปสู่พระนิพพาน และโดยอาการที่สัมมาทิฏฐินั้นบ่มสุก
แล้ว. ในองค์มรรคที่เหลือก็นัยนี้.
บทว่า อาคมฺม ได้แก่ ปรารภหมายถึง อาศัยแล้ว. บทว่า ชาติ-
ธมฺมา ได้แก่มีการเกิดเป็นสภาวะ คือมีการเกิดเป็นปกติ [ธรรมดา]. บทว่า
ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่แม้อริยมรรคทั้งสิ้นอาศัยกัลยาณมิตรจึงได้ ฉะนั้น
ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเชื้อเชิญ. บทว่า อปฺปมาทํ
ปสํสนฺติ ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท เพราะฉะนั้น
จึงควรทำความไม่ประมาท. บทว่า อตฺถาภิสมยา แปลว่า เพราะได้ประโยชน์.
จบอรรถกถาทุติยอัปปมาทสูตรที่ ๘

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!