15-126 สงคราม สูตรที่ 2



พระไตรปิฎก


๕. ทุติยสังคามสูตร
ว่าด้วยสงคราม สูตรที่ ๒
[๓๗๒] ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัด
จตุรงคินีเสนา ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงสดับข่าวว่า “พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินี-
เสนา ยกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี” จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับ
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น พระเจ้า
อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทำสงคราม
ต่อกัน
[๓๗๓] สงครามครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชนะพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธ และได้จับเป็นเชลยศึก ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มี
พระดำริดังนี้ว่า “ถึงแม้พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธนี้ จะ
ประทุษร้ายเราผู้มิได้ประทุษร้าย แต่เธอก็ยังเป็นหลานของเรา ทางที่ดีเราควรยึด
พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธแล้วปล่อยพระองค์ให้รอดชีวิตไป”
[๓๗๔] ครั้นเวลาเช้า ภิกษุจำนวนมากครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เที่ยวไป
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมา
รุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสดับข่าวว่า
‘พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกมา
รุกรานเราทางแคว้นกาสี’ จึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้กับพระเจ้าอชาต-
ศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู
เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ กับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำสงครามต่อกัน
สงครามครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชนะพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร
ผู้ครองแคว้นมคธ และได้จับเป็นเชลยศึก ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริ
ดังนี้ว่า ‘ถึงแม้พระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธนี้ จะประทุษร้ายเรา
ผู้มิได้ประทุษร้าย แต่เธอก็ยังเป็นหลานของเรา ทางที่ดีเราควรยึดพลช้าง พลม้า
พลรถและพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
แล้วปล่อยพระองค์ให้รอดชีวิตไป’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยึดพลช้าง พลม้า
พลรถ และพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ผู้ครองแคว้นมคธ
แล้วทรงปล่อยพระองค์ให้รอดชีวิตไป”
[๓๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า
คนจะแย่งชิงได้ เท่าที่การแย่งชิงนั้นจะเป็นไปได้
แต่เมื่อใดคนเหล่าอื่นมาแย่งชิงบ้าง
เมื่อนั้นผู้แย่งชิงนั้นก็กลับถูกเขาแย่งชิงไป
เพราะว่าบาปยังไม่ให้ผลเพียงใด
คนพาลย่อมสำคัญบาปว่าเป็นของดีเพียงนั้น
แต่เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้นคนพาลย่อมประสบทุกข์
ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ชนะย่อมได้รับการชนะตอบ
ผู้ด่าย่อมได้รับการด่าตอบ และผู้โกรธย่อมได้รับการโกรธตอบ
เพราะเมื่อกรรมให้ผล ผู้แย่งชิงนั้นย่อมถูกเขาแย่งชิงไป
ทุติยสังคามสูตรที่ ๕ จบ

บาลี



ทุติยสงฺคามวตฺถุสุตฺต
[๓๗๒] อถ โข ราชา มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต
จตุรงฺคินึ เสน สนฺนยฺหิตฺวา ราชาน ปเสนทิโกสล อพฺภุยฺยาสิ เยน
กาสิ ฯ อสฺโสสิ โข ราชา ปเสนทิโกสโล ราชา กิร มาคโธ
อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต จตุรงฺคินึ เสน สนฺนยฺหิตฺวา มม อพฺภุยฺยาโต
เยน กาสีติ ฯ อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล จตุรงฺคินึ เสน
สนฺนยฺหิตฺวา ราชาน มาคธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺต ปจฺจุยฺยาสิ
เยน กาสิ ฯ อถ โข ราชา จ มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต
ราชา จ ปเสนทิโกสโล สงฺคาเมสุ ฯ ตสฺมึ โข ปน สงฺคาเม
ราชา ปเสนทิโกสโล ราชาน มาคธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺต ปราเชสิ
ชีวคฺคาหฺจ น อคฺคเหสิ ฯ
[๓๗๓] อถ โข รฺโ ปเสนทิโกสลสฺส เอตทโหสิ กิฺจาปิ
โข มฺยาย ราชา มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต อทุพฺภนฺตสฺส
ทุพฺภติ อถ จ ปน เม ภาคิเนยฺโย โหติ ยนฺนูนาห รฺโ
มาคธสฺส อชาตสตฺตุโน เวเทหิปุตฺตสฺส สพฺพ หตฺถิกาย ปริยาทิยิตฺวา
สพฺพ อสฺสกาย ปริยาทิยิตฺวา สพฺพ รถกาย ปริยาทิยิตฺวา
สพฺพ ปตฺติกาย ปริยาทิยิตฺวา ชีวนฺตเมว น โอสฺสชฺเชยฺยนฺติ ฯ
อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล รฺโ มาคธสฺส อชาตสตฺตุโน
เวเทหิปุตฺตสฺส สพฺพ หตฺถิกาย ปริยาทิยิตฺวา สพฺพ อสฺสกาย
ปริยาทิยิตฺวา สพฺพ รถกาย ปริยาทิยิตฺวา สพฺพ ปตฺติกาย
ปริยาทิยิตฺวา ชีวนฺตเมว น โอสฺสชฺชิ ฯ
[๓๗๔] อถ โข สมฺพหุลา ภิกฺขู ปุพฺพณฺหสมย นิวาเสตฺวา
ปตฺตจีวรมาทาย สาวตฺถึ ปิณฺฑาย ปวิสึสุ สาวตฺถิย ปิณฺฑาย
จริตฺวา ปจฺฉาภตฺต ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺตา เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทึสุ ฯ เอกมนฺต
นิสินฺนา โข เต ภิกฺขู ภควนฺต เอตทโวจุ อิธ ภนฺเต ราชา
มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต จตุรงฺคินึ เสน สนฺนยฺหิตฺวา ราชาน
ปเสนทิโกสล อพฺภุยฺยาสิ เยน กาสิ อสฺโสสิ โข ภนฺเต ราชา
ปเสนทิโกสโล ราชา กิร มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต
จตุรงฺคินึ เสน สนฺนยฺหิตฺวา มม อพฺภุยฺยาโต เยน กาสีติ อถ
โข ภนฺเต ราชา ปเสนทิโกสโล จตุรงฺคินึ เสน สนฺนยฺหิตฺวา
ราชาน มาคธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺต ปจฺจุยฺยาสิ เยน กาสิ
อถ โข ภนฺเต ราชา จ มาคโธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต ราชา
จ ปเสนทิโกสโล สงฺคาเมสุ ตสฺมึ โข ปน ภนฺเต สงฺคาเม
ราชา ปเสนทิโกสโล ราชาน มาคธ อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺต
ปราเชสิ ชีวคฺคาหฺจ น อคฺคเหสิ อถ โข ภนฺเต รฺโ
ปเสนทิโกสลสฺส เอตทโหสิ กิฺจาปิ โข มฺยาย ราชา มาคโธ
อชาตสตฺตุ เวเทหิปุตฺโต อทุพฺภนฺตสฺส ทุพฺภติ อถ จ ปน เม
ภาคิเนยฺโย โหติ ยนฺนูนาห รฺโ มาคธสฺส อชาตสตฺตุโน
เวเทหิปุตฺตสฺส สพฺพ หตฺถิกาย ปริยาทิยิตฺวา สพฺพ อสฺสกาย สพฺพ
รถกาย สพฺพ ปตฺติกาย ปริยาทิยิตฺวา ชีวนฺตเมว น โอสฺสชฺเชยฺยนฺติ ฯ
อถ โข ภนฺเต ราชา ปเสนทิโกสโล รฺโ มาคธสฺส
อชาตสตฺตุโน เวเทหิปุตฺตสฺส สพฺพ หตฺถิกาย ปริยาทิยิตฺวา สพฺพ
อสฺสกาย ปริยาทิยิตฺวา สพฺพ รถกาย ปริยาทิยิตฺวา สพฺพ ปตฺติกาย
ปริยาทิยิตฺวา ชีวนฺตเมว น โอสฺสชฺชีติ ฯ
[๓๗๕] อถ โข ภควา เอตมตฺถ วิทิตฺวา ตาย เวลาย อิมา
คาถาโย อภาสิ
วิลุมฺปเตว ปุริโส ยาวสฺส อุปกปฺปติ
ยทา จฺเ วิลุมฺปนฺติ โส วิลุตฺโต วิลุมฺปติ
านฺหิ มฺตี พาโล ยาว ปาป น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจติ ปาป อถ [พาโล] ทุกฺข นิคจฺฉติ
ลภติ หนฺตา หนฺตาร เชตาร ลภเต ชย
อกฺโกสโก จ อกฺโกส โรเสตารฺจ โรสโก
อถ กมฺมวิวฏฺเฏน โส วิลุตฺโต วิลุมฺปตีติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาทุติยสังคามวัตถุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสังคามวัตถุสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
บทว่า อพฺภุยฺยาสิ ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสั่งว่าพวกเจ้าน่า
ตำหนิในการพ่ายแพ้ จงไปวัดฟังการสนทนาของเหล่าพระภิกษุ ทรงสดับเหตุ
แห่งชัยชนะที่ภิกษุพุทธรักขิต ผู้บวชต่อแก่พูดแก่ภิกษุธรรมรักขิต ผู้บวชต่อ
แก่ในเวลากลางคืนว่า ถ้าพระราชาทรงทำอุบายอย่างนี้เสด็จไป ก็จะพึงชนะอีก
แล้วจัดทัพไปรุกราน.
บทว่า ยาวสฺส อุปกปฺปติ ความว่า ตราบเท่าความช่วงชิง จะพอ
สำเร็จได้. บทว่า ยทา จญฺเ ความว่า ก็เมื่อใด คนอื่น ๆ จะปล้นบุคคล
ที่ปล้นเขามาแล้วนั้น. บทว่า วิลุมฺปติ ได้แก่ ย่อมถูกเขาปล้น.
บทว่า ฐานญฺหิ มญฺติ ความว่า ก็ย่อมสำคัญว่ามีเหตุ. บทว่า
ยทา แปลว่า ในกาลใด. บทว่า เชตารํ ลภเต ชยํ ความว่า บุคคล
ผู้ชนะ ย่อมได้ผู้ชำนะภายหลัง. บทว่า โรเสตารํ ได้แก่ ซึ่งผู้โกรธ. บทว่า
โรสโก ได้แก่ ผู้โกรธ. บทว่า กมฺมวิวฏฺเฏน ได้แก่ ด้วยความแปรปรวน
แห่งกรรม คือด้วยการให้วิบากแห่งกรรมคือการปล้นนั่น. บทว่า โส วิลุตฺโต
วิลุมฺปติ ได้แก่ ผู้ปล้นนั้น ก็จะถูกเขาปล้น.
จบอรรถกถาทุติยสังคามวัตถุสูตรที่ ๕

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!